x close

กว่า20ปี"ปิโตรเคมี"คู่วิถีชีวิตคนไทย

กว่า20ปี"ปิโตรเคมี"คู่วิถีชีวิตคนไทย

 

            การปฏิรูปพลังงานกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลใหม่ต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพราะมีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และยังมีบางประเด็นที่ยังคงเห็นต่างกัน  แต่เหนือสิ่งอื่นใดความเข้าใจเรื่องพลังงานของคนไทยให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่ควรจะปฏิรูปด้วย  อาทิ จะมีคนไทยสักกี่คนที่รู้ว่าจุดเริ่มต้นของถุงพลาสติก ถ้วย ถัง กะละมัง ชาม แปรงสีฟัน  ฯลฯ สิ่งใกล้ตัวเราทุกวันนี้มาจาก “ปิโตรเลียม” คือก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน


 






            อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคือ การนำสารประกอบไฮโดคาร์บอนด์ที่มาจากปิโตรเลียมหรือ
ก๊าซธรรมชาติ เข้าสู่กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน เป็นต้นและนี่คือจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบ ก่อนจะถูกแปรรูปสู่ขั้นกลางจนถึงขั้นปลายได้แก่ กลุ่มพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ ฯลฯ และสิ่งเหล่านี้ก็ถูกนำมาพัฒนาเป็นสินค้าอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย
ที่เราสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวันเช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร สายไฟ ท่อน้ำ เก้าอี้ ตู้เย็น มือถือ คอมพิวเตอร์ ถ้วย ชาม น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ฯลฯ จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านี้ ล้วนมีความเชื่อมโยงย้อนไปตั้งแต่การขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมคือน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ แล้วส่งต่อไปยังกระบวนการกลั่นคือ
โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และโรงกลั่นน้ำมัน


 

              

 การกำเนิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไทยเริ่มจากการที่รัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในปีพ.ศ. 2524โดยมุ่งหวังการใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยการใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและได้กำหนดให้พื้นที่มาบตาพุด จ.ระยองให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งแรกซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี2528 ลงทุนโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน

 



            ภาครัฐยังมอบหมาย ปตท.ให้เป็นแกนนำร่วมกับภาคเอกชน เช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารรวมถึงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในการจัดตั้งบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัดหรือ NPC ในปีพ.ศ.2527 และนี่คือจุดก่อกำเกิดโรงโอเลฟินส์แห่งแรกที่เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2533และด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในยุคเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้าจึงเกิดการผลักดันให้เกิดพัฒนา
ปิโตรเคมีระยะที่
2 รัฐบาลจึงกำหนดให้ ปตท.เป็นแกนนำร่วมกับเอกชนจัดตั้งบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด(TOC) เพื่อขยายการผลิตโอเลฟินส์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น

 

            ต่อมาเมื่อมีการเปิดเสรีธุรกิจปิโตรเคมีเมื่อปี2538 และเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540ทำให้หลายบริษัทจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันจึงค่อยๆเกิดการควบรวมกิจการในธุรกิจปิโตรเคมีโดยNPCได้ควบรวมกับTOCเข้าด้วยกันและต่อมาได้ควบรวมกับบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR)ซึ่งประกอบธุรกิจโรงกลั่นและ
อะโรเมติกส์จนกลายมาเป็นบริษัทพีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน)หรือ
PTTGCในปัจจุบัน
ขณะที่กลุ่มปูนซิเมนต์ไทยซึ่งนอกเหนือจากที่เคยถือหุ้นใน
NPC แล้ว ก็ได้ลงทุนสร้างโรงงานปิโตรเคมีและขยายกำลังการผลิตของตนเองเช่นกัน

 

                 เรียกได้ว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยไม่ได้เกิดกันขึ้นชั่วข้ามปีแต่เกิดมาจากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของรัฐบาลในอดีตที่ต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติทุกอย่างให้เกิดมูลค่าสูงสุดและมองการพัฒนาประเทศชาติและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญและค่อยๆ พัฒนาไปทีละขั้นละตอนและการลงทุนทั้งรัฐและเอกชนจากอดีตถึงปัจจุบันมีผลให้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจ.ระยองมีระบบสาธารณูปโภคที่เพียบพร้อมเช่นท่าเรือน้ำลึกคลังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ระบบขนส่งทางท่อเป็นต้น“มาบตาพุ”วันนี้จึงเปรียบเสมือนหัวใจของเศรษฐกิจไทยเพราะมีส่วนขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและภาคเกษตรของไทย

 

            ปัจจุบัน “อุตสาหกรรมปิโตรเคมี”ยังมีส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจในการช่วยทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบปิโตรเคมีและสร้างการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีรวมแล้วกว่า8 แสนล้านบาท เกิดโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจนถึงขึ้นรูปพลาสติกกว่า 3,000แห่ง มีการจ้างงานทั้งทางตรงและในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายแสนคน โดยสร้างรายได้ต่อเศรษฐกิจไทยคิดเป็นราว8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดการพัฒนาการศึกษาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องและยังมีส่วนต่อการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

 

               จากจุดกำเนิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกว่า 20ปีวิถีชีวิตคนไทยยังคงวนเวียนกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่ได้หนีไกลไปจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนับตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนวันแล้ววันเล่า และยังคงหมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไปในอนาคต

 

อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ สำหรับคนไทยและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อุตสาหกรรมนี้อยู่คู่สังคมและเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนตลอดไป





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กว่า20ปี"ปิโตรเคมี"คู่วิถีชีวิตคนไทย อัปเดตล่าสุด 19 กันยายน 2557 เวลา 10:07:22 3,474 อ่าน
TOP