x close

จีดีพีไตรมาสแรก -7.1% สัญญาณเศรษฐกิจหดตัวรุนแรง

อำพน กิตติอำพน



สศช. เผย จีดีพีไตรมาสแรก"-7.1%" สัญญาณ "ศก.หดตัว"ชัดเจนภาวะทดถอยรุนแรง (มติชนออนไลน์)

          นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปี 2552 รวมถึงคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ ที่สำนักงาน สศช. (25 พฤษภาคม)

          นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตัวเลขจีดีพี ไตรมาสแรกของปี 2552 อยู่ที่ -7.1% เป็นอัตราหดตัวติดลบ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันของปี 2551 และเป็นการติดลบสองไตรมาสต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ -4.2 % คาดว่าจีดีพี ทั้งปี 2552 จะอยู่ที่ ติดลบ 3.5% ติดลบ 2.5% แต่จุดที่เป็นไปได้มากที่สุดน่าจะอยู่ที่ -3% ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ติดลบ 1-0% หลังจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยที่รุนแรงมากขึ้น

          ผลจากการที่เศรษฐกิจหดตัว สองไตรมาสติดต่อกันชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวอย่างชัดเจน จากการพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แม้ว่าภาคการเกษตรยังเป็นตัวค้ำจุนอยู่ และช่วยไม่ให้เศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัวมากกว่านี้ และหากเปรียบเทียบตัวเลขจากปีที่แล้วพบว่ายังมีการขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในส่วนปัจจัยนอกภาคการเกษตรยังได้รับผลกระทบหนักอยู่ โดยเฉพาะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งล่าสุด ในเดือนเมษายนองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลงจากที่คาดไว้ เมื่อเดือนมกราคมว่า จะขยายตัว 5.0% มาเป็น 1.3% ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยที่รุนแรงมากขึ้น 

          ขณะที่ประเทศที่เกี่ยวข้องกับไทยรวมถึงประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็อยู่ในอัตราหดตัวเช่นกัน โดยสหรัฐ อยู่ที่ -2.6% ยุโรปอยู่ที่ -4.6% ญี่ปุ่น -9.7% ไต้หวัน -10.2% ฮ่องกง -7.8% และสิงคโปร์ อยู่ที่ -10.1% ซึ่งในส่วนของประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่พึ่งพาการส่งออกทั่วโลก ต่างได้รับผลกระทบติดลบประมาณ 20-25%

          ทั้งนี้ เมื่อภาคการส่งออกได้รับผลจากเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตที่แท้จริง ส่งผลให้เกิดการลดกำลังการผลิตต่อเนื่องไปยังการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ติดลบถึง 2.6% ถือเป็นการติดลบครั้งแรก หลังในช่วงปี 2540 แม้ว่ารัฐบาลเร่งรัดการใช้จ่าย ทำให้ผลการใช้จ่ายไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นถึง 2.8% แต่ตัวเลขสำคัญหลายตัวไม่ว่าจะเป็นการส่งออกยังติดลบ 16.4% สินค้าบริการ ติดลบ 31.4% การลงทุน ติดลบ 15.8% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังติดลบต่อเนื่อง แต่ขณะนี้เริ่มอยู่ในอัตราคงที่ เนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ลดลง แต่ในส่วนของอัตราว่างงานยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้บริษัทเอกชนรักษาคนงานไว้ ส่งผลทำให้ตัวเลขยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

          อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ สศช.จะขอส่งสัญญาณ 3 เรื่องที่สำคัญคือ 

          1. เศรษฐกิจไทยที่อยู่ในช่วงถดถอยขณะนี้ การลงทุนใหม่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐ ภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองที่รัฐบาลเตรียมพร้อมไว้แล้วจะต้องเกิดขึ้นให้ได้ หากไม่สามารถเริ่มต้นได้ภายในเดือนกันยายนหรือตุลาคมปีนี้ โอกาสที่จะหวังให้เอกชนเริ่มลงทุน คงเป็นไปได้ลำบาก สถาบันการเงินจะไม่มั่นใจและไม่ปล่อยสินเชื่อ หากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองเกิดความล่าช้าไม่เดินหน้า จะมีผลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในอนาคต

          2. ต้องระมัดระวังสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ว่าเป็นการฟื้นตัวที่แท้จริง หรือเป็นเพียงแค่การปรับกำลังการผลิต เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาจำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังเท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องจับตาดูเสถียรภาพของสถาบันการเงินต่างๆ ว่า มีการฟื้นตัวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ 

          3. ความผันผวนในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมัน และระมัดระวังการเคลื่อนย้ายเงินทุนด้วย

          ในสัญญาณที่ สศช.ส่งออกไปครั้งนี้ หัวใจสำคัญคงจะอยู่ที่เรื่องการลงทุน ที่ควรต้องเป็นไปตามกำหนดการเดิมล่าช้าไม่ได้ เพราะการลงทุนเอกชนขณะนี้ติดลบอยู่ หากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองไม่เดินหน้าเต็มตัว การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยจะมีปัญหาแน่นอน นอกจากนี้ ในช่วง 6-7 เดือนนับจากนี้ ประเทศไทยจะต้องไม่ประสบปัญหาความวุ่นวายเหมือนในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาด้วย หากเราสามารถช่วยกันดูแลปัจจัยภายในประเทศไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้นอีก ไม่ปล่อยให้มาซ้ำเติมเศรษฐกิจอีก และปล่อยให้กลไกทางเศรษฐกิจเดินหน้าไป ก็จะช่วยทำให้เศรษฐกิจเราฟื้นตัวกลับมาได้

