อ.เจษฎ์ เตือนอันตราย ว่านจักจั่น เป็นเชื้อราทำลายแมลง
ไม่ใช่ยาบำรุง หากกินเข้าไปอาจเสี่ยงอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ฟาร์มไก่ บ้านทุ่ง
วันที่ 11 มิถุนายน 2566 ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ เตือนภัยเกี่ยวกับ ว่านจักจั่น
โดยข้อความดังกล่าวระบุว่า
มีการแชร์ภาพของแปลกคล้ายหนอนที่มีก้านงอกยื่นออกมา ในเพจ facebook หนึ่ง โดยตั้งคำถามว่า "กินหรือเอาไปทำอะไรดีครับ" ?! สิ่งที่เห็นในภาพนั้นคือ
"ว่านจักจั่น" เป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง
ที่ขึ้นอยู่ในตัวอ่อนของจักจั่นที่อยู่ใต้ดินไม่ควรนำมาบริโภค
เพราะอาจจะรับสารพิษอันตรายได้
"ว่านจักจั่น" นี่บางคนก็ไปขุดเก็บมาโดยมองว่าเป็นวัตถุมงคล ตามความเชื่อว่าเป็นว่านกึ่งพืชกึ่งสัตว์ ประเภทเดียวกับพวกมักกะลีผลมีบูชาแล้วร่ำรวย จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่พืช ไม่ใช่ว่าน แต่เป็นเป็นตัวอ่อนของจักจั่น ที่ตายแล้วเนื่องจากการติด "เชื้อราทำลายแมลง" ในขณะที่เป็นตัวอ่อน ช่วงที่ขึ้นจากใต้ดินมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน ในระยะตัวอ่อนนี้ จักจั่นจะอ่อนแอมาก ขณะที่มีอากาศชื้นจากหน้าฝน ทำให้เชื้อราแพร่กระจายได้ดีในอากาศ เมื่อเชื้อราตกลงไปอยู่บนตัวจักจั่นที่มีภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเข้าไป และงอกในตัวจักจั่นได้ดี โดยดูดน้ำเลี้ยงในจักจั่นเป็นอาหาร
"ว่านจักจั่น" นี่บางคนก็ไปขุดเก็บมาโดยมองว่าเป็นวัตถุมงคล ตามความเชื่อว่าเป็นว่านกึ่งพืชกึ่งสัตว์ ประเภทเดียวกับพวกมักกะลีผลมีบูชาแล้วร่ำรวย จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่พืช ไม่ใช่ว่าน แต่เป็นเป็นตัวอ่อนของจักจั่น ที่ตายแล้วเนื่องจากการติด "เชื้อราทำลายแมลง" ในขณะที่เป็นตัวอ่อน ช่วงที่ขึ้นจากใต้ดินมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน ในระยะตัวอ่อนนี้ จักจั่นจะอ่อนแอมาก ขณะที่มีอากาศชื้นจากหน้าฝน ทำให้เชื้อราแพร่กระจายได้ดีในอากาศ เมื่อเชื้อราตกลงไปอยู่บนตัวจักจั่นที่มีภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเข้าไป และงอกในตัวจักจั่นได้ดี โดยดูดน้ำเลี้ยงในจักจั่นเป็นอาหาร
เมื่อจักจั่นตายแล้ว เชื้อราก็จะสร้างโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนเขา ยืดขึ้นเหนือพื้นดิน เหมือนที่เห็นยื่นออกมาจากว่านจักจั่น โครงสร้างสืบพันธุ์นี้ จะมีสปอร์ติดอยู่บริเวณปลาย เมื่อมันยื่นขึ้นมาเหนือพื้นดิน สปอร์จะอาศัยลมหรือน้ำ ในการพัดพาให้ไปตกที่อื่น ๆ และอาจจะทำให้ตัวอ่อนของจักจั่นตัวอื่น ติดเชื้อกันต่อไป เราเรียกเชื้อราที่มีพฤติกรรมไปอาศัยอยู่ในตัวแมลงที่มีชีวิตแบบนี้ ว่าอยู่ในประเภท "เชื้อราทำลายแมลง"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ฟาร์มไก่ บ้านทุ่ง
โดยสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ก็ระบุว่า สำหรับประเทศไทย มีรายงานว่า ว่านจักจั่นมีความใกล้เคียงกับราชนิด Ophiocordyceps sobolifera กินแล้วคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ดวงตาหมุนวนไปรอบ ๆ ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน อ่อนแรงใจสั่น และเวียนศีรษะ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ฟาร์มไก่ บ้านทุ่ง
ในอดีต ในปี พ.ศ. 2562 มีชาวบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี 2 คน เก็บว่านจักจั่นมากิน แต่กินแล้วเกิดอาการเป็นพิษกะทันหัน จึงนำส่งโรงพยาบาล และในปี พ.ศ. 2559 ก็เคยมีข่าว ที่จังหวัดสกลนคร มีประชาชนในตำบลคอนสวรรค์ อำเภอวานรนิวาส เก็บมากิน แล้วได้รับพิษกะทันหัน เกิดอาการร่อแร่ เข้าโรงพยาบาลสกลนคร 2 ราย จนต้องเตือนกันว่าถ้าใครพบเห็นห้ามนำรับประทานเด็ดขาด