เผยเรื่องราว คนทำบุญแบบผิด ๆ ปล่อยปลาดุกยักษ์ ที่สระน้ำวัดถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ทำปลาปลาธรรมชาติถูกกินเกือบหมด หลายฝ่ายช่วยกันแก้ไข ล่าสุดปลาท้องถิ่นเริ่มเพิ่มจำนวนแล้ว
เป็นเรื่องราวที่ช่วยให้ตระหนักถึงผลกระทบจากการปล่อยปลาแบบผิด ๆ กรณีวันที่ 10 กันยายน 2564 ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ นักนิเวศวิทยา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Saranarat Oy Kanjanavanit เล่าถึงปัญหาเมื่อช่วงปี 2563 มีคนนำปลาดุกยักษ์ ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่น มาปล่อยที่สระน้ำวัดถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ส่งผลให้ปลาพลวง ซึ่งเป็นปลาธรรมชาติ ถูกปลาดุกไล่กินจนลดจำนวนลงไปอย่างมาก จนหลายเป็นสัดส่วนคือ ปลาดุกยักษ์ 60 - 80 ตัว ส่วน ปลาพลวง เหลือ 18 - 20 ตัว ซึ่งต้องหนีไปหลบอยู่ต้นน้ำเหนือสะพานเข้าถ้ำ
ต่อมา หลายฝ่ายได้ช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหา ซึ่งต้องทำแบบเหมาะสมเพราะเหตุจากคนทำบุญปล่อยปลา (ซึ่งจริง ๆ คือทำบาป) เพราะปลาอยู่ในเขตอภัยทานวัด จากนั้นมีการนำเรื่องเข้าที่ประชุมกรรมการวัด และรอถึงช่วงหน้าแล้งจึงจับปลาดุกออกมาได้
ล่าสุดพบว่า ปลาดุกยักษ์ ถูกจับออกไปเยอะแล้ว ตอนนี้เหลือไม่กี่ตัว ในขณะที่ปลาพลวงเพิ่มขึ้นมาเท่าตัวจากเมื่อปีก่อน และกระจายในน้ำหน้าวัดเกือบตลอดแนว โชคดีว่า ปลาดุกยกษ์ ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่น ไม่ออกลูกหลานในธรรมชาติ ดังนั้นถ้าไม่มีการปล่อยเพิ่ม และทยอยจับตัวเก่าออกไปเรื่อย ๆ ก็จะควบคุมสถานการณ์ได้
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการให้ข้อมูลคนมาเที่ยววัดไม่ให้ปล่อยปลาต่างถิ่น ให้เข้าใจว่านิเวศน้ำของถ้ำเชียงดาวมีความพิเศษอย่างไร และการทำบุญปล่อยปลาจะสร้างปัญหาอะไรบ้าง
ภาพจาก ยูทูบ BanDoi Channel
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก
Saranarat Oy Kanjanavanit
เป็นเรื่องราวที่ช่วยให้ตระหนักถึงผลกระทบจากการปล่อยปลาแบบผิด ๆ กรณีวันที่ 10 กันยายน 2564 ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ นักนิเวศวิทยา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Saranarat Oy Kanjanavanit เล่าถึงปัญหาเมื่อช่วงปี 2563 มีคนนำปลาดุกยักษ์ ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่น มาปล่อยที่สระน้ำวัดถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ส่งผลให้ปลาพลวง ซึ่งเป็นปลาธรรมชาติ ถูกปลาดุกไล่กินจนลดจำนวนลงไปอย่างมาก จนหลายเป็นสัดส่วนคือ ปลาดุกยักษ์ 60 - 80 ตัว ส่วน ปลาพลวง เหลือ 18 - 20 ตัว ซึ่งต้องหนีไปหลบอยู่ต้นน้ำเหนือสะพานเข้าถ้ำ
ต่อมา หลายฝ่ายได้ช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหา ซึ่งต้องทำแบบเหมาะสมเพราะเหตุจากคนทำบุญปล่อยปลา (ซึ่งจริง ๆ คือทำบาป) เพราะปลาอยู่ในเขตอภัยทานวัด จากนั้นมีการนำเรื่องเข้าที่ประชุมกรรมการวัด และรอถึงช่วงหน้าแล้งจึงจับปลาดุกออกมาได้
ล่าสุดพบว่า ปลาดุกยักษ์ ถูกจับออกไปเยอะแล้ว ตอนนี้เหลือไม่กี่ตัว ในขณะที่ปลาพลวงเพิ่มขึ้นมาเท่าตัวจากเมื่อปีก่อน และกระจายในน้ำหน้าวัดเกือบตลอดแนว โชคดีว่า ปลาดุกยกษ์ ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่น ไม่ออกลูกหลานในธรรมชาติ ดังนั้นถ้าไม่มีการปล่อยเพิ่ม และทยอยจับตัวเก่าออกไปเรื่อย ๆ ก็จะควบคุมสถานการณ์ได้
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการให้ข้อมูลคนมาเที่ยววัดไม่ให้ปล่อยปลาต่างถิ่น ให้เข้าใจว่านิเวศน้ำของถ้ำเชียงดาวมีความพิเศษอย่างไร และการทำบุญปล่อยปลาจะสร้างปัญหาอะไรบ้าง
ภาพจาก ยูทูบ BanDoi Channel