จ่อปรับขึ้นค่า FT ช่วงโค้งสุดท้ายของปี เดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 ชี้ ต้องใช้หนี้ กฟผ. ที่กู้เงินช่วยประชาชนมาก่อนประมาณ 9.8 หมื่นล้านบาท รวมถึงหนี้อื่น ๆ และปัจจัยภายนอก ชี้ ถ้ารัฐบาลต้องการตรึง ก็ต้องหาวิธีจ่ายเงิน
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะมีการประชุมบอร์ดในวันนี้ โดยหนึ่งในวาระสำคัญคือ การพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (FT) งวดใหม่ ประจำเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 คาดว่าอาจจะต้องปรับเพิ่มหน่วยละ 20-40 สตางค์ เนื่องจากการทยอยคืนชำระหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่กู้เงินมาช่วยประชาชนไปก่อน พร้อมจ่ายค่าดอกเบี้ยประมาณ 9.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ถ้าหากจ่ายหนี้ให้ กฟผ. ช้า จะทำให้ กฟผ. ต้องแบกรับดอกเบี้ยเพิ่ม หากปล่อยไปเรื่อย ๆ จะยิ่งกระทบกับเรตติ้งของ กฟผ. ได้ และที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาลช่วยเหลือค่าไฟกลุ่มเปราะบาง ลดค่าไฟเหลือหน่วยละ 3.99 บาท ส่งผลให้การใช้ไฟเดือนเมษายน 2567 พุ่งขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2566 ทำให้รู้ว่าการที่ค่าไฟถูกเกินต้นทุนจริง ทำให้ประชาชนไม่ประหยัดการใช้ไฟ ส่งผลไม่ดีในระยะยาว
ส่วนหนี้อื่น ๆ คือ หนี้ค่าเชื้อเพลิงที่ต้องทยอยคืนให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่รับภาระไปงวดก่อนหน้า รวมถึงมีหนี้ค่าเงินบาทที่มีการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง กระทบกับราคาซื้อก๊าซธรรมชาติ, แนวโน้มความต้องการก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในฤดูหนาว ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น
แม้แนวโน้มค่า
FT จะสูงขึ้น แต่ทาง กกพ.
จะเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยกระบวนการทั้งหมดจะประกาศผลการพิจารณาก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคม
เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าไฟใหม่ล่วงหน้า 1 เดือน
สุดท้าย ถ้าหากรัฐบาลต้องการตรึงค่าไฟงวดสุดท้ายให้อยู่ที่หน่วยละ 4.18 บาท ตามเดิม ไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ต้องหางบประมาณหรือหาแนวทางช่วยเหลือเช่นเดียวกับงวดปัจจุบัน
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะมีการประชุมบอร์ดในวันนี้ โดยหนึ่งในวาระสำคัญคือ การพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (FT) งวดใหม่ ประจำเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 คาดว่าอาจจะต้องปรับเพิ่มหน่วยละ 20-40 สตางค์ เนื่องจากการทยอยคืนชำระหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่กู้เงินมาช่วยประชาชนไปก่อน พร้อมจ่ายค่าดอกเบี้ยประมาณ 9.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ถ้าหากจ่ายหนี้ให้ กฟผ. ช้า จะทำให้ กฟผ. ต้องแบกรับดอกเบี้ยเพิ่ม หากปล่อยไปเรื่อย ๆ จะยิ่งกระทบกับเรตติ้งของ กฟผ. ได้ และที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาลช่วยเหลือค่าไฟกลุ่มเปราะบาง ลดค่าไฟเหลือหน่วยละ 3.99 บาท ส่งผลให้การใช้ไฟเดือนเมษายน 2567 พุ่งขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2566 ทำให้รู้ว่าการที่ค่าไฟถูกเกินต้นทุนจริง ทำให้ประชาชนไม่ประหยัดการใช้ไฟ ส่งผลไม่ดีในระยะยาว
ส่วนหนี้อื่น ๆ คือ หนี้ค่าเชื้อเพลิงที่ต้องทยอยคืนให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่รับภาระไปงวดก่อนหน้า รวมถึงมีหนี้ค่าเงินบาทที่มีการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง กระทบกับราคาซื้อก๊าซธรรมชาติ, แนวโน้มความต้องการก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในฤดูหนาว ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น
สุดท้าย ถ้าหากรัฐบาลต้องการตรึงค่าไฟงวดสุดท้ายให้อยู่ที่หน่วยละ 4.18 บาท ตามเดิม ไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ต้องหางบประมาณหรือหาแนวทางช่วยเหลือเช่นเดียวกับงวดปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