x close

ออกหมายจับ ทักษิณ คดีเบี้ยวยื่นทรัพย์สิน


 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

 



ทนายทักษิณไม่ได้รับแจ้ง อุทธรณ์ยึดทรัพย์ (ไอเอ็นเอ็น)


          วันนี้ (29 ก.ค.) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา นัดพิจารณาคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาฯ  วินิจฉัยกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องคำพิพากษาคดีซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกและคดียึดทรัพย์จำนวน 46,373 ล้านบาทเศษ ตกเป็นของแผ่นดิน ฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตนเองหรือคู่สมรส หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ม.263 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ( ป.ป.ช. ) พ.ศ.2542 ม.119

          ทั้งนี้ทางทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เดินทางมาศาลแต่อย่างใด คงมีเพียงตัวแทน ป.ป.ช. มาศาล คณะผู้พิพากษา พิจารณาแล้วเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้คัดค้านได้รับหมายแล้วไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พฤติการณ์เชื่อว่าหลบหนี จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ

          อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายกิตติพร อรุณรัตน์ หนึ่งในทีมทนายความครอบครัวชินวัตร กล่าวถึงการพิจารณาอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว รวม 5 คน 46,373 ล้านบาทเศษ ว่า ตามที่ปรากฎ เป็นข่าวที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา นัดลงมติว่าจะรับหรือไม่รับอุทธรณ์ในวันที่ 11 ส.ค.นี้ ทีมทนายความยังไม่ได้ รับแจ้งใดๆ จากศาล รวมทั้ง ที่ผ่านมาทางองค์คณะผู้พิพากษา 5 คน พิจารณาอุทธรณ์ ยังไม่มีคำสั่งแจ้งที่ จะเรียกพยานใดมาไต่สวนเพิ่มเติม ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว ยื่นอุทธรณ์แต่อย่างใด ขณะนี้จึงต้องรอฟังคำสั่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพียงอย่างเดียวหากจะมีคำสั่ง ในวันที่ 11 ส.ค.นี้

          สำหรับขั้นตอน การลงมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งขณะนี้มีผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโสใน ศาลฎีกา รวม 142 คน ว่า จะพิจารณารับอุทธรณ์คดีหรือไม่นั้น รายงานข่าวศาลฎีกาแจ้งว่า จะถือเอาเสียงส่วนใหญ่ เป็นมติเพื่อมีคำสั่งออกมา ส่วนการลงคะแนนของผู้พิพากษา ในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่ได้มีข้อกำหนดให้ต้องลงคะแนนลับ เหมือนการลงมติเลือกผู้พิพากษา เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี ของศาลฎีกา ดังนั้น การลงมติจึงจะเป็นไปตามขั้นตอนปฏิบัติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่จะให้ ผู้พิพากษาแต่ละคน ลงคะแนนผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แต่หากบัตรที่จะใช้มีข้อขัดข้อง จึงจะใช้วิธีให้ ผู้พิพากษายกมือโหวตคะแนนเสียง

ทนายทักษิณไม่ได้รับแจ้ง อุทธรณ์ยึดทรัพย์ (ไอเอ็นเอ็น)
          วันนี้ (29 ก.ค.) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา นัดพิจารณาคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาฯ  วินิจฉัยกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องคำพิพากษาคดีซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกและคดียึดทรัพย์จำนวน 46,373 ล้านบาทเศษ ตกเป็นของแผ่นดิน ฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตนเองหรือคู่สมรส หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ม.263 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ( ป.ป.ช. ) พ.ศ.2542 ม.119                    อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายกิตติพร อรุณรัตน์ หนึ่งในทีมทนายความครอบครัวชินวัตร กล่าวถึงการพิจารณาอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว รวม 5 คน 46,373 ล้านบาทเศษ ว่า         




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ออกหมายจับ ทักษิณ คดีเบี้ยวยื่นทรัพย์สิน อัปเดตล่าสุด 29 กรกฎาคม 2553 เวลา 16:48:01 6,779 อ่าน
TOP