กรมอุตุนิยมวิทยา เผยเรดาร์ฝนสะสมล่วงหน้า 10 วัน พร้อมข้อมูลพยากรณ์อากาศ ช่วงสิ้นเดือนนี้ ลมหนาวจะเริ่มกลับมาพัดอีก สัญญาณเริ่มต้นฤดูหนาวชัดขึ้น
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 25 ตุลาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา เผยข้อมูลพยากรณ์อากาศ กับภาพเรดาร์ฝนสะสม 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2566 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป ดังนี้
ช่วง 25 - 29 ต.ค.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีกำลังอ่อนลง ทิศทางลมเริ่มแปรปรวนและมีกำลังอ่อนลง โดยมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ (ในระดับกลาง ๆ) พัดแทรกเข้ามาปกคลุมภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล ความชื้นสูง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว) ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู
ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลง และมีฝนปนกับอากาศเย็น ระมัดระวังสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เมฆมาก ความชื้นสูงในระยะนี้ เกษตรกรที่กำลังเก็บเกี่ยวควรหาวิธีป้องกันผลผลิตที่อาจได้รับความเสียหายได้ จัดงานกลางแจ้งควรเตรียมเต็นท์กันแดดและฝน
ช่วง 30 ต.ค.-3 พ.ย.66 มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอก จะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวจะเริ่มกลับมาพัดอีกครั้ง สัญญาณการเริ่มต้นฤดูหนาวเริ่มชัดขึ้น ภาคอีสานอากาศเย็นลง มีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ช่วงแรก ๆ ที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมา
ภาพจาก Weatherradio
ภาคใต้ยังมีฝนได้ต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
สำหรับข้อมูลพยากรณ์อากาศ คาดหมายอากาศ 7 วัน ระหว่างวันที่ 25 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 มีดังนี้
ภาพจาก Weatherradio
ช่วงวันที่ 25-28 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 29-31 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
ภาพจาก Weatherradio
ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตลอดช่วง
ภาพจาก Weatherradio
พายุดีเปรสชัน "ฮอมูน" (HAMOON) ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศบังคลาเทศแล้ว คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย
ข้อควรระวัง : ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 25 ตุลาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา เผยข้อมูลพยากรณ์อากาศ กับภาพเรดาร์ฝนสะสม 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2566 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป ดังนี้
ช่วง 25 - 29 ต.ค.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีกำลังอ่อนลง ทิศทางลมเริ่มแปรปรวนและมีกำลังอ่อนลง โดยมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ (ในระดับกลาง ๆ) พัดแทรกเข้ามาปกคลุมภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล ความชื้นสูง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว) ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู
ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลง และมีฝนปนกับอากาศเย็น ระมัดระวังสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เมฆมาก ความชื้นสูงในระยะนี้ เกษตรกรที่กำลังเก็บเกี่ยวควรหาวิธีป้องกันผลผลิตที่อาจได้รับความเสียหายได้ จัดงานกลางแจ้งควรเตรียมเต็นท์กันแดดและฝน
ช่วง 30 ต.ค.-3 พ.ย.66 มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอก จะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวจะเริ่มกลับมาพัดอีกครั้ง สัญญาณการเริ่มต้นฤดูหนาวเริ่มชัดขึ้น ภาคอีสานอากาศเย็นลง มีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ช่วงแรก ๆ ที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมา
ภาพจาก Weatherradio
ภาคใต้ยังมีฝนได้ต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
สำหรับข้อมูลพยากรณ์อากาศ คาดหมายอากาศ 7 วัน ระหว่างวันที่ 25 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 มีดังนี้
ภาพจาก Weatherradio
ช่วงวันที่ 25-28 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 29-31 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
ภาพจาก Weatherradio
ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตลอดช่วง
ภาพจาก Weatherradio
พายุดีเปรสชัน "ฮอมูน" (HAMOON) ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศบังคลาเทศแล้ว คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย
ข้อควรระวัง : ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio
ภาพจาก Weatherradio