x close

"สวนอ้อย" ชุมชนนักศึกษา "2 ม.ราชภัฏ" กลางกรุง


"สวนอ้อย" ชุมชนนักศึกษา "2 ม.ราชภัฏ" กลางกรุง


          แม้ว่า ม.ราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) และม.ราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) จะไม่ใช่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุด แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยทั้งสอง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน นักศึกษาของ 2 มหาวิทยาลัย ยังไปกระจุกตัวกันอยู่ที่ "สวนอ้อย" ทำให้บริเวณดังกล่าว เป็นชุมชนนักศึกษาที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ

          ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) มีอยู่ 40 แห่งทั่วประเทศ เฉพาะในกรุงเทพ มี 5 แห่งด้วยกัน เรียกว่า ม.ราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ตำแหน่งแชมป์ในการเปิดรับนักศึกษาของปีการศึกษา 2549 ตกเป็นของม.ราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.) ที่รองรับไว้ถึง 6,000 คน มากเป็นอันดับ 1

          อันดับ 2 ตกเป็นของม.ราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) รับนักศึกษา 4,500 คน และม.ราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) รับนักศึกษา 4,500 คน สำหรับสวนดุสิต ลดลงจากที่เคยรับนักศึกษาประมาณ 6,800 คนในปีการศึกษา 2548 และเป็นอันดับ 1 ในปีนั้น

          ด้วยจำนวนนักศึกษาที่มากมายทำให้มหาวิทยาลัยต้องมีระบบการบริหารจัดการ ทั้งในด้านวิชาการและการดูแลนักศึกษานับว่าเป็นภาระหนักไม่น้อย เพราะ 2 มหาวิทยาลัย เมื่อรวมกัน จะมีนักศึกษาปี 1 ราว 9 พันคนเดินทางมาเรียนที่นี่ เมื่อนับรวมกับนักศึกษาชั้นปี 2-4 เท่ากับว่าพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นมาทันที

          ซอยสวนอ้อยที่เคยเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ปัจจุบันกลายเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญที่กลุ่มลูกค้าเป็นนักศึกษาที่มีทั้งหอพัก บ้านเช่า ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านค้าที่ให้บริการประเภทต่างๆ ไปจนถึงร้านขายสุราประเภทผับ ผศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดี ม.ราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่า ที่มหาวิทยาลัยจะมีนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปีประมาณ 40,000 คนหมุนเวียนเข้ามาเรียนในรั้วสวนดุสิต

          และจะมีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน ที่ต้องออกไปเรียนตามศูนย์การศึกษานอกสถาบัน ซึ่งในปีการศึกษานี้ มสด.ลดจำนวนการรับนักศึกษา เพื่อเป็นการจำกัดคุณภาพการจัดการศึกษาให้เหมาะกับสัดส่วนของอาจารย์และบุคลากรที่มีอยู่ 2,000 คน โดยขณะนี้มีอาจารย์สำหรับจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ คิดเป็นสัดส่วน นักศึกษา 25 คนต่ออาจารย์ 1 คน

          "การจัดตารางเรียนให้กับนักศึกษาจำนวนมากนั้น มีการจัดห้องเรียนไปตามปกติ แต่ที่ผ่านมาผมยอมรับว่าภายในมหาวิทยาลัยยังขาดอาคารเรียน จึงต้องออกไปเปิดศูนย์การศึกษานอกสถาบันเพื่อให้นักศึกษาเข้าไปเรียนก่อน ปัจจุบันก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จแล้ว จึงเรียกนักศึกษากลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัย"

          ผศ.ดร.ศิโรจน์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเมื่อนักศึกษากว่า 40,000 คนที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเรียนในสวนดุสิตนั้น มหาวิทยาลัยมีระบบการปลูกฝังให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบฐานข้อมูลอินเตอร์เน็ต และการเรียนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ นอกจากนี้ยังบันทึกเทปและให้นักศึกษาสืบค้นดูการบรรยายบทเรียนย้อนหลังได้ ซึ่งในปีการศึกษา 2549 มสด.แจกคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนอยู่แล้ว จึงสามารถนำมาใช้สืบค้นข้อมูลในบริเวณมหาวิทยาลัยได้ทุกที่ โดยไม่ต้องเข้าเรียนเฉพาะในห้องเรียนก็สามารถเรียนรู้ผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ด้วย

          ด้านผศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดี ม.ราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยยังมีห้องเรียนเพียงพอต่อนักศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานร้อยละ 70 จะจัดนักศึกษาเข้าเรียนเป็นกลุ่ม และอีกร้อยละ 30 ใช้การเรียนระบบ E-Learning เข้ามาเสริม เพื่อให้นักศึกษาใช้ฐานข้อมูลอินเตอร์เน็ตค้นคว้าด้วยตนเอง เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองทั้งหมดนั้นไม่เป็นผลดีกับนักศึกษา เพราะเด็กไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมการศึกษาด้วยตนเอง และเคยชินกับระบบที่อาจารย์ป้อนความรู้ให้มาตลอด

          "ดังนั้นเมื่อเด็กเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยก็ปรับตัวไม่ได้ เห็นว่าต้องค่อยๆ ปลูกฝังระบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้นักศึกษามากกว่า ทั้งนี้ มร.สส.มีนักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคสมทบที่เข้ามาเรียน 13,000 คน และมีอาจารย์ 400 คน บุคลากรสายสนับสนุนอีก 300 คน ซึ่งไม่มีปัญหาอาจารย์ขาดแคลนแต่อย่างใด"

          อย่างไรก็ตาม การใช้ชีวิตของนักศึกษาไม่ได้จบเพียงแค่การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเท่านั้น เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่จะอยู่อาศัย เที่ยว เล่น กิน นอน รอบๆ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตชุมชนสวนอ้อย ย่านสามเสน กรุงเทพฯ มีนักศึกษาใหม่ประมาณ 8,000 กว่าคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนี้ ขณะที่ยังไม่นับรวมนักศึกษารุ่นพี่ที่เรียนอยู่

          สวนอ้อยจึงกลายเป็นชุมชนของหนุ่มสาววัยเรียนขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของในกรุงเทพฯ แน่นอนว่าต้องมีปัญหาอื่นๆตามมา

          อาทิ การมั่วสุมในหอพัก การทะเลาะวิวาท ปัญหาเชิงชู้สาว ร้านจำหน่ายสุราและสถานบันเทิงที่ติดอันดับเป็นย่านมหาวิทยาลัยที่มีร้านเหล้ามากเป็น 1 ใน 10 ของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามตามมาว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีกลยุทธ์ในการดูแลนักศึกษาอย่างไร

          ผศ.ดร.ช่วงโชติ เผยว่าสวนสุนันทาไม่มีหอพักภายในมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาต้องออกไปเช่าหอพักภายนอกในชุมชนสวนอ้อยอาศัยอยู่แทน แต่สำนักกิจการนักศึกษามร.สส.ร่วมมือกับ มสด. เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.สามเสน และผู้ประกอบการหอพักในชุมชนสวนอ้อย ตรวจตราและแก้ปัญหาต่างๆ ของนักศึกษามาตลอด

          สำหรับปัญหาเชิงชู้สาวนั้นมีน้อยมาก เพราะหอพักส่วนใหญ่มีการแบ่งชาย

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
"สวนอ้อย" ชุมชนนักศึกษา "2 ม.ราชภัฏ" กลางกรุง โพสต์เมื่อ 25 มกราคม 2550 เวลา 00:00:00 14,097 อ่าน
TOP