ค้างคาวจมูกหลอดบาลา (Bala Tube-nosed Bat)
พญากระรอกบินลาว (Laotian Giant Flying Squirrel)
ค้างคาวท้องสีน้ำตาลอาจารย์จุฑามาส (Chutamas s Serotine)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ข่าวสด
นักวิจัย ม.อ. พบสัตว์พันธุ์ใหม่ 3 ชนิดบนโลก พบในประเทศไทย-ลาว ได้แก่ ค้างคาวและกระรอกบิน
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัยประจำพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผยว่า ตอนนี้ทีมนักวิจัยนานาชาติ ประกอบไปด้วยนักวิจัยจากประเทศไทย ลาว และสหราชอาณาจักร สามารถค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด
โดยชนิดแรก ได้แก่ ค้างคาวจมูกหลอดบาลา (Bala Tube-nosed Bat) ซึ่งเป็นค้างคาวกินแมลง พบได้ในป่าดิบชื้น ที่ราบต่ำบริเวณผืนป่าบาลา อ.แว้ง จ.นราธิวาส ทั้งนี้ ลักษณะของค้างขาวขนด้านหลังจะเป็นสีทาง ขนด้านท้องมีสีเทา และมีแง่งที่ฟันเขี้ยวบน ส่วนจมูกที่เป็นหลอดกำลังศึกษาในเรื่องประโยชน์
สัตว์ชนิดที่ 2 คือ ซากฟอสซิลค้างคาวชนิดใหม่ มีชีวิตอยู่ปลายยุคไพลสโตซีน (ประมาณ 16,350 ปีที่ผ่านมา) ซึ่งค้นพบภายในถ้ำหินปูน อ.สะเดา จ.สงขลา ดังนั้นจึงตั้งชื่อว่า ค้างคาวท้องสีน้ำตาลอาจารย์จุฑามาส (Chutamas s Serotine) เป็นเกียรติให้แก่ ร.ศ.ดร.จุฑามาส ศตสุข หัวหน้าทีมวิจัย ทั้งนี้ ค้างคาวตัวดังกล่าวเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว
สัตว์ชนิดที่ 3 ได้แก่ พญากระรอกบินลาว (Laotian Giant Flying Squirrel) เป็นพญากระรอกบินชนิดใหม่ของโลก พบที่บริเวณแขวงบอลิคำไซ ตอนกลางของประเทศลาว นับว่าเป็นกระรอกบินขนาดใหญ่ มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 107.5 เซนติเมตร หนัก 1.8 กิโลกรัม พบหาได้ค่อนข้างยากเพราะอยู่ในป่าลึก
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก