โวย ศุลกากรอรัญประเทศ ยึดทุเรียนกว่า 8 ตัน อ้างเป็นทุเรียนเถื่อนลักลอบนำเข้า ด้านเจ้าของล้งทุเรียนจันทบุรี ยัน ซื้อมาอย่างถูกต้องจากเจ้าของสวนที่ศรีสะเกษ แฉเบื้องหลังเจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำไปเร่ขายในหน่วยงานจนเกลี้ยง
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เข้าจับกุมรถบรรทุก 6 ล้อ ต้องสงสัยบริเวณถนน 317 (สระแก้ว-จันทบุรี) ช่วงบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลวังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ โดยภายในรถตรวจพบทุเรียนสด ระบุว่ามีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ และไม่มีเอกสารหลักฐาน แสดงการผ่านพิธีการศุลกากร จึงตรวจยึดทุเรียนทั้้งหมด จำนวน 8,420 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 1,178,800 บาท ไว้ตามดำเนินคดีตามกฎหมาย
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2566 นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสระแก้ว ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการหรือล้งรับซื้อทุเรียน ใน จ.จันทบุรี ว่าทุเรียนที่ถูกจับกุมดังกล่าว เป็นทุเรียนที่ซื้อมาอย่างถูกต้อง จากเจ้าของสวนใน จ.ศรีสะเกษ เพื่อนำส่งขายไปยังต่างประเทศ เนื่องจากทุเรียนใน จ.จันทบุรี มีไม่เพียงพอ จึงต้องการร้องเรียนการจับกุมดังกล่าว
ทั้งนี้นายอัมรินทร์ จึงนำภาพไปโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว อัมรินทร์ ยี่เฮง พร้อมระบุว่า อย่าบอกว่าทุเรียนเถื่อน ทุเรียนล็อตนี้มาจากศรีสะเกษ ซื้อกันระหว่างเจ้าของสวนกับล้ง จึงไม่ได้ผ่านพิธีศุลกากรแน่นอน เจ้าของสวนจะเอาใบจากไหนมาให้ มีแต่เงินสดที่ไปจ่ายกับเจ้าของสวน
ถ้าเป็นทุเรียนลักลอบ จะขนมาได้อย่างไรเต็มรถ ขนาดเจ้าหน้าที่ศุลกากรยังใช้เวลาขนลงจากรถ 4-5 ชั่วโมง ถ้าเป็นทุเรียนลักลอบจริง ขนยังไง มีรูปถ่ายไหมตอนลักลอบ แล้วถ้าลักลอบผ่านด่าน ต้องผ่านด่านทหารกี่ด่าน แล้วขนกัน 4-5 ชั่วโมง ทหารไม่สงสัยเลยใช่ไหม รวมทั้งขั้นตอนการพิสูจน์ยังไง ก่อนจะบอกว่าเป็นทุเรียนเถื่อนนำเข้า ยังไม่ทันอะไรข่มขู่จนคนที่รับจ้างขน เจ้าของรถ 6 ล้อ ต้องบอกให้ยึดแล้วมอบให้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
พอเซ็นมอบให้ ก็ถือเป็นอำนาจของศุลกากรและที่น่าเจ็บใจ กฎหมายก็เปิดโอกาสให้ศุลกากรนำไปขายให้หน่วยงานภายใน ทุกหน่วยงานข้าราชการในจังหวัด 50 ลูก 7,500 บาท มีหน่วยงานบางหน่วยงาน ถึงกับเอารถมาขนกันเลย แต่บังเอิญเจ้าของเขาไม่ยอม เพราะเป็นทุเรียนถูกต้อง เพียงแค่ขายกันกับเจ้าของสวนกับผู้ประกอบการ จะเอาใบพิธีการศุลกากรจากไหน ก็มันไม่ได้นำเข้า
ขณะที่ เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า นายอัมรินทร์ และเจ้าของล้งรับซื้อทุเรียนที่เดือดร้อนจากกรณีดังกล่าว ได้เดินทางไปที่ด่านศุลกากรอรัญประเทศ จ.สระแก้ว สถานที่เก็บของกลางเพื่อขอรับทุเรียนคืน เนื่องจากหากปล่อยไว้นาน จะทำให้สินค้าเน่าเสียหาย แต่พอไปถึงจุดเก็บของกลางกลับไม่พบทุเรียนแล้ว
