ส่องปฏิทินเดือนกรกฎาคม 2566 เดือนนี้มีโอกาสได้หยุดยาวจุก ๆ 10 วันติด ทำยังไงได้บ้าง ลองดูได้เลย
โดยในช่วงนั้น จะมีวันหยุดนักขัตฤกษ์จำนวน 2 วัน ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม (วันศุกร์) และวันอาสาฬบูชา วันที่ 1 สิงหาคม (วันอังคาร) และเมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เข้าไป เราสามารถขยายวันหยุดของเราให้หยุดยาวติดต่อกันดังนี้
เวลามีช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ทีไร สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนมักจะคิดต่อกันนั่นก็คือ มีโอกาสจะได้หยุดยาวไหม ซึ่งช่วงที่หยุดยาวแบบจุก ๆ ของไทยนั้น มักจะมีอยู่ 3-4 ช่วงต่อปี นั่นคือ
1. เทศกาลปีใหม่
2. เทศกาลสงกรานต์
3. ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม (หยุดวันแรงงานแห่งชาติกับวันฉัตรมงคล)
4. ช่วงต้นเดือนธันวาคม (หยุดวันพ่อกับวันรัฐธรรมนูญ)
อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 นี้ มีอีกช่วงหนึ่งที่สามารถหยุดยาวได้แบบที่หลายคนอาจจะคิดไม่ทัน นั่นคือ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ดังนั้น กระปุกดอทคอมจะมาชี้เป้าว่า เราสามารถหยุดยาวได้ถึง 10 วันได้อย่างไร
ไขปริศนา ทำไมหยุด 10 วันติดได้
โดยในช่วงนั้น จะมีวันหยุดนักขัตฤกษ์จำนวน 2 วัน ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม (วันศุกร์) และวันอาสาฬบูชา วันที่ 1 สิงหาคม (วันอังคาร) และเมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เข้าไป เราสามารถขยายวันหยุดของเราให้หยุดยาวติดต่อกันดังนี้
- วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
- วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 29-30 กรกฎาคม 2566 (วันหยุดสุดสัปดาห์)
- วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 (ลาพักร้อน)
- วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 (วันอาสาฬหบูชา)
- วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 (วันเข้าพรรษา ถ้าเอกชนใช้ลาพักร้อน)
- วันพฤหัสบดีถึงวันศุกร์ที่ 3-4 สิงหาคม 2566 (ลาพักร้อน)
- วันเสาร์และอาทิตย์ 5-6 สิงหาคม 2566 (วันหยุดสุดสัปดาห์)
เพียงเท่านี้ เราก็จะได้หยุดกัน 10 วันจุก ๆ แบ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2 หรือ 3 วัน, วันหยุดสุดสัปดาห์ 4 วัน และลาพักร้อนเองอีก 3 หรือ 4 วัน
เห็นแบบนี้แล้ว ใครมีแผนเที่ยวยาว ๆ อย่ารอช้า รีบวางแผนลากันได้เลย ส่วนใครที่ไม่มีแผนเที่ยว แต่อยากนอนพักเฉย ๆ ที่บ้าน ก็ทำได้เช่นกัน