x close

ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี ลุ้นชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย 30 มิ.ย.- 1 ก.ค. 58



ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี ลุ้นชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย 30 มิ.ย.- 1 ก.ค.58

           ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี กลับมาอีกครั้ง 30 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2558 ลุ้นฟ้าเปิด สามารถชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกจนถึง 3 ทุ่ม

           เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558 รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน –1 กรกฎาคม 2558 จะมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจชวนให้จับตามอง คือ ปรากฏการณ์ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะโคจรเข้าใกล้กันมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างเชิงมุม 0.4 องศา โดยดาวทั้งสองดวงจะอยู่ชิดติดกันบนท้องฟ้า ทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกจนถึงเวลาประมาณสามทุ่มจึงตกลับขอบฟ้าไป หากฟ้าใส ไม่มีเมฆ สามารถมองเห็นความสวยงามของดาวเคราะห์เคียงกันด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน และถ้าหากดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นดาวเคราะห์ 2 ดวงในเฟรมเดียวกัน และชิดกันมาก ถือเป็นโอกาสดี ๆ ที่มีได้ไม่บ่อยนัก

ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี ลุ้นชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย 30 มิ.ย.- 1 ก.ค.58

           รองศาสตราจารย์บุญรักษา กล่าวต่อว่า การที่ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงชิดกันบนท้องฟ้าในครั้งนี้ ทางดาราศาสตร์จะเรียกว่า "ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม" หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา (1 กำปั้นมีระยะเชิงมุมประมาณ 10 องศา) 

           โดยก่อนหน้านี้ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีมีการโคจรมาใกล้กันมากที่สุดในรอบ 14 ปี ที่ระยะห่างเชิงมุม 0.2 องศา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา แต่สังเกตได้ยากเนื่องจากเป็นเวลากลางวัน แต่ในช่วงวันที่ 30 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2558 ที่จะถึงนี้ จะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ตั้งแต่อาทิตย์ลับของฟ้าเป็นต้นไป นับเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ชมความสวยงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้าในคืนดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง


ภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี ลุ้นชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย 30 มิ.ย.- 1 ก.ค. 58 อัปเดตล่าสุด 30 มิถุนายน 2558 เวลา 11:11:26 15,292 อ่าน
TOP