คุณหมอ เปิดเพจเล่าชีวิต ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ในวัย 27 แม้ไม่เคยกินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ หรือเที่ยวกลางคืน กับมุมมองชีวิตที่เปลี่ยนไป เจ็บปวดจะตายแต่เป็นเคสไม่ฉุกเฉิน - รับเคมีบำบัดจนไม่มีแรง เข้าใจคนไข้มาก ๆ ก็วันนี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พักก้อน
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 เพจเฟซบุ๊ก พักก้อน ของ หมอลูกหนู ซึ่งโพสต์แชร์ประสบการณ์รับมือกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ในวัย 27 ปี แม้ที่ผ่านมาจะใช้ชีวิตแบบระมัดระวัง ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยวกลางคืนก็ตาม โดยหลังจากตรวจพบมะเร็ง ส่งผลให้ต้องพักงานและรักษาตัวด้วยเคมีบำบัดกว่า 6 เดือน จนปัจจุบันมะเร็งอยู่ในสถานะโรคสงบ (in remission) ก่อนจะได้กลับไปทำงานรักษาคนไข้อีกครั้ง
โพสต์ล่าสุด หมอลูกหนู ระบุว่า ตนอยากมาเล่าเรื่องในมุมของหมอที่จับพลัดจับผลูเป็นคนไข้แบบงง ๆ ให้ได้อ่านกัน เดิมทีแล้วสำหรับเธอนั้น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ Lymphoma ก็เป็นแค่บทหนึ่งในตำราเรียนที่จำได้บ้างไม่ได้บ้าง เป็นคำวินิจฉัยหนึ่งของคนไข้ที่อยู่ในความดูแล ซึ่งแผนการรักษาก็มาจาก Hematologist หรือ อายุรแพทย์โรคเลือดซะส่วนใหญ่ รวมทั้งการเขียนออร์เดอร์ Neutropenic diet หรือ อาหารแบคทีเรียต่ำ การงดผลไม้เปลือกบาง ก็เป็นแค่ความเคยชินที่ทำให้สำหรับผู้ป่วยที่มารับเคมีบำบัด
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พักก้อน
จนวันหนึ่งที่ป่วยมะเร็ง หลายคนอาจจะสงสัยว่าในฐานะหมอ จะมีความคิดความรู้สึกต่างจากคนไข้ทั่วไปยังไงกันนะ สำหรับตัวเราเอง ไม่ต่างเลยค่ะ ออกจะกังวลมากกว่าคนไข้ทั่วไปด้วยซ้ำ ตลอดเวลา 6 เดือนที่ป่วยและรับยาเคมีบำบัดเต็มไปด้วยความกังวล เพราะเราเห็นมาตลอดว่าถ้าคนไข้มะเร็งได้ยาเคมีบำบัดแล้วติดเชื้อแทรกซ้อน อาการจะรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เพราะฉะนั้นเวลาจะกินอะไร หรือจะทำกิจกรรมอะไร เรามักจะคิดภาพตัวเองนอนซมให้ยาฆ่าเชื้อใน ICU อยู่บ่อย ๆ
ตอนยังทำงานอยู่ เธอนั้นก็ไม่ต่างกับหมอหลายคนที่อยู่เวรห้องฉุกเฉินแล้วเจอเคสที่คนไข้มาด้วยภาวะที่ไม่ได้ฉุกเฉินจริง แต่ระหว่าง 6 เดือนที่ตัวเองป่วย แพทย์หญิงคนนี้เป็นคนไข้เข้าห้องฉุกเฉิน 2 ครั้ง และไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงแก่ชีวิตทั้งสองครั้ง ครั้งแรกที่บ้านพาไปส่งเพราะเพลียมาก หน้ามืด วัดความดันได้ 60/30 พอไปวัดที่ห้องฉุกเฉินค่ากลับเป็นปกติ ส่วนอีกครั้งคือท้องเสีย ปวดท้อง ระดับ 10 เต็ม 10 แต่พอไปตรวจพบแค่อาการลำไส้แปรปรวน ทั้งสองครั้งที่ไปห้องฉุกเฉินนั้นไม่มีเจตนาอื่นใด นอกจากกลัวตายเท่านั้น
ดังนั้นการเป็นคนไข้ซะเองทำให้เราเข้าใจคนไข้มากขึ้น เข้าใจคนไข้ที่มาห้องฉุกเฉินตอนตีสาม เพราะท้องเสีย ปวดท้อง แค่โรคลำไส้อักเสบธรรมดาที่ไม่ฆ่าใคร แต่มันสามารถปวดได้ระดับ 10 เต็ม 10 จริง ๆ ไม่มีใครอยากเข้าห้องฉุกเฉินหรอกถ้าไม่กลัวตาย ยกเว้นเคสมาขอยาเดิม หรือ ขอใบรับรองแพทย์ตอนดึก ๆ ที่ก็ยังไม่เข้าใจเช่นกัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พักก้อน
บทเรียนครั้งใหม่ เข้าใจคนป่วยมากขึ้น รู้เลยว่าแค่ฉีดยาทุกวันมันเจ็บแค่ไหน เปลี่ยนไปในทุกมิติ
เข้าใจว่าผู้ป่วยมะเร็งทุกคนต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งและต้องการกำลังใจจากคนรอบข้างขนาดไหน การต่อสู้กับผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด การต้องระวังตัวเองตลอดเวลาไม่ให้ป่วย แต่ละวันมันไม่เคยง่ายเลย
เข้าใจว่าทุกคำสั่งการรักษาที่เขียนไปมันส่งผลกระทบกับชีวิตคนไข้จริง ๆ หลาย ๆ อย่างมันง่ายกับคนเขียน แต่ลำบากคนทำ เคยไม่เข้าใจว่าทำไมคนไข้เบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้ถึงไม่ยอมฉีดยาอินซูลิน เพิ่้งเข้าใจวันที่เธอเองโดนฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เข้าใต้ผิวหนังคล้ายอินซูลิน เธอยังรู้สึกว่ามันเจ็บและมันลำบากจริง ๆ
แม้ว่าตอนนี้โรคจะสงบ เธอสามารถกลับมาทำงานหมอได้แล้ว แต่ขณะเดียวกัน สถานะคนไข้ก็ยังต้องติดตัวไปอีกหลายปี เพราะยังต้องเข้ารับการตรวจติดตามเป็นระยะ และก็ยังรู้สึกกังวลเหมือนเดิมทุกครั้ง ได้ผ่านอะไรมาเยอะมาก ทั้งประสบการณ์ที่ผมค่อย ๆ ร่วงเป็นกระจุกจนหมดหัว ปวดกระดูกจนนอนร้องไห้ กินอาหารแล้วไม่รู้รสชาติจนยอมแพ้ที่จะกิน อ่อนเพลียมากจนเดินได้วันหนึ่งไม่กี่ก้าว พอมาคิดจริง ๆ ก็ไม่ใช่เราคนเดียวที่เคยต้องผ่านเรื่องแบบนี้มา
รู้สึกว่าตนเองในฐานะหมอก็มีความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ได้เรียนรู้ที่จะมองคนไข้เป็นมากกว่างานที่ต้องทำให้เสร็จ มีหลายครั้งที่เลือกจะนั่งลงข้างเตียงคนไข้ที่เพิ่งรู้ว่าเป็นมะเร็งเพื่อพูดว่า "กินข้าวเยอะ ๆ นะคะ หมอรู้ว่ากินไม่อร่อยหรอก แต่ถ้าร่างกายเราแข็งแรง ผลการรักษาก็จะดีขึ้นนะ" ซึ่งในโอกาสถัดไปจะมาแชร์ประสบการณ์ที่ต้องรับมือกับการสูญเสียผม หรือการใช้ชีวิตกับเส้นให้ยาเคมีบำบัดโดยไม่ติดเชื้อให้ฟัง ขอให้ทุกคนสุขภาพแข็งแรง ไว้พบกันใหม่
