กรมอุตุนิยมวิทยา เผยภาพเรดาร์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า พร้อม พยากรณ์อากาศ 7 วัน มวลอากาศเย็นระลอกใหม่มาอีก ไทยยังมีฝน 1 วัน เจอ 3 สภาพอากาศ
วันที่ 29 ตุลาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา เผยภาพเรดาร์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2566 พร้อมข้อมูลพยากรณ์อากาศ ดังนี้
- 29 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนยังมีฝน เนื่องจากมวลอากาศเย็นได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทิศทางลมเริ่มแปรปรวน โดยยังมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ พัดเสริมเข้ามาปกคลุมภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล ความชื้นสูง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
- ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู เช้าอากาศเย็น กลางวันอากาศร้อน ตอนเย็นมีฝน ระมัดระวังสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เมฆมาก ความชื้นสูง
- ช่วง 30 ต.ค. ถึง 7 พ.ย. 66 มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอก จะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวจะเริ่มกลับมาพัดอีกครั้ง สัญญาณการเริ่มต้นฤดูหนาวเริ่มชัดขึ้น โดยมีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ช่วงแรก ๆ ที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปะทะกับอากาศร้อน หลังจากนั้นฝนจะเริ่มน้อยลง อากาศเริ่มเย็นลง
- ภาคใต้ยังมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วง 30 ต.ค. ถึง 2 พ.ย. 66 คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
- ในวันที่ 30 ต.ค. ถึง 4 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
- บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง
- ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
- ในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. 66 ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
- ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 29 ตุลาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา เผยภาพเรดาร์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2566 พร้อมข้อมูลพยากรณ์อากาศ ดังนี้
- 29 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนยังมีฝน เนื่องจากมวลอากาศเย็นได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทิศทางลมเริ่มแปรปรวน โดยยังมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ พัดเสริมเข้ามาปกคลุมภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล ความชื้นสูง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
- ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู เช้าอากาศเย็น กลางวันอากาศร้อน ตอนเย็นมีฝน ระมัดระวังสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เมฆมาก ความชื้นสูง
- ช่วง 30 ต.ค. ถึง 7 พ.ย. 66 มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอก จะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวจะเริ่มกลับมาพัดอีกครั้ง สัญญาณการเริ่มต้นฤดูหนาวเริ่มชัดขึ้น โดยมีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ช่วงแรก ๆ ที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปะทะกับอากาศร้อน หลังจากนั้นฝนจะเริ่มน้อยลง อากาศเริ่มเย็นลง
- ภาคใต้ยังมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วง 30 ต.ค. ถึง 2 พ.ย. 66 คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
- ในวันที่ 30 ต.ค. ถึง 4 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
- บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง
- ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
- ในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. 66 ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
- ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา