x close

ภัยแล้ง วิกฤตชาติ ปฏิวัติข้าว แค่แก้ปัญหาปลายเหตุ

 

 

 

ภัยแล้ง
ภัยแล้ง

 

ภัยแล้ง

ภัยแล้ง



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก greenworld.or.th , วิกิพีเดีย , sirikitdam.egat.com , thaiwater.net  , vrk.egat.com

           ช่วงนี้เรามักได้ยินข่าวเรื่องภัยแล้งอยู่บ่อย ๆ เพราะแม้ย่างเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาก็มีไม่มากนัก และก่อนหน้านี้หลายคนบอกว่าเมืองไทยมีเขื่อนจำนวนมาก น่าจะสามารถบรรเทาภัยแล้งได้ แต่ความคิดและประเด็นนี้เป็นต้องตกไป เมื่อแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ ในปีนี้มีปริมาณน้ำเหลือน้อยมาก น้อยกว่าปีที่ผ่านมาถึง 8% และยังระบายออกไปใช้งานได้น้อย ส่งผลให้ผู้คนได้รับผลกระทบจำนวนมาก

           โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกร ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของคนไทย กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้เลื่อนการทำนาปีออกไปก่อน จนกว่าจะมีฝนตกชุก เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังต้องพิจารณาวางแผน เรื่องการจัดสรรน้ำที่จะใช้ทำนาปรังในปีต่อไปด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่เก็บกักได้ในแต่ละเขื่อน ส่งผลให้การเพาะปลูกไม่สามารถทำได้ หรือหากทำได้ก็ได้ผลผลิตที่ไม่ดีเท่าที่ควร

 

ข้าว



           ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงชาวนาไทยอย่างมาก และได้ทรงกำชับให้ช่วยเหลือชาวนาอย่างเต็มที่ โดย ดร.สุเมธ ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า รัฐบาลควรเร่งวางระบบการบริหารจัดการน้ำ โดยถอดบทเรียนจากแนวทางพระราชดำริซึ่งมีทั่วประเทศ รวมทั้งเร่งโครงการสร้างระบบชลประทานอย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง

           อย่างไรก็ตาม เพราะปัญหาภัยแล้ง ไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ จึงได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือทางกองบัญชาการกองทัพไทย ที่จะร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งมอบและรับคืนพื้นที่ป่าขอใช้ประโยชน์ของทางราชการทหารให้กับกรมป่าไม้ เพื่อนำไปฟื้นฟู และพัฒนาป่าต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ต่อไป

           ขณะที่ยังมีอีกหนึ่งความพยายามจาก ดร.วิลาส ซาโลกี หัวหน้าแผนกระบบเกษตรและวิศวกรรม วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ที่ได้แนะนำระบบการปลูกข้าวน้ำน้อย หรือ SRI (System of Rice Intensification) ซึ่งเป็นเทคนิคปลูกข้าวรูปแบบใหม่ ที่ใช้ต้นกล้าน้อยลง ใช้น้ำน้อยลง แต่ให้ผลผลิตมากขึ้น เพื่อมาช่วยเหลือเกษตรกร อาชีพที่ได้รับผลกระทบต่อภัยแล้งมากที่สุด โดยเทคนิคการปลูกข้าวน้ำน้อย หรือ SRI นี้ เริ่มพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2526 ที่ประเทศมาดากัสกา ก่อนจะขยายไปใน 34 ประเทศทั่วโลก และในประเทศไทยได้เริ่มมีการพัฒนาการปลูกข้าวน้ำน้อยที่จังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว

 

ข้าว

 