ต่อมา มีเจ้าหน้าที่บางคนได้ถ่ายคลิปบางช่วงบางตอนส่งมาให้ผู้เสียหาย จึงทำให้ทราบว่าทุเรียนที่ถูกยึดนั้นถูกขายเกือบหมดแล้ว โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ นำรถเข้ามารับ และรถคันสุดท้ายที่มาขนทุเรียนออกไป คาดว่าเป็นรถของสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว แถมยังมีการเตรียมลังสำหรับใส่ทุเรียนไว้พร้อม โดยเป็นกล่องลังที่ศุลกากรเตรียมไว้ให้ ทั้งที่เจ้าของยังไม่ทันพิสูจน์เลย
เบื้องต้น ทางผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรชุดดังกล่าวแล้ว พร้อมกล่าวว่า ถ้าศุลกากรทำถูกต้องก็ไม่ต้องกลัว แต่เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมต้องส่งหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายกับคลิปที่ปรากฏว่ารถขนทุเรียนออกจากแนวชายแดน ถ้าไม่มีหลักฐานก็ว่ากันไปตามกฎหมาย
ส่วนประเด็นที่เจ้าหน้าที่บอกว่าของกลางจะเอาไปทำลาย แต่ก็มีรถของข้าราชการมาขนออกไป อีกทั้งยังมีรถของผู้ประกอบการทุเรียน เข้าไปรับซื้อจากศุลกากรด้วย แบบนี้หมายความว่าอย่างไร วอนเพราะศุลกากรชี้แจงให้หมดทุกประเด็นด้วย
อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า จากการสอบถามทางโทรศัพท์กรณีดังกล่าวกับ นายประพันธ์ จันทร์ไทยศรี นายด่านศุลกากรอรัญประเทศ และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าขณะนี้ไม่สามารถติดต่อได้ ส่วนอธิบดีกรมศุลกากร ล่าสุดทราบเรื่องแล้ว พร้อมสั่งการด่านศุลกากรในพื้นที่ตรวจสอบและรายงานกลับมาโดยด่วน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมศุลกากร : The Customs Department
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง, เรื่องเล่าเช้านี้
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เข้าจับกุมรถบรรทุก 6 ล้อ ต้องสงสัยบริเวณถนน 317 (สระแก้ว-จันทบุรี) ช่วงบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลวังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ โดยภายในรถตรวจพบทุเรียนสด ระบุว่ามีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ และไม่มีเอกสารหลักฐาน แสดงการผ่านพิธีการศุลกากร จึงตรวจยึดทุเรียนทั้้งหมด จำนวน 8,420 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 1,178,800 บาท ไว้ตามดำเนินคดีตามกฎหมาย
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2566 นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสระแก้ว ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการหรือล้งรับซื้อทุเรียน ใน จ.จันทบุรี ว่าทุเรียนที่ถูกจับกุมดังกล่าว เป็นทุเรียนที่ซื้อมาอย่างถูกต้อง จากเจ้าของสวนใน จ.ศรีสะเกษ เพื่อนำส่งขายไปยังต่างประเทศ เนื่องจากทุเรียนใน จ.จันทบุรี มีไม่เพียงพอ จึงต้องการร้องเรียนการจับกุมดังกล่าว
ทั้งนี้นายอัมรินทร์ จึงนำภาพไปโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว อัมรินทร์ ยี่เฮง พร้อมระบุว่า อย่าบอกว่าทุเรียนเถื่อน ทุเรียนล็อตนี้มาจากศรีสะเกษ ซื้อกันระหว่างเจ้าของสวนกับล้ง จึงไม่ได้ผ่านพิธีศุลกากรแน่นอน เจ้าของสวนจะเอาใบจากไหนมาให้ มีแต่เงินสดที่ไปจ่ายกับเจ้าของสวน
