กระแสการใช้รถพลังงานไฟฟ้า หรือ Battery Electric Vehicles (BEV/EV) ของเมืองไทยในปี 2021 กำลังเป็นที่สนใจ มีบริษัทรถยนต์หลายค่ายได้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือก เพราะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมัน ซึ่งนอกจากไม่ก่อให้เกิดมลพิษแล้วก็ยังสะดวกด้วย เพราะสามารถชาร์จได้จากที่บ้านง่าย ๆ
วันนี้เราเลยจะขอพาไปทำความรู้จักกับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สำหรับติดตั้งในบ้านกันให้มากขึ้น พร้อมแนะนำไฮไลต์เด็ดของรุ่นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เผื่อไว้เป็นทางเลือกให้กับนักขับขี่ยุคใหม่หัวใจรักษ์โลก ได้พิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อมาติดตั้ง
รถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า EV Car กันก่อนว่า รถชนิดนี้จะใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อนแทนเครื่องยนต์ ไม่ใช้น้ำมัน โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายไฟไปยังมอเตอร์ มีจุดเด่นคือ
- ลดการปล่อย CO2
- เครื่องเงียบ อัตราเร่งดี
- ประหยัดค่าบำรุงรักษา
- ค่าไฟถูกกว่าค่าน้ำมัน ชาร์จไฟได้จากที่บ้าน
ใครกำลังสนใจอยากหาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้สักคัน อาจจะต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่ารถยนต์ทั่วไปที่เราคุ้นชินกันมากขึ้นสักนิด โดยเราจะพูดถึงรุ่นที่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งภายนอก (Plug-in) เข้าไปกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้โดยตรง จะมี 2 ประเภท คือ
ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
1. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle : PHEV) คือ รถที่ต่อยอดมาจากระบบไฮบริด ใช้พลังงานจากเครื่องยนต์และพลังงานไฟฟ้า แต่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ได้ ระยะทางที่วิ่งได้ด้วยพลังไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่อยู่ที่ความจุ 6-14 kW (กิโลวัตต์) สามารถวิ่งได้ประมาณ 25-50 กม./ชาร์จ
2. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV/EV) คือ รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ไม่มีเครื่องยนต์ ใช้พลังงานจากไฟที่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่เท่านั้น ระยะทางที่วิ่งได้จะขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรี่ ส่วนใหญู่อยู่ที่ความจุ 40-90 kW สามารถวิ่งได้ประมาณ 300-600 กม./ชาร์จวิธีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
รถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้หลากหลายวิธี มีทั้งการต่อจากเต้ารับที่บ้านได้โดยตรง (Normal Charge) แต่ต้องมีการวางระบบไฟฟ้าใหม่และติดตั้งเต้ารับสำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งการชาร์จ 1 ครั้ง จะใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมง
วิธีต่อมาคือ การชาร์จแบตเตอรี่แบบด่วน (Quick Charge) ที่สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Station) ที่ตั้งอยู่ตามสถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ ลานจอดรถ ฯลฯ ซึ่งสามารถชาร์จได้ภายในเวลา 40-60 นาที แต่ก็มีข้อเสียคือ ทำให้ตัวแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น และไม่สะดวกสบายหากต้องใช้รถเป็นประจำทุกวันติดตั้ง EV Charger ต้องดูอะไรบ้าง
-
ตรวจสอบประเภทหัวชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้า โดยที่นิยมใช้ทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ
Type 1 : หัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แบบ 5 Pin ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Phase) 32 แอมป์ 250 โวลต์ (32A 250V) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เช่น Nissan Leaf และ Tesla เป็นต้น
Type 2 : แพร่หลายในไทย เป็นหัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แบบ 7 Pin ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Phase) 70 แอมป์ 250 โวลต์ (70A 250V) และแบบ 3 เฟส (Phase) 63 แอมป์ 480 โวลต์ (63A 480V) นิยมใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ายุโรป เกาหลีใต้ และจีน เช่น Mercedes-Benz, BMW, Volvo, Porsche และ Tesla เป็นต้น-