The image “//image.kapook.com/images/w_02.gif” cannot be displayed, because it contains errors.  เศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2552 ถือเป็นจุดต่ำสุด ของปัญหาเศรษฐกิจหรือยัง

          หากปัจจัยภายในประเทศยังไม่สงบ ยังคงมีเหตุการณ์เช่นเดียวกับที่เกิดในช่วงเดือนเมษายนอีก ผมไม่กล้ายืนยัน แต่ ณ วันนี้เชื่อว่า หากเหตุการณ์ไม่สงบเหมือนในช่วงเดือนเมษายนไม่เกิดขึ้นอีก ไตรมาสหนึ่งคงถึงจุดต่ำสุดแล้ว และหากไม่มีความวุ่นวายอะไรเกิดขึ้นอีก ตัวเลขจีดีพีในช่วงไตรมาสสองอาจจะกลับดีขึ้น เพราะผลจากการกระตุ้นการบริโภค โดยใช้งบกลางปี 2552 วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท เริ่มมีผล และรัฐบาลสามารถลงทุนได้ ตามที่ตั้งเป้าไว้โดยเฉพาะโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองเดินหน้าไปได้ จีดีพีไตรมาส 3 ก็จะเริ่มกลับมาดีขึ้น และจะกลับมาเป็นบวกในช่วงไตรมาสที่สี่

The image “//image.kapook.com/images/w_02.gif” cannot be displayed, because it contains errors.  นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี "เป็นปัญหามาจากการเมืองด้วย"

          (-7.1%) เป็นไปตามที่รัฐบาลคาดหมาย เพราะอย่าลืมว่าในไตรมาสแรกตั้งแต่มกราคม-มีนาคม รัฐบาลเข้ามาทำงานจริงๆ ในช่วงต้นเดือนมกราคม สิ่งที่ทำได้ขณะนั้นก็ทำได้เพียงการล้างท่อและเตรียมที่จะใช้งบประมาณ 1 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในการสร้างกำลังซื้อในช่วงแรก ซึ่งเงินกว่าจะออกมาจริงๆ ประมาณต้นเดือนเมษายน เพราะฉะนั้นช่วงมกราคม-มีนาคม เป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เพราะเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากปัญหาทางการเมืองด้วย ว่ามันจะติดลบ ดังนั้นก็ต้องมารอดูอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่สองคือ เมษายน-มิถุนายน ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะเดือนเมษายน ยังคงมีปัญหาการเมืองอีก แต่มันคงจะดีขึ้นเพราะเงินงบประมาณบางส่วนได้เริ่มออกไปบ้างแล้ว

The image “//image.kapook.com/images/w_02.gif” cannot be displayed, because it contains errors.  จะทำอย่างไรให้ตัวเลขจีดีพีติดลบน้อยลง

          ต้องดูว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า พ.ร.ก.ที่จะใช้เงินงบประมาณช่วงที่หนึ่ง 4 แสนล้านบาท จะออกมาได้เร็วหรือไม่ ซึ่งเรามั่นใจว่าคงจะเร็ว ถ้าเป็นภายใน 1 เดือนคงไม่เป็นปัญหาอะไร ขณะนี้เราไม่ได้หยุดเดินงานแต่ได้เตรียมการไว้แล้ว ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในทางบวกเราก็เริ่มงานได้ทันที

The image “//image.kapook.com/images/w_02.gif” cannot be displayed, because it contains errors.  นายกรัฐมนตรีระบุ ในไตรมาส 4 จะพยายามให้ตัวเลขจีดีพีกลับมาเป็นบวก

          ผมไม่หนักใจ แต่ที่จะหนักใจจริงๆ คือเรื่องการเมืองว่าจะมีปัญหาทางการเมืองหรือไม่ แต่เรื่องเศรษฐกิจมีความมั่นใจพอสมควร ว่าจะสามารถสร้างงานได้เยอะ อย่างไรก็ตาม จะมีประเด็นปัญหาเศรษฐกิจจากนอกประเทศ ซึ่งขณะนี้แนวโน้มค่อนข้างจะนิ่งพอสมควร แต่เราก็ไม่มองว่ามันจะเลวร้ายไปกว่านี้ ถ้าภาวะเศรษฐกิจนอกประเทศอยู่ในภาวะที่นิ่งคงตัว คิดว่าเศรษฐกิจบ้านเราไปได้ เพราะเงินที่จะลงไปช่วยสร้างงานได้ถึง 2 ล้านตำแหน่ง เมื่อประชาชนมีงานทำก็มีรายได้และเกิดการจับจ่ายใช้สอยเศรษฐกิจก็เดินไปได้



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
จีดีพีไตรมาสแรก -7.1% สัญญาณเศรษฐกิจหดตัวรุนแรง อัปเดตล่าสุด 26 พฤษภาคม 2552 เวลา 10:21:29 3,602 อ่าน
TOP