ถ้าเป็นทุเรียนลักลอบ จะขนมาได้อย่างไรเต็มรถ ขนาดเจ้าหน้าที่ศุลกากรยังใช้เวลาขนลงจากรถ 4-5 ชั่วโมง ถ้าเป็นทุเรียนลักลอบจริง ขนยังไง มีรูปถ่ายไหมตอนลักลอบ แล้วถ้าลักลอบผ่านด่าน ต้องผ่านด่านทหารกี่ด่าน แล้วขนกัน 4-5 ชั่วโมง ทหารไม่สงสัยเลยใช่ไหม รวมทั้งขั้นตอนการพิสูจน์ยังไง ก่อนจะบอกว่าเป็นทุเรียนเถื่อนนำเข้า ยังไม่ทันอะไรข่มขู่จนคนที่รับจ้างขน เจ้าของรถ 6 ล้อ ต้องบอกให้ยึดแล้วมอบให้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
พอเซ็นมอบให้ ก็ถือเป็นอำนาจของศุลกากรและที่น่าเจ็บใจ กฎหมายก็เปิดโอกาสให้ศุลกากรนำไปขายให้หน่วยงานภายใน ทุกหน่วยงานข้าราชการในจังหวัด 50 ลูก 7,500 บาท มีหน่วยงานบางหน่วยงาน ถึงกับเอารถมาขนกันเลย แต่บังเอิญเจ้าของเขาไม่ยอม เพราะเป็นทุเรียนถูกต้อง เพียงแค่ขายกันกับเจ้าของสวนกับผู้ประกอบการ จะเอาใบพิธีการศุลกากรจากไหน ก็มันไม่ได้นำเข้า
ขณะที่ เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า นายอัมรินทร์ และเจ้าของล้งรับซื้อทุเรียนที่เดือดร้อนจากกรณีดังกล่าว ได้เดินทางไปที่ด่านศุลกากรอรัญประเทศ จ.สระแก้ว สถานที่เก็บของกลางเพื่อขอรับทุเรียนคืน เนื่องจากหากปล่อยไว้นาน จะทำให้สินค้าเน่าเสียหาย แต่พอไปถึงจุดเก็บของกลางกลับไม่พบทุเรียนแล้ว
ต่อมา มีเจ้าหน้าที่บางคนได้ถ่ายคลิปบางช่วงบางตอนส่งมาให้ผู้เสียหาย จึงทำให้ทราบว่าทุเรียนที่ถูกยึดนั้นถูกขายเกือบหมดแล้ว โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ นำรถเข้ามารับ และรถคันสุดท้ายที่มาขนทุเรียนออกไป คาดว่าเป็นรถของสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว แถมยังมีการเตรียมลังสำหรับใส่ทุเรียนไว้พร้อม โดยเป็นกล่องลังที่ศุลกากรเตรียมไว้ให้ ทั้งที่เจ้าของยังไม่ทันพิสูจน์เลย
เบื้องต้น ทางผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรชุดดังกล่าวแล้ว พร้อมกล่าวว่า ถ้าศุลกากรทำถูกต้องก็ไม่ต้องกลัว แต่เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมต้องส่งหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายกับคลิปที่ปรากฏว่ารถขนทุเรียนออกจากแนวชายแดน ถ้าไม่มีหลักฐานก็ว่ากันไปตามกฎหมาย
ส่วนประเด็นที่เจ้าหน้าที่บอกว่าของกลางจะเอาไปทำลาย แต่ก็มีรถของข้าราชการมาขนออกไป อีกทั้งยังมีรถของผู้ประกอบการทุเรียน เข้าไปรับซื้อจากศุลกากรด้วย แบบนี้หมายความว่าอย่างไร วอนเพราะศุลกากรชี้แจงให้หมดทุกประเด็นด้วย
อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า จากการสอบถามทางโทรศัพท์กรณีดังกล่าวกับ นายประพันธ์ จันทร์ไทยศรี นายด่านศุลกากรอรัญประเทศ และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าขณะนี้ไม่สามารถติดต่อได้ ส่วนอธิบดีกรมศุลกากร ล่าสุดทราบเรื่องแล้ว พร้อมสั่งการด่านศุลกากรในพื้นที่ตรวจสอบและรายงานกลับมาโดยด่วน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมศุลกากร : The Customs Department
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก อัมรินทร์ ยี่เฮง
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้