เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
พบซากไดโนเสาร์ที่ ป่าโคกผาส้วม อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งคาดว่าเป็นไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย หรือประมาณ 110 ล้านปีก่อน
วันนี้ (10 กุมภาพันธ์) นายประพิศ ประสพสุข ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 ต.นาคำ และนายวิเชียร แก้วพรม ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าโคกผาส้วม ได้นำสื่อมวลชนที่มาทำข่าว เข้าสำรวจพื้นที่เขตป่าชุมชน โคกผาส้วม ที่ อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เพราะมีซากไดโนเสาร์ ยุคครีเทเชียสตอนต้น หรือประมาณ 110 ล้านปีก่อน โดยจากตำราวิชาการระบุว่า เป็นไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย
ลักษณะภูมิประเทศของป่าโคกผ้าส้วม มีลักษณะเป็นป่าเต็งรัง มีเนื้อที่ 1,011 ไร่ แต่มีพื้นที่ที่เป็นซากไดโนเสาร์ 2 ไร่ ซึ่งพบทั้ง ฟันและเงี่ยงฉลามน้ำจืด ฟันและเกล็ดปลากระดูกแข็ง ฟันและเกล็ดจระเข้ กระดองเต่า ฟังและกระดูกของไดโนเสาร์ สำหรับฟันอีกหลายซี่ที่ไม่สามารถระบุชนิดไดโนเสาร์ได้ แต่สามารถจำแนกวงศ์ได้ ก็คือ ไดโนเสาร์ประเภทกินพืช มีสะโพกคล้ายนก และขาหลังทั้งสองข้างใหญ่กว่าขาหน้า หรือก็คือ พวกออร์นิโธพอด จากหลักฐานที่พบ ทำให้คณะสำรวจไทยและฝรั่งเศส ที่เคยมาสำรวจเมื่อ พ.ศ.2536 ระบุว่า พื้นที่ตรงนี้ เคยเป็นทะเลสาบน้ำจืดนั่นเอง และมีไดโนเสาร์พันธุ์สยามโมซอรั สุธรนิ และไดโนเสาร์พันธุ์ออร์นิโธพอด กลุ่มอิกัวโนดอนทิดศ์
ทั้งนี้ ชาวบ้านในกลุ่มอนุรักษ์ป่าโคกผาส้วมได้เสนอว่า ให้นำซากที่ค้นพบ ไปเก็บที่กรมทรัพยากรธรณี และ อบต.นาคำ อ.ศรีเมืองใหม่ แล้วควรสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นความรู้สำหรับคนรุ่นหลัง หรือคนที่สนใจ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก