เปลี่ยนโลกการเกษตรสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยี
กับหลักคิดแบบ SMART Farming
ต้องบอกก่อนเลยว่า หัวใจหลักของ SMART Farming คือ การนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าไปใช้ทำการเกษตรให้เป็นสมัยใหม่ ทั้งกระบวนการผลิตและการเพาะปลูกตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกร ลดเวลาทำงาน เพิ่มผลผลิต มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เกษตรกรก็สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ ลดรายจ่าย นำไปสู่การเพิ่มรายได้ ซึ่งหลักการ SMART Farming ของโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. เป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและความรู้ต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท. และฝึกฝนทักษะการทำงานแก่พนักงาน Restart Thailand ที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ เข้าไปดำเนินงานภาคสนามในพื้นที่นั้น ๆ จนเกิดเป็นต้นแบบ SMART Farming ที่ให้แต่ละชุมชนสามารถศึกษานำไปพัฒนาต่อยอดได้ ด้วยหลักการดังนี้
1. การเก็บข้อมูล การเพาะปลูกของเกษตรกร ศักยภาพของพื้นที่ และการวิจัยตลาด
2. การวิเคราะห์และออกแบบ วิเคราะห์ถึงปัญหาและโอกาส เพื่อนำไปออกแบบแผนงานบนพื้นฐานความต้องการของเกษตรกรและชุมชน คัดสรรเครื่องมือที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ โดยตั้งต้นจากความรู้และเทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท. ที่มีอยู่ หากยังไม่เพียงพอก็จะประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อขอรับการสนับสนุนทุน ความรู้ และเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาเพิ่มเติม
3. การก่อสร้างและติดตั้ง นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในพื้นที่เป้าหมาย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับเกษตรกรและชุมชน มีการฝึกอบรมการใช้งาน การดูแลรักษา และการซ่อมบำรุงให้แก่เกษตรกร
4. การติดตามประเมินผล ทั้งคุณภาพผลผลิต การขอรับรองมาตรฐานผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์
เพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูป อาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น และประเมินผลโดยวัดจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ยกตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่ SMART Farming ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ที่มี “มะสังดัด” ไม้ประดับตระกูลบอนไซที่สร้างรายได้หลักให้กับชุมชน แต่ช่วงหน้าหนาวจะต้องเจอกับปัญหาการเก็บผลผลิต เนื่องจากช่วงนั้นลมจะพัดแรง พอขุดมะสังขึ้นมาใส่กระถาง ลมจะทำให้ใบและลำต้นแห้งตาย รากไม่เจริญเติบโต และที่ผ่านมาได้รับความเสียหายมากกว่า 50% ทางชุมชนจึงได้ร่วมกับกลุ่ม ปตท. สร้างโรงเรือนกันลม พร้อมระบบ IOT ขึ้น ช่วยแก้ปัญหาด้านการผลิต ลดความเสียหาย และการเพาะปลูกช่วงหน้าหนาวลงได้
ด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน
-
สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดและสินค้าชุมชน
-
คัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพในการนำพัฒนาต่อยอดได้
-
จัดทำแผนพัฒนาและแผนธุรกิจร่วมกับชุมชน
-
ลงมือปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อการเพิ่มมูลค่า ทั้งด้านคุณภาพ บรรจุภัณฑ์และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด และหาช่องทางการจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์
-
ติดตามประเมินผลโดยวัดจากรายได้หรือยอดขาย
ด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
-
สำรวจและวิเคราะห์เพื่อหาพื้นที่เป้าหมาย
-
ประเมินศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม คงเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรม และความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว
-
ลงมือพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกับคนในชุมชน ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญ การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว มาตรฐานการท่องเที่ยว เป็นต้น
-
จัดทำโปรแกรมทดสอบการท่องเที่ยว (Test Trip) แล้วนำผลที่ได้รับมาวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุง
-
จัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ทำการประชาสัมพันธ์และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวผ่านช่องทางต่าง ๆ
-
ประเมินผลการพัฒนาโดยวัดจากจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ของชุมชน