โรงพยาบาลพรเจริญ ใน จ.บึงกาฬ ประกาศว่าเหลือหมอทั้ง รพ. แค่คนเดียว ดูแลทั้งประจำทั้งฉุกเฉิน ควงงานเป็นว่าเล่น พร้อมออกมาตรการแก้ไข ด้านหมอด้วยกันถึงกับต้องพูดแทนให้ โรงพยาบาลเปิด 24 ชม. หมอพักตอนไหน
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 โรงพยาบาลพรเจริญ ใน จ.บึงกาฬ ได้ออกประกาศว่าระหว่างวันที่ 27-31 พฤษภาคม ทั้งโรงพยาบาลจะมีหมอแค่ 1 คน และหมอคนนี้จะต้องดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นจึงออกแนวทางดังต่อไปนี้
1. ประสานยืมแพทย์ช่วยตรวจจากโรงพยาบาลข้างเคียง
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,สุขภาพจิต,ไทรอยด์) ที่มีนัดในช่วงดังกล่าวผู้ป่วยสามารถมารับบริการได้ตามปกติ โดยหากผลตรวจปกติ หรืออาการป่วยคงที่พยาบาลวิชาชีพจะสั่งยาเดิมให้โดยไม่ต้องพบแพทย์ และจะปรึกษาแพทย์ในรายที่มีผลเลือดผิดปกติ หรืออาการผิดปกติเท่านั้น
3. ผู้ป่วยคลอดและอุบัติเหตุฉุกเฉินให้บริการ 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊ก จ่าพิชิต พจัดพาลชน ที่เป็นแพทย์เช่นกัน ได้ออกมาพูดสั้น ๆ ว่า โรงพยาบาลมี 30 เตียง
แต่มีหมอคนเดียว จะไหวเหรอเนี่ย ซึ่งตอนที่จ่าพิชิตเป็นหมออยู่ที่ลันตา
แม้ว่าหมอจะน้อย แต่โรงพยาบาลก็มีเตียงแค่ 10 เตียงเท่านั้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2565 พบว่า ในจังหวัดบึงกาฬมีแพทย์ที่อยู่ในสังกัดของ สธ. แค่ 75 คน เฉลี่ยแล้วมีหมอ 1 คนต่อประชากร 5,612 คน ซึ่งหากอยู่ในอัตรานี้จะทำให้หมอต้องทำงานหนักจนเกินไป ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา ในขณะที่บางคนก็มองว่า แม้ประเทศไทยแต่ละปีจะผลิตหมอออกมาได้เยอะ แต่หมอจำนวนมากลาออกจากระบบราชการ หรือไม่เช่นนั้นก็อยู่แต่ในจังหวัดที่เจริญมาก ๆ ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าหมอเรียนมาหนัก แต่รายได้ในถิ่นกันดารกลับไม่คุ้มค่า ไม่นับรวมระบบราชการที่ล้าหลังและไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ จึงทำให้หมอจำนวนมากหาทางย้ายออกจากพื้นที่
ในขณะที่คนหนึ่งอ้างว่า หมอที่อยู่นั้นเป็นเพื่อนของเธอเอง และเห็นใจคุณหมอมาก ๆ ปัญหาการขาดแคลนหมอทั้งจังหวัดมีมานานแล้วทุกโรงพยาบาล และมีเรื่องของระบบ และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หมอใช้ทุนบางคนใช้ไม่ครบก็ออกก่อน แต่ละโรงพยาบาลมีหมอที่ละ 2-4 คน และในปีนี้ที่หนองบัวลำภู คุณหมอโรงพยาบาลจังหวัดก็บ่นว่าได้แพทย์มาน้อย ที่อุดรธานีก็ได้แพทย์มาไม่พอ ไม่รู้เลยว่าจะแก้ตรงไหนดี
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
1. ประสานยืมแพทย์ช่วยตรวจจากโรงพยาบาลข้างเคียง
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,สุขภาพจิต,ไทรอยด์) ที่มีนัดในช่วงดังกล่าวผู้ป่วยสามารถมารับบริการได้ตามปกติ โดยหากผลตรวจปกติ หรืออาการป่วยคงที่พยาบาลวิชาชีพจะสั่งยาเดิมให้โดยไม่ต้องพบแพทย์ และจะปรึกษาแพทย์ในรายที่มีผลเลือดผิดปกติ หรืออาการผิดปกติเท่านั้น
3. ผู้ป่วยคลอดและอุบัติเหตุฉุกเฉินให้บริการ 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2565 พบว่า ในจังหวัดบึงกาฬมีแพทย์ที่อยู่ในสังกัดของ สธ. แค่ 75 คน เฉลี่ยแล้วมีหมอ 1 คนต่อประชากร 5,612 คน ซึ่งหากอยู่ในอัตรานี้จะทำให้หมอต้องทำงานหนักจนเกินไป ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา ในขณะที่บางคนก็มองว่า แม้ประเทศไทยแต่ละปีจะผลิตหมอออกมาได้เยอะ แต่หมอจำนวนมากลาออกจากระบบราชการ หรือไม่เช่นนั้นก็อยู่แต่ในจังหวัดที่เจริญมาก ๆ ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าหมอเรียนมาหนัก แต่รายได้ในถิ่นกันดารกลับไม่คุ้มค่า ไม่นับรวมระบบราชการที่ล้าหลังและไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ จึงทำให้หมอจำนวนมากหาทางย้ายออกจากพื้นที่
ในขณะที่คนหนึ่งอ้างว่า หมอที่อยู่นั้นเป็นเพื่อนของเธอเอง และเห็นใจคุณหมอมาก ๆ ปัญหาการขาดแคลนหมอทั้งจังหวัดมีมานานแล้วทุกโรงพยาบาล และมีเรื่องของระบบ และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หมอใช้ทุนบางคนใช้ไม่ครบก็ออกก่อน แต่ละโรงพยาบาลมีหมอที่ละ 2-4 คน และในปีนี้ที่หนองบัวลำภู คุณหมอโรงพยาบาลจังหวัดก็บ่นว่าได้แพทย์มาน้อย ที่อุดรธานีก็ได้แพทย์มาไม่พอ ไม่รู้เลยว่าจะแก้ตรงไหนดี