สื่อนอกรายงานเรื่องราวของ โค้ชเอก ยกเป็นฮีโร่ผู้ไร้สถานะพลเมือง ทำหน้าที่ดูแลเด็ก ๆ อย่างดีจนถึงที่สุด
นอกไปจากความสามารถในการดูแลเด็ก ๆ ของเขาแล้ว
จดหมายของโค้ชเอกที่หน่วยซีลเป็นผู้นำออกมาจากถ้ำ
เพื่อให้คำสัญญาว่าจะดูแลเด็ก ๆ ให้ดีที่สุด
พร้อมกราบขอโทษผู้ปกครองด้วยนั้น
ยังสะท้อนถึงความนอบน้อมและความรับผิดชอบของเขา
จนกลายเป็นอีกสิ่งที่ทำให้ชายคนนี้ได้ใจคนทั้งไทยและต่างชาติ
โดย
นายนพรัตน์ กันฑะวงษ์ กุนซือของทีมหมูป่าฯ เปิดเผยกับสำนักข่าวเอเอฟพี ว่า
การได้รับสัญชาติไทยนั้นคือความหวังที่ใหญ่ที่สุดของเด็ก ๆ
ที่ผ่านมาพวกเขามักจะมีปัญหาถ้าต้องออกไปแข่งนอกจังหวัด
การที่เด็กบางคนไม่มีสัญชาติไทยนั้น ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านการเดินทาง
อีกทั้งยังจะทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถกลายเป็นนักเตะอาชีพในอนาคตอีกด้วย
ในขณะที่โค้ชเอกนั้น เป็นชนชาติไทลื้อ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน และบวชเรียนตั้งแต่เล็ก ก่อนจะมาทำหน้าที่เป็นโค้ชทีมหมูป่าฯ เขาชอบทำสมาธิ ชอบเดินป่าและกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ อย่างไรก็ตามแม้โค้ชเอกจะได้รับการยกย่องว่าเป็นครูที่ใจดีและมีความอดทน ยินดีให้การช่วยเหลือแม้แต่เด็กที่มีทักษะน้อยที่สุด แต่น่าเศร้าที่การไร้สถานะเป็นพลเมืองของเขานั้น ได้กลายมาเป็นสิ่งกีดขวางทำให้เขาไม่สามารถขอรับใบอนุญาตการเป็นโค้ชได้
ภาพจาก Thai NavySEAL
เป็นเวลายาวนานหลายสัปดาห์ ที่กลุ่มเด็กนักฟุตบอลเยาวชนและโค้ชของทีมหมูป่า
อะคาเดมีแม่ส่าย ต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มืดมิดและชื้นแฉะ
ภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นเวลานานถึงสิบวันที่ทั้ง 13
คนต้องทนหิวไร้อาหารตกถึงท้อง
ก่อนที่นักดำน้ำจะหาตัวพวกเขาจนพบในสภาพที่แม้จะหิวโหยและผ่ายผอม
แต่ทุกคนก็ปลอดภัย อย่างไรก็ตามสถานการณ์คงจะแตกต่าอย่างแน่นอน
หากไม่มีโค้ชเอก ผู้เป็นศูนย์รวมใจของเด็ก ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว
โดยเมื่อวันที่
11 กรกฎาคม 2561 เว็บไซต์ชาแนลนิวส์เอเชีย ได้เผยรายงานยกให้ โค้ชเอก นายเอกพล จันทะวงษ์ วัย 25 ปี
เป็นฮีโร่คนสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้ พร้อมระบุว่า
โค้ชเอกเป็นผู้ใหญ่เพียงคนเดียวที่อยู่กับเด็ก ๆ
ตั้งแต่เข้าถ้ำหลวงไปในวันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา
เขาคนนี้คือผู้ที่คอยดูแลเด็ก ๆ ให้อยู่ในความสงบในถ้ำอันมืดมิด
และเขาก็ยังเป็นหนึ่งในคนกลุ่มสุดท้ายที่เดินทางออกจากถ้ำ ตามหลังเด็ก ๆ
ที่เขาคอยดูแลมาตลอด
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เอกพล จันทะวงษ์
อย่างไรก็ตาม
ชาแนลนิวส์เอเชีย ชี้ว่า แม้จะได้รับการยกย่องในฐานะฮีโร่
แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความจริงเรื่องที่ โค้ชเอก
ยังเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะเป็นพลเมืองไทย ไปได้
ซึ่งไม่ได้มีเพียงโค้ชเท่านั้น แม้แต่เด็ก ๆ ทีมหมูป่าอีก 3
คนที่ติดถ้ำอยู่ด้วยกัน ก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยเช่นเกัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เอกพล จันทะวงษ์
ในขณะที่โค้ชเอกนั้น เป็นชนชาติไทลื้อ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน และบวชเรียนตั้งแต่เล็ก ก่อนจะมาทำหน้าที่เป็นโค้ชทีมหมูป่าฯ เขาชอบทำสมาธิ ชอบเดินป่าและกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ อย่างไรก็ตามแม้โค้ชเอกจะได้รับการยกย่องว่าเป็นครูที่ใจดีและมีความอดทน ยินดีให้การช่วยเหลือแม้แต่เด็กที่มีทักษะน้อยที่สุด แต่น่าเศร้าที่การไร้สถานะเป็นพลเมืองของเขานั้น ได้กลายมาเป็นสิ่งกีดขวางทำให้เขาไม่สามารถขอรับใบอนุญาตการเป็นโค้ชได้