x close

เปิดไทม์ไลน์ เลือกตั้ง 2562 หลังกำหนดวันกาบัตร 24 มี.ค. - กกต. ห้ามหาเสียง แบบใดบ้าง

 

           เปิดไทม์ไลน์ เลือกตั้ง 2562 หลัง กกต. กำหนดวันเลือกตั้ง 24 มี.ค. เผยข้อห้าม-ไม่ห้าม สำหรับการหาเสียงของพรรคการเมืองต่าง ๆ



           จากกรณีที่ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ซึ่งทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้วันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นวันเลือกตั้ง โดยเตรียมส่งรัฐบาลประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

           ทั้งนี้นอกเหนือจากวันเลือกตั้งที่ถูกกำหนดแล้ว ไทม์ไลน์อื่น ๆ สำหรับการเลือกตั้ง 2562 ประกอบด้วย

           4-8 กุมภาพันธ์

           - กกต. เปิดรับสมัคร ส.ส. / เปิดชื่อบุคคลเป็นนายกฯ ในบัญชีพรรค

           28 มกราคม - 19 กุมภาพันธ์

           - วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าและเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

           15 กุมภาพันธ์

           - ประกาศรายชื่อผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ

           4-16 มีนาคม

           - เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

           17 มีนาคม

           - เลือกตั้งล่วงหน้า-นอกเขต

           24 มีนาคม

           - เลือกตั้งทั่วประเทศ

           9 พฤษภาคม

           - ประกาศรับรองผลเลือกตั้ง


          ขณะเดียวกัน กกต.  ประกาศระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยใจความสำคัญ คือ 

          สิ่งที่ทำได้

           - แจกเอกสารหรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งในเขตชุมชน สถานที่ต่าง ๆ หรืองานพิธีการต่าง ๆ โดยเอกสารหรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งสามารถระบุชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำของตัวผู้สมัคร ชื่อของพรรคการเมือง สัญลักษณ์ของพรรคการเมือง นโยบายของพรรคการเมือง คติพจน์ คำขวัญ หรือข้อมูลประวัติเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวผู้สมัครหรือพรรคการเมือง พร้อมระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันเดือนปีที่ผลิตไว้อย่างชัดเจนที่ด้านหน้าของเอกสารหรือวีดิทัศน์ด้วย

           - ใช้พาหนะต่าง ๆ ในการหาเสียงเลือกตั้ง หรือจัดสถานที่หรือเวทีเพื่อโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งได้ ทั้งนี้ ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองแจ้งรายละเอียดให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบภายใน 10 วันหลังจากปิดรับสมัครรับเลือกตั้งตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ

           - ใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อช่วยในการหาเสียงเลือกตั้ง

           - ปิดประกาศการโฆษณาหรือติดแผ่นป้ายการโฆษณาที่ยานพาหนะในการหาเสียงเลือกตั้ง สถานที่หรือเวทีเพื่อโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ซึ่งกรณีนี้ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ สถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสถานที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเฉพาะเรื่องขนาด จำนวน สถานที่ และบุคคลที่ปรากฏในประกาศหรือแผ่นป้ายประกาศการโฆษณาหรือแผ่นป้ายการโฆษณาตามวรรคหนึ่ง สามารถระบุชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำของตัวผู้สมัคร ชื่อของพรรคการเมือง สัญลักษณ์ของพรรคการเมือง นโยบายของพรรคการเมือง

           - คติพจน์ คำขวัญ หรือข้อมูลประวัติเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวผู้สมัครหรือพรรคการเมือง พร้อมระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันเดือนปีที่ผลิตไว้อย่างชัดเจนที่ด้านหน้าของประกาศ การโฆษณาหรือแผ่นป้ายการโฆษณาด้วย การปิดประกาศการโฆษณาหรือติดแผ่นป้ายการโฆษณาที่ยานพาหนะที่ใช้ในการรับจ้างทั่วไป สถานที่หรือเวทีเพื่อโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ให้ถือเป็นการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งและนับรวมค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นด้วย

           - หาเสียงเลือกตั้งผ่านจดหมาย สื่อสิ่งพิมพ์ ถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

           - หาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามหมวด 2 การหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ (ค่าใช้จ่ายเกิน 10,000 บาท นับรวมเป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร)

           - จัดทำเอกสารที่มีการกากบาทในช่องลงคะแนนเลือกตั้งให้กับตนเองเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเองได้ แต่การจัดทำเอกสารดังกล่าวต้องไม่มีขนาด ลักษณะหรือสีที่คล้ายกับบัตรเลือกตั้ง

           - จัดให้มีผู้ช่วยหาเสียง เพื่อช่วยเหลือในการหาเสียงเลือกตั้งตามหมวด 3 ผู้ช่วยหาเสียง

           - ในกรณีการจัดทำเอกสาร วีดิทัศน์ ประกาศการโฆษณาหรือแผ่นป้ายการโฆษณาเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง ตาม (1) หรือ (4) นอกจากภาพของผู้สมัครแล้ว สามารถนำภาพของผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคการเมือง และสมาชิกพรรคการเมือง ลงโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งได้เท่านั้น

             สิ่งที่ทำไม่ได้

           - ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง

           - ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งในลักษณะดังต่อไปนี้

           (1) ผู้ประกอบอาชีพหรือเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรายการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน สื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน เป็นต้น ใช้ความสามารถหรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองกรณีตาม (1) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้สมัครที่ใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะของตน หาเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดง
           (2) แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการวาง หรือโปรยในที่สาธารณะ
           (3) หาเสียงเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม
           (4) ช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้แก่ผู้ใดตามประเพณีต่าง ๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



 
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดไทม์ไลน์ เลือกตั้ง 2562 หลังกำหนดวันกาบัตร 24 มี.ค. - กกต. ห้ามหาเสียง แบบใดบ้าง อัปเดตล่าสุด 24 มกราคม 2562 เวลา 17:38:25 4,242 อ่าน
TOP