ตรวจสอบขนาด On Board Charger ของรถ หรือขนาดกำลังของอุปกรณ์ชาร์จไฟที่ติดตั้งอยู่ภายในรถให้ตรงกันกับ EV Charger ซึ่งจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จ โดยทั่วไปมีตั้งแต่ 3.6-22 กิโลวัตต์
-
ตรวจสอบระบบไฟฟ้าของบ้าน
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีพิกัดกระแสไฟฟ้าที่สูง จึงจำเป็นต้องคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าเดิมรวมกับภาระการชาร์จรถที่เข้ามาเพิ่ม หากเกินพิกัดก็ต้องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์และเดินระบบใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ EV Charger ของการไฟฟ้าฯ ดังนี้
- ขนาดมิเตอร์บ้านควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30 แอมป์ หรือ 30 (100) A
- หากต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์ ต้องเพิ่มขนาดสายเมนและ Main Circuit Breaker (MCB) ให้สอดคล้องกัน เพื่อรองรับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้เพิ่มขึ้น
- ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ต้องมีช่องว่างเหลือสำหรับติดตั้ง Main Circuit Breaker ที่ใช้ควบคุมวงจรชาร์จรถไฟฟ้าอีก 1 ช่อง ถ้ามีไม่พอต้องเพิ่มตู้ย่อย
-
เตรียมพื้นที่ติดตั้งเครื่อง EV Charger ควรอยู่ในรัศมี 5-7 เมตร จากจุดจอดรถ ใกล้กับตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน (Main Distribution Board หรือ ตู้ MDB) และมีหลังคาบังแดดและฝน
-
เลือกเครื่องชาร์จที่ได้มาตรฐาน มอก. 61851 หรือ IEC 61851
เลือก EV Charger ยี่ห้อไหนดี
1. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า PTT EV Wall Charger
อีกหนึ่งจุดเด่นของเครื่องอัดประจุไฟฟ้ารถยนต์ที่สำคัญคือ ความปลอดภัย และความทนทานต่อการใช้งาน โดย PTT EV Charger ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น พร้อมได้รับการยืนยัน ด้านคุณภาพ ความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยผ่านการทดสอบมาตรฐาน IEC (มาตรฐานยุโรป) นอกจากนี้ PTT EV Charger ถูกออกแบบ ผลิต โดยการใช้วัสดุจากประเทศไทยให้มากที่สุด ทำให้เกิดการสร้างงานภายในประเทศ และในรุ่น Smart เหมาะสำหรับการติดตั้ง EV Charging Station ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้านอกสถานีบริการ เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน เพราะสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งรองรับทั้ง iOS และ Android ราคาอยู่ที่ประมาณ 36,000-48,000 บาท (ไม่รวมค่าติดตั้ง)
-
ระบบไฟฟ้า : 1 เฟส 220 โวลต์ และระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 400 โวลต์
-
กำลังไฟฟ้าสูงสุด : 7 กิโลวัตต์ (1 เฟส) และ 22 กิโลวัตต์ (3 เฟส)
-
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : Line @onionev
2. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox Commander 2
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจากบริษัทสตาร์ทอัปของประเทศสเปน เป็นระบบการใช้งานแบบ Touch Screen ขนาด 7 นิ้ว หัวชาร์จ Type 2 สะดวกสบายด้วยการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth และ Wi-Fi ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน มาพร้อมระบบตัวตรวจจับกระแส DC รั่วไหล ขนาด 6mA ป้องกันไฟรั่วเพิ่มความปลอดภัยสำหรับการติดตั้งใช้งานตามที่พักอาศัย ราคาประมาณ 69,000 บาท
-
ระบบไฟฟ้า : 1 เฟส 230 โวลต์ / 3 เฟส 400 โวลต์
-
กำลังไฟฟ้าสูงสุด : 7.4 กิโลวัตต์
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.wallbox.in.th
3. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Delta AC Mini Plus
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใช้งานง่าย มีระบบการ์ด RFID เชื่อมต่อ 3G และ Wi-Fi แบบไร้สาย ล็อกป้องกันการชาร์จได้จากมือถือ รองรับหัวชาร์จ Type 1 และ 2 มีระบบกันไฟรั่ว ดีไซน์สวยได้มาตรฐาน IP55 ป้องกันฝุ่นและน้ำได้ มีระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็มหรือมีเหตุขัดข้อง ราคาประมาณ 69,000 บาท
-
ระบบไฟฟ้า : 1 เฟส 230 โวลต์
-
กำลังไฟ : 7.4 กิโลวัตต์
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.ctms.co.th และ deltathailand.com
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้านครหลวง, homepro.co.th, primeinterholding.com, nectec.or.th, nissan.co.th, wallbox.in.th, ctms.co.th, deltathailand.com