นักศึกษาโวยเสียงงานบวชดังกระหึ่มข้าง ม.ธรรมศาสตร์ ทำอ่านหนังสือสอบไม่รู้เรื่อง แถมเจอขู่นั่งสอบระวังหน้าวูบ จนแฮชแท็ก #SaveChiangrak พุ่งอันดับ 1 ทวิตเตอร์ ร่วมกันเรียกร้องความสงบสุขให้ถนนเชียงราก เส้นหลังและข้างมหาวิทยาลัย
ล่าสุด (6 มีนาคม 2562) รายงานข่าวระบุว่า เกิดประเด็นดราม่างานบวชขึ้นในโลกโซเชียล จนแฮชแท็ก #SaveChiangrak พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 โดยเรื่องราวสรุปของดราม่าดังกล่าว มีดังนี้
สืบเนื่องมาจากเฟซบุ๊ก Nantachai Yuennan ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่พักอยู่หอพักบริเวณถนนเชียงราก เส้นหลังและข้างมหาวิทยาลัย ได้โพสต์โวยงานบวชในชุมชนแห่งหนึ่งใกล้กับมหาวิทยาลัย ที่เปิดเพลงเสียงดังกระหึ่ม รบกวนนักศึกษาที่กำลังอ่านหนังสือเตรียมสอบกลางภาค
โดยได้โพสต์คลิปบันทึกเสียงเพลงจากงานบวช ที่ได้ยินชัดเจนทุกท่วงทำนอง พร้อมระบุว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม สถานการณ์เพลงลูกทุ่งส่งเสียงดังไปทั่วละแวกใกล้เคียง ม.ธรรมศาสตร์ จากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง ทราบมาว่าเป็นเพลงจากงานบวช จึงคาดว่า เพลงน่าจะดังไปถึงวันที่ 4 มีนาคม โดยเสียงที่ว่าดังมากขนาดได้ยินชัดเจนทุกถ้อยคำ และไม่มีทีท่าว่าเสียงเพลงจะเบาลงเลย ถึงขนาดที่เสียงดังกว่าเสียงที่เปิดในห้อง ดังตั้งแต่ 9 โมงเช้า และช่วงนี้ ม.ธรรมศาสตร์ มีสอบกลางภาคด้วย
"ส่วนตัวงงว่าการบวชลักษณะนี้ มันได้ผลบุญเท่าไรกันเชียว ญาติโยมสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความรำคาญในระดับ Noise Pollution ให้กับทุกคนในละแวกนั้น บุญกับบาปอันไหนจะมากกว่ากัน อยากขอร้องจริง ๆ บวชทั้งทีอย่าให้มีบาปเลย อย่ามาสร้างบาปกับคนรอบข้างเลยดีกว่า พลีส !"
ต่อมามีชาวเน็ตรวมถึงนักศึกษาคนอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ในโพสต์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีคนละแวกนั้นเข้ามาคอมเมนต์ถล่มนักศึกษา พร้อมโพสต์ข่มขู่ว่า "นั่งสอบอยู่ระวังหน้าวูบ" พร้อมกับอ้างว่างานบวชไม่ได้จัดบ่อย ๆ อีกทั้งเป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว ทีนักศึกษาเมาเสียงดังร้องเพลง คนในชุมชนยังไม่ว่าอะไรเลย เพราะเห็นว่าคงเรียนหนักอยากปลดปล่อย
อย่างไรก็ตาม นักศึกษาผู้ได้รับผลกระทบก็ระบุอีกว่า นอกจากเสียงจากงานบวชแล้ว ปกติถนนเชียงรากก็มักจะมีกลุ่มเด็กแว้นขี่รถจักรยานยนต์เสียงดังทุกคืน เคยแจ้งความไปแล้วแต่ไม่มีความคืบหน้า คาดว่าอาจเป็นพวกเดียวกันกับงานบวชที่ออกมาโพสต์ขู่ และขณะนี้ยังคงมีคอมเมนต์และโพสต์ของทั้ง 2 ฝ่าย สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มเด็กแว้น ช่วงกลางดึกมีการรวมตัวกันขี่รถวนเวียนในย่านนี้ ซึ่งอาจมีอาวุธหรือไม่ ไม่แน่ใจ ทำให้คุณภาพชีวิตนักศึกษารอบมหาวิทยาลัยไม่ปลอดภัยเลย
ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ภายใต้ #SaveChiangrak ยังคงพุ่งแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวเน็ตหลายคนก็จริงจังเรื่องเสียงดังจากงานบวช เสียงดังจากเด็กแว้น แต่หลายคนก็เข้ามาเสพความบันเทิงเนื่องจากพบศัพท์แปลกใหม่ที่ได้จากคอมเมนต์ของกลุ่มเด็กแว้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก Nantachai Yuennan, ทวิตเตอร์ #SaveChiangrak
ผ่านไปไม่นานสำหรับกรณีงานบวชวัดสิงห์ ที่เปิดเพลงเสียงดังรบกวนการสอบ GAT/PAT ของนักเรียน จึงมีการขอให้งดใช้เสียง จนนำไปสู่ความรุนแรงในโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ที่กลุ่มวัยรุ่นอันธพาลบุกเข้าไปทำร้ายร่างกาย รปภ. ครู และนักเรียน
ล่าสุด (6 มีนาคม 2562) รายงานข่าวระบุว่า เกิดประเด็นดราม่างานบวชขึ้นในโลกโซเชียล จนแฮชแท็ก #SaveChiangrak พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 โดยเรื่องราวสรุปของดราม่าดังกล่าว มีดังนี้
สืบเนื่องมาจากเฟซบุ๊ก Nantachai Yuennan ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่พักอยู่หอพักบริเวณถนนเชียงราก เส้นหลังและข้างมหาวิทยาลัย ได้โพสต์โวยงานบวชในชุมชนแห่งหนึ่งใกล้กับมหาวิทยาลัย ที่เปิดเพลงเสียงดังกระหึ่ม รบกวนนักศึกษาที่กำลังอ่านหนังสือเตรียมสอบกลางภาค
"ส่วนตัวงงว่าการบวชลักษณะนี้ มันได้ผลบุญเท่าไรกันเชียว ญาติโยมสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความรำคาญในระดับ Noise Pollution ให้กับทุกคนในละแวกนั้น บุญกับบาปอันไหนจะมากกว่ากัน อยากขอร้องจริง ๆ บวชทั้งทีอย่าให้มีบาปเลย อย่ามาสร้างบาปกับคนรอบข้างเลยดีกว่า พลีส !"
อย่างไรก็ตาม นักศึกษาผู้ได้รับผลกระทบก็ระบุอีกว่า นอกจากเสียงจากงานบวชแล้ว ปกติถนนเชียงรากก็มักจะมีกลุ่มเด็กแว้นขี่รถจักรยานยนต์เสียงดังทุกคืน เคยแจ้งความไปแล้วแต่ไม่มีความคืบหน้า คาดว่าอาจเป็นพวกเดียวกันกับงานบวชที่ออกมาโพสต์ขู่ และขณะนี้ยังคงมีคอมเมนต์และโพสต์ของทั้ง 2 ฝ่าย สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มเด็กแว้น ช่วงกลางดึกมีการรวมตัวกันขี่รถวนเวียนในย่านนี้ ซึ่งอาจมีอาวุธหรือไม่ ไม่แน่ใจ ทำให้คุณภาพชีวิตนักศึกษารอบมหาวิทยาลัยไม่ปลอดภัยเลย
ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ภายใต้ #SaveChiangrak ยังคงