องค์กรวิชาชีพสื่อ ยื่นสอบจริยธรรม บิ๊กป้อม เหตุตบหัวผู้สื่อข่าว ชี้เข้าข่ายคุกคามสื่อ ด้านพรรคประชาชน ประณาม จ่อเอาเรื่องเข้า กมธ.
ภาพจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
จากกรณี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แสดงพฤติกรรมข่มขู่ และใช้ความรุนแรงกับสื่อมวลชน ด้วยการตบศีรษะนักข่าวสาว หลังตั้งคำถามกรณี แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้รับการโหวตจากที่ประชุมสภาฯ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น
อ่านข่าว : บิ๊กป้อม ควันออกหู โดนถามเรื่องโหวตนายกฯ ตบหัวนักข่าวสาว 1 ที คนข้าง ๆ รีบห้าม
อ่านข่าว : องค์กรสื่อแถลงเหตุ ประวิตร ผลักหัวนักข่าว ชี้คุกคามสื่อ ล่าสุดแจงแล้ว... ไม่ได้ตั้งใจ !
ความคืบหน้าเรื่องนี้ วันที่ 17 สิงหาคม 2567 รายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ช่อง 3 รายงานว่า สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์การใช้อำนาจคุกคามสื่อมวลชนขณะปฎิบัติหน้าที่รายงานข่าว โดยข้อความในแถลงการณ์ ระบุว่า
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คุกคามสื่อมวลชนในระหว่างการปฎิบัติงานสัมภาษณ์ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ภายหลังรับทราบมติการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วาระการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567
องค์กรสื่อมวลชนต้นสังกัดและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้ออกแถลงการณ์ปกป้องการทำหน้าที่ตามหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน และแสดงความกังวลต่อพฤติกรรมดังกล่าวไปแล้วนั้น ซึ่งภายหลังได้รับทราบข่าวสารการดำเนินการติดต่อชี้แจงจากทีมงานหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการพูดคุยหยอกล้อกันเล่นด้วยความคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานกับผู้สื่อข่าวสายความมั่นคงรายดังกล่าวนั้น
ภาพจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ติดตามตรวจสอบด้วยความห่วงใยแล้วเห็นว่า จากคลิปภาพเหตุการณ์ยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า เป็นการแสดงอาการโกรธเกรี้ยวในลักษณะคุกคามผู้สื่อข่าวที่ตั้งคำถามสัมภาษณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินกว่าปกติวิสัยของการพูดคุยหยอกล้อกันด้วยความคุ้นเคยตามที่ทีมงานของ พล.อ. ประวิตร กล่าวอ้าง และพยายามให้เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ยุติลง ซึ่งหากสังคมปล่อยผ่านเรื่องราวดังกล่าวไป เฉกเช่นที่เคยมีการให้สัมภาษณ์ดูแคลนสื่อมวลชนว่าจบมาจากสถาบันการศึกษาใด เพื่อส่งผลต่อการด้อยค่าการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น
ภาพจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จะดำเนินการยื่นตรวจสอบด้านจริยธรรมว่า การกระทำดังกล่าวอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและกรรมาธิการ พ.ศ.2563 อย่างน้อย 2 ข้อได้แก่
ประมวลจริยธรรมฯข้อ 12 ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ และข้อ 13 ต้องไม่แสดงอาการข่มขู่ อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำลังประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีของการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของปวงชนชาวไทย และเป็นการปกป้องการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อไป
ขณะที่ พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. บัญชีรายชื่อ
และโฆษกพรรคประชาชน อดีตโฆษกพรรคก้าวไกล ได้ออกมาโพสต์ประณามถึงพฤติกรรมของ
พล.อ. ประวิตร โดยเขียนข้อความระบุว่า
"ผมขอประณามการกระทำของคุณ ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส. พรรคพลังประชารัฐ ที่ได้กระทำความรุนแรงต่อสื่อมวลชน นอกจากจะเป็นการทำร้ายร่างกายคนอื่นซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นโดยใครกับใครอยู่แล้ว แต่การกระทำนี้ยังเป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อมวลชนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของประชาธิปไตย
เพราะเป็นการทำให้นักข่าวเกิดความกังวลต่อความปลอดภัยของตนเอง หากถามคำถามแทนพี่น้องประชาชนที่ไม่ถูกใจนักการเมืองผู้ถูกสัมภาษณ์ ผมได้รับแจ้งว่า สส. Pukkamon Nunarnan – ภคมน ลิซ่า หนุนอนันต์ (พรรคประชาชน) จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การหารือใน กมธ. พัฒนาการเมืองฯ วันพฤหัสนี้ ซึ่งจะมีวาระเรื่องสื่อมวลชนเข้าสู่การพิจารณาพอดี"
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
ภาพจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
จากกรณี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แสดงพฤติกรรมข่มขู่ และใช้ความรุนแรงกับสื่อมวลชน ด้วยการตบศีรษะนักข่าวสาว หลังตั้งคำถามกรณี แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้รับการโหวตจากที่ประชุมสภาฯ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น
อ่านข่าว : บิ๊กป้อม ควันออกหู โดนถามเรื่องโหวตนายกฯ ตบหัวนักข่าวสาว 1 ที คนข้าง ๆ รีบห้าม
อ่านข่าว : องค์กรสื่อแถลงเหตุ ประวิตร ผลักหัวนักข่าว ชี้คุกคามสื่อ ล่าสุดแจงแล้ว... ไม่ได้ตั้งใจ !
ความคืบหน้าเรื่องนี้ วันที่ 17 สิงหาคม 2567 รายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ช่อง 3 รายงานว่า สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์การใช้อำนาจคุกคามสื่อมวลชนขณะปฎิบัติหน้าที่รายงานข่าว โดยข้อความในแถลงการณ์ ระบุว่า
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คุกคามสื่อมวลชนในระหว่างการปฎิบัติงานสัมภาษณ์ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ภายหลังรับทราบมติการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วาระการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567
องค์กรสื่อมวลชนต้นสังกัดและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้ออกแถลงการณ์ปกป้องการทำหน้าที่ตามหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน และแสดงความกังวลต่อพฤติกรรมดังกล่าวไปแล้วนั้น ซึ่งภายหลังได้รับทราบข่าวสารการดำเนินการติดต่อชี้แจงจากทีมงานหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการพูดคุยหยอกล้อกันเล่นด้วยความคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานกับผู้สื่อข่าวสายความมั่นคงรายดังกล่าวนั้น
ภาพจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ติดตามตรวจสอบด้วยความห่วงใยแล้วเห็นว่า จากคลิปภาพเหตุการณ์ยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า เป็นการแสดงอาการโกรธเกรี้ยวในลักษณะคุกคามผู้สื่อข่าวที่ตั้งคำถามสัมภาษณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินกว่าปกติวิสัยของการพูดคุยหยอกล้อกันด้วยความคุ้นเคยตามที่ทีมงานของ พล.อ. ประวิตร กล่าวอ้าง และพยายามให้เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ยุติลง ซึ่งหากสังคมปล่อยผ่านเรื่องราวดังกล่าวไป เฉกเช่นที่เคยมีการให้สัมภาษณ์ดูแคลนสื่อมวลชนว่าจบมาจากสถาบันการศึกษาใด เพื่อส่งผลต่อการด้อยค่าการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น
ภาพจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จะดำเนินการยื่นตรวจสอบด้านจริยธรรมว่า การกระทำดังกล่าวอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและกรรมาธิการ พ.ศ.2563 อย่างน้อย 2 ข้อได้แก่
ประมวลจริยธรรมฯข้อ 12 ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ และข้อ 13 ต้องไม่แสดงอาการข่มขู่ อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำลังประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีของการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของปวงชนชาวไทย และเป็นการปกป้องการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อไป
"ผมขอประณามการกระทำของคุณ ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส. พรรคพลังประชารัฐ ที่ได้กระทำความรุนแรงต่อสื่อมวลชน นอกจากจะเป็นการทำร้ายร่างกายคนอื่นซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นโดยใครกับใครอยู่แล้ว แต่การกระทำนี้ยังเป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อมวลชนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของประชาธิปไตย
เพราะเป็นการทำให้นักข่าวเกิดความกังวลต่อความปลอดภัยของตนเอง หากถามคำถามแทนพี่น้องประชาชนที่ไม่ถูกใจนักการเมืองผู้ถูกสัมภาษณ์ ผมได้รับแจ้งว่า สส. Pukkamon Nunarnan – ภคมน ลิซ่า หนุนอนันต์ (พรรคประชาชน) จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การหารือใน กมธ. พัฒนาการเมืองฯ วันพฤหัสนี้ ซึ่งจะมีวาระเรื่องสื่อมวลชนเข้าสู่การพิจารณาพอดี"
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์