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก พักก้อน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พักก้อน
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 เพจเฟซบุ๊ก พักก้อน ของ หมอลูกหนู ซึ่งโพสต์แชร์ประสบการณ์รับมือกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ในวัย 27 ปี แม้ที่ผ่านมาจะใช้ชีวิตแบบระมัดระวัง ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยวกลางคืนก็ตาม โดยหลังจากตรวจพบมะเร็ง ส่งผลให้ต้องพักงานและรักษาตัวด้วยเคมีบำบัดกว่า 6 เดือน จนปัจจุบันมะเร็งอยู่ในสถานะโรคสงบ (in remission) ก่อนจะได้กลับไปทำงานรักษาคนไข้อีกครั้ง
โพสต์ล่าสุด หมอลูกหนู ระบุว่า ตนอยากมาเล่าเรื่องในมุมของหมอที่จับพลัดจับผลูเป็นคนไข้แบบงง ๆ ให้ได้อ่านกัน เดิมทีแล้วสำหรับเธอนั้น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ Lymphoma ก็เป็นแค่บทหนึ่งในตำราเรียนที่จำได้บ้างไม่ได้บ้าง เป็นคำวินิจฉัยหนึ่งของคนไข้ที่อยู่ในความดูแล ซึ่งแผนการรักษาก็มาจาก Hematologist หรือ อายุรแพทย์โรคเลือดซะส่วนใหญ่ รวมทั้งการเขียนออร์เดอร์ Neutropenic diet หรือ อาหารแบคทีเรียต่ำ การงดผลไม้เปลือกบาง ก็เป็นแค่ความเคยชินที่ทำให้สำหรับผู้ป่วยที่มารับเคมีบำบัด
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พักก้อน
จนวันหนึ่งที่ป่วยมะเร็ง หลายคนอาจจะสงสัยว่าในฐานะหมอ จะมีความคิดความรู้สึกต่างจากคนไข้ทั่วไปยังไงกันนะ สำหรับตัวเราเอง ไม่ต่างเลยค่ะ ออกจะกังวลมากกว่าคนไข้ทั่วไปด้วยซ้ำ ตลอดเวลา 6 เดือนที่ป่วยและรับยาเคมีบำบัดเต็มไปด้วยความกังวล เพราะเราเห็นมาตลอดว่าถ้าคนไข้มะเร็งได้ยาเคมีบำบัดแล้วติดเชื้อแทรกซ้อน อาการจะรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เพราะฉะนั้นเวลาจะกินอะไร หรือจะทำกิจกรรมอะไร เรามักจะคิดภาพตัวเองนอนซมให้ยาฆ่าเชื้อใน ICU อยู่บ่อย ๆ
ตอนยังทำงานอยู่ เธอนั้นก็ไม่ต่างกับหมอหลายคนที่อยู่เวรห้องฉุกเฉินแล้วเจอเคสที่คนไข้มาด้วยภาวะที่ไม่ได้ฉุกเฉินจริง แต่ระหว่าง 6 เดือนที่ตัวเองป่วย แพทย์หญิงคนนี้เป็นคนไข้เข้าห้องฉุกเฉิน 2 ครั้ง และไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงแก่ชีวิตทั้งสองครั้ง ครั้งแรกที่บ้านพาไปส่งเพราะเพลียมาก หน้ามืด วัดความดันได้ 60/30 พอไปวัดที่ห้องฉุกเฉินค่ากลับเป็นปกติ ส่วนอีกครั้งคือท้องเสีย ปวดท้อง ระดับ 10 เต็ม 10 แต่พอไปตรวจพบแค่อาการลำไส้แปรปรวน ทั้งสองครั้งที่ไปห้องฉุกเฉินนั้นไม่มีเจตนาอื่นใด นอกจากกลัวตายเท่านั้น
ดังนั้นการเป็นคนไข้ซะเองทำให้เราเข้าใจคนไข้มากขึ้น เข้าใจคนไข้ที่มาห้องฉุกเฉินตอนตีสาม เพราะท้องเสีย ปวดท้อง แค่โรคลำไส้อักเสบธรรมดาที่ไม่ฆ่าใคร แต่มันสามารถปวดได้ระดับ 10 เต็ม 10 จริง ๆ ไม่มีใครอยากเข้าห้องฉุกเฉินหรอกถ้าไม่กลัวตาย ยกเว้นเคสมาขอยาเดิม หรือ ขอใบรับรองแพทย์ตอนดึก ๆ ที่ก็ยังไม่เข้าใจเช่นกัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พักก้อน
บทเรียนครั้งใหม่ เข้าใจคนป่วยมากขึ้น รู้เลยว่าแค่ฉีดยาทุกวันมันเจ็บแค่ไหน เปลี่ยนไปในทุกมิติ
เข้าใจว่าผู้ป่วยมะเร็งทุกคนต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งและต้องการกำลังใจจากคนรอบข้างขนาดไหน การต่อสู้กับผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด การต้องระวังตัวเองตลอดเวลาไม่ให้ป่วย แต่ละวันมันไม่เคยง่ายเลย
เข้าใจว่าทุกคำสั่งการรักษาที่เขียนไปมันส่งผลกระทบกับชีวิตคนไข้จริง ๆ หลาย ๆ อย่างมันง่ายกับคนเขียน แต่ลำบากคนทำ เคยไม่เข้าใจว่าทำไมคนไข้เบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้ถึงไม่ยอมฉีดยาอินซูลิน เพิ่้งเข้าใจวันที่เธอเองโดนฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เข้าใต้ผิวหนังคล้ายอินซูลิน เธอยังรู้สึกว่ามันเจ็บและมันลำบากจริง ๆ
แม้ว่าตอนนี้โรคจะสงบ เธอสามารถกลับมาทำงานหมอได้แล้ว แต่ขณะเดียวกัน สถานะคนไข้ก็ยังต้องติดตัวไปอีกหลายปี เพราะยังต้องเข้ารับการตรวจติดตามเป็นระยะ และก็ยังรู้สึกกังวลเหมือนเดิมทุกครั้ง ได้ผ่านอะไรมาเยอะมาก ทั้งประสบการณ์ที่ผมค่อย ๆ ร่วงเป็นกระจุกจนหมดหัว ปวดกระดูกจนนอนร้องไห้ กินอาหารแล้วไม่รู้รสชาติจนยอมแพ้ที่จะกิน อ่อนเพลียมากจนเดินได้วันหนึ่งไม่กี่ก้าว พอมาคิดจริง ๆ ก็ไม่ใช่เราคนเดียวที่เคยต้องผ่านเรื่องแบบนี้มา
รู้สึกว่าตนเองในฐานะหมอก็มีความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ได้เรียนรู้ที่จะมองคนไข้เป็นมากกว่างานที่ต้องทำให้เสร็จ มีหลายครั้งที่เลือกจะนั่งลงข้างเตียงคนไข้ที่เพิ่งรู้ว่าเป็นมะเร็งเพื่อพูดว่า "กินข้าวเยอะ ๆ นะคะ หมอรู้ว่ากินไม่อร่อยหรอก แต่ถ้าร่างกายเราแข็งแรง ผลการรักษาก็จะดีขึ้นนะ" ซึ่งในโอกาสถัดไปจะมาแชร์ประสบการณ์ที่ต้องรับมือกับการสูญเสียผม หรือการใช้ชีวิตกับเส้นให้ยาเคมีบำบัดโดยไม่ติดเชื้อให้ฟัง ขอให้ทุกคนสุขภาพแข็งแรง ไว้พบกันใหม่