x close

อีก 10 ปี กรุงเทพฯ จะจมน้ำจริงหรือ...?



กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ

กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ

เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดยกระปุกดอทคอม

          อีก 10 ปี กรุงเทพฯ จะจมน้ำจริงหรือ...? ยังคงเป็นข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คน ซึ่งนับวันยิ่งมีการพูดถึงและเป็นประเด็นที่น่าวิตกกันมากขึ้น งานนี้คลื่นข่าว 101 R.R.ONE (Radio Report One) ได้ร่วมมือกับ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา และไทยประกันชีวิต จัดสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ ณ อาคารรัฐสภา 2 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 21 เมืองชายฝั่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีประชากรสูงถึง 8 ล้านคน ภายในปี 2558 และมีความเปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม จากผลวิจัยของสถาบันเวิลด์วอทช์

          โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วนมาร่วมสัมมนา อาทิ คุณสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และคุณสุรจิต ชิรเวทย์ จากคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา, ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ดร.สมิทธ ธรรมสโรช คณะกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร, คุณศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน รวมถึงตัวแทนภาคประชาชนผู้ประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่     

          อย่างไรก็ตาม จากการสัมมนาครั้งนี้ ทั้งนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่า กรุงเทพฯ มีโอกาสที่จะเป็น "เมืองใต้บาดาล" แน่นอน เพราะมีจุดอ่อนหลายด้าน ทั้งสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ลาด หากระบายน้ำไม่ทันจะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ง่าย และหากปริมาณน้ำรวมกับน้ำเหนือไหลหลากก็จะทำให้น้ำท่วมสองฝั่งแม่น้ำ นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังต้องเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลหนุน แผ่นดินทรุด และเส้นทางระบายน้ำตามธรรมชาติถูดกีดขวางจากการสร้างถนน หรือมีท่อระบายน้ำไม่เพียงพอ จนเป็นสาเหตุให้คนกรุงเทพฯ ใช้เรือแทนรถก็เป็นได้

กรุงเทพนครใต้น้ำ

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

          ทั้งนี้ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวว่า จากการติดตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพกายภาพในกรุงเทพฯ การเก็บข้อมูลปริมาณน้ำและสร้างแบบจำลองคาดการณ์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ปัจจัยที่จะทำให้กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วม มีข้อมูลที่บ่งชี้ ได้แก่ สถิติปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ ซึ่งเดิมจะมีฝนตกหนัก 200 มิลลิเมตรในรอบ 10 ปี แต่พบว่าในปัจจุบันฝนตกหนัก 200 มิลลิเมตร พบได้ในรอบ 3 - 4 ปี ในขณะที่ปริมาณน้ำเหนือจากเขื่อนเจ้าพระยาที่ระดับ 4,000  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็พบได้ทุก ๆ 5 ปี จะเห็นได้ว่ามีความถี่เพิ่มขึ้น

          อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ทำให้กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงในการถูกน้ำท่วมมี 5 อย่าง คือ

          1.ฝนตกหนัก น้ำเหนือหนุนมากขึ้น

          2.ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

          3.แผ่นดินทรุดตัว

          4.ผังเมืองแออัด

          5.ปัญหาด้านการบริหารจัดการ

           ส่วนวิธีการป้องกันน้ำท่วมหลัก ๆ มีอยู่ 5 ประเภท คือ

          1.การสร้างเขื่อน

          2.สร้างกำแพงริมน้ำ

          3.ขยายทางน้ำหรือการขุดลอกทางน้ำให้กว้างขึ้น

          4.การหาที่พักน้ำ หรือแก้มลิง

          5.การสร้างทางผันน้ำ

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

          ทางด้าน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช คณะกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ตนยังมีความเชื่อว่ากรุงเทพฯ จะมีน้ำท่วมขังในอนาคต ประชากรที่อยู่อาศัยกว่า 10 ล้านคนจะอยู่กันอย่างลำบาก ทำให้เศรษฐกิจเสียหาย โบราณสถานต่าง ๆ พังทลาย รวมไปถึงงบประมาณที่ต้องเสียเปล่าจากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน อาคารรัฐสภาที่เกียกกาย และสนามบินสุวรรณภูมิ

ดร.ศุภชัย ตันติคมน์

ดร.ศุภชัย ตันติคมน์

          ขณะที่ ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่หลายฝ่ายเป็นกังวล ทั้งนี้ สาเหตุที่น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานคร มีอยู่ 3 ประการสำคัญ คือ

          1.น้ำเหนือที่ไหลมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา

          2.น้ำทะเลหนุนเข้ามาทางปากอ่าวและปากคลองต่าง ๆ

          3.ฝนที่ตกลงมาในพื้นที่

          สำหรับการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ทางการได้มีการศึกษามาตั้งแต่ปี 2526 โดยมีการจ้างนักวิชาการต่าง ๆ ซึ่งมีการเสนอความคิดว่าควรทำให้เป็นพื้นที่ปิดล้อม โดยปิดล้อมทางด้านเหนือและภาคตะวันออก รวมทั้งการปิดล้อมประตูระบายน้ำเมื่อน้ำหนุน และปิดล้อมน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนฝั่งตะวันตกจะทำให้มีพื้นที่ปิดล้อมย่อย ๆ

          "กรุงเทพมหานครได้มีการออกแบบเครื่องระบายน้ำไว้แล้ว โดยได้ริเริ่มสร้างระบบอุโมงค์ระบายน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไว้ และจะใช้ระบบนี้แก้ปัญหาจุดอ่อนที่ทำให้เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ต่อไป" ดร.ศุภชัย กล่าว

          อย่างไรก็ตาม กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครใต้น้ำหรือไม่นั้น ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาหาคำตอบกันต่อไปนะคะ หากมีความคืบหน้าอย่างไร กระปุกดอทคอมไม่พลาดที่จะนำมาบอกต่อแน่นอนค่ะ

          ขอเชิญ ปิดไฟ ปิดหน้าจอ แล้วออกมาพบปะ แลกเปลี่ยน ลดโลกร้อนจะทำอย่างไรได้บ้าง ในงาน 10:10 Global Work Party ในวันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคมนี้ ที่สวนรถไฟกันนะคะ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่เลยค่ะ 






คลิปงานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ


ภาพบรรยากาศในงานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ


กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ

กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ

กรุงเทพนครใต้น้ำ

คุณศรีสุวรรณ จรรยา

กรุงเทพนครใต้น้ำ

คุณสุรจิต ชิรเวทย์

กรุงเทพนครใต้น้ำ

คุณสมร เข่งสมุทร

กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ

กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ

กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ

กรุงเทพนครใต้น้ำ

งานสัมมนา กรุงเทพนครใต้น้ำ









เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อีก 10 ปี กรุงเทพฯ จะจมน้ำจริงหรือ...? อัปเดตล่าสุด 7 ตุลาคม 2553 เวลา 15:59:19 5,826 อ่าน
TOP