x close

พายุงวงช้าง ไม่อันตราย

พายุงวงช้าง



         เมื่อวันที่ 10 กันยายน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สัมภาษณ์กรณีเกิดปรากฏการณ์พายุงวงช้าง ที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เป็นปรากฏการณ์พญานาคเล่นน้ำ ปรากฏการณ์ดังกล่าวอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ได้ว่า เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศ ที่กระจายอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นหย่อมๆ และอุณหภูมิที่แตกต่างกันเหล่านั้น ถูกดูดเข้าไปอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมากเป็นพิเศษ เกิดลักษณะเหมือนพายุหมุน หรือพายุทอร์นาโดขนาดเล็ก แต่เห็นได้ชัด หากเกิดในน้ำจะเรียกพญานาคเล่นน้ำ แต่ถ้าเกิดบนบก จะเรียกพายุงวงช้าง มีขนาด 1% ของพายุทอร์นาโด และไม่เกี่ยวกับการเกิดสตอร์มเซิร์จ หรือคลื่นพายุหมุน โดยปรากฏการณ์นี้พยากรณ์ไม่ได้ แต่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากๆ มีโอกาสจะเห็นได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดในน้ำ โดยเฉพาะในทะเลจะเห็นบ่อยกว่าในน้ำจืด

         สำหรับประเทศไทยเคยเกิดปรากฏการณ์นี้ แต่ไม่บ่อยนัก ทั้งนี้ ปรากฏการณ์พญานาคเล่นน้ำที่เกิดในบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 9 กันยายน นั้น มีจุด ศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร เทียบกับทอร์นาโดแล้ว ถือว่าเล็กมาก เพราะทอร์นาโดจะมีขนาดตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไป เมื่อเคลื่อนที่ไปที่ใดก็จะทำลายสิ่งกีดขวางหมด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่นครสวรรค์นั้น ไม่เป็นอันตราย ดูสวยๆ ได้ เก็บรูปไว้สอนนักเรียนนักศึกษาได้



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พายุงวงช้าง ไม่อันตราย อัปเดตล่าสุด 12 กันยายน 2551 เวลา 11:34:03 39,024 อ่าน
TOP