           สำหรับการปลูกข้าวรูปแบบเดิมนั้น ชาวนาจะปล่อยให้ต้นกล้าอยู่ในแปลงจนมีอายุ 20-30 วัน แล้วจึงย้ายไปปักดำในนาข้าว แต่เทคนิคการปลูกข้าวน้ำน้อย จะย้ายกล้าอ่อนตั้งแต่อายุเพียง 8-12 วันเท่านั้น และปลูกข้าวแบบถี่ขึ้นโดยปักดำกอละ 1 ต้น เว้นระยะห่าง 10 นิ้ว ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ข้าวแตกหน่อมากที่สุดถึง 40 ต้น ขณะที่เทคนิคแบบเดิมจะให้ข้าวแตกกอเพียง 25 ต้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่ต้องคอยผันน้ำเข้านาให้ต้นข้าวแช่ในน้ำด้วย เพราะการปลูกข้าวแบบใหม่จะปลูกไว้จนน้ำแห้งดินแตกระแหง จึงค่อยผันน้ำเข้าในนาข้าวอีกครั้ง เท่ากับว่า การทำนาแบบเดิมที่ใช้น้ำถึง 3-5 พันลิตรต่อข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม แต่การทำนารูปแบบใหม่ใช้น้ำน้อยกว่าถึง 2 ใน 3 และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวอีกด้วย เพราะจากปกติที่มักจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 25-40 กิโลกรัมต่อไร่ ก็เหลือเพียง 200 กรัมต่อไร่ แถมยังได้ผลผลิตมากขึ้น 

           อย่างไรก็ตาม จากที่มีการระบุไว้ในงานวิจัยว่า การปลูกข้าวน้ำน้อย สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ถึง 2 เท่า แต่ตัวเลขผลผลิตอาจมีคลาดเคลื่อนบ้าง ตามสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ พันธุ์ข้าว ปุ๋ย และปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน

 

แห้งแล้ง



           แน่นอนว่า เทคนิคการปลูกข้าวแบบน้ำน้อยนั้น เป็นหนึ่งในคำตอบที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้ แต่ทว่า ทางออกของปัญหาที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง คงไม่ใช่การเปลี่ยนเทคนิคการปลูกข้าวเพื่อเกษตรกรที่เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ หรือสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ๆ อีกสัก 100 เขื่อน ก็คงไม่ได้ช่วยให้พวกเรามีน้ำใช้มากขึ้นแต่อย่างใด อีกทั้งปัญหาภัยแล้งก็เป็นปัญหาที่พวกเราล้วนร่วมกันก่อขึ้น ดังนั้นทุกคนควรรับผิดชอบร่วมกัน และทางแก้ปัญหาภัยแล้งที่ดีที่สุด ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จากความร่วมมือร่วมใจของทุก ๆ คน ที่จะหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างจิตสำนึกช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ เลิกก่อปัญหาให้กับสภาพแวดล้อม รวมทั้งยังต้องช่วยกันพัฒนาต้นน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อรักษาความสิ่งแวดล้อมให้ดีที่สุด

           ... ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ "ภัยแล้ง" ก็ยังคงเป็นผลตอบแทนที่ธรรมชาติส่งกลับคืนมา ให้มนุษย์ผู้รุกราน ต้องคอยแก้ไขปัญหานี้ต่อไปอย่างไม่รู้จบ ...

 

ปลูกต้นไม้

 

 

 

แปลเนื้อหาคลิปโดย surisa srikunsab @b_surisa

 
กราฟเปรียบเทียบระดับปริมาณน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ.2551-2553

เขื่อนภูมิพล

เขื่อนภูมิพล

เขื่อนภูมิพล

เขื่อนภูมิพล

เปรียบเทียบระดับน้ำของเขื่อนภูมิพล


เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อนสิริกิติ์



เปรียบเทียบระดับน้ำของเขื่อนสิริกิติ์


เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนศรีนครินทร์



เปรียบเทียบระดับน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์


เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล



เปรียบเทียบระดับน้ำของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล


เขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือ เขื่อนเขาแหลม

เขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือ เขื่อนเขาแหลม

เขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือ เขื่อนเขาแหลม



เปรียบเทียบระดับน้ำของเขื่อนวชิราลงกรณ์


เขื่อนรัชชประภา

เขื่อนรัชชประภา

เขื่อนรัชชประภา



เปรียบเทียบระดับน้ำของเขื่อนรัชชประภา


เขื่อนบางลาง

เขื่อนบางลาง

เขื่อนบางลาง




เปรียบเทียบระดับน้ำของเขื่อนบางลาง

 

 

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
  
- greenworld.or.th
lanpanya.com 

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ภัยแล้ง วิกฤตชาติ ปฏิวัติข้าว แค่แก้ปัญหาปลายเหตุ อัปเดตล่าสุด 1 กรกฎาคม 2553 เวลา 12:15:15 24,473 อ่าน
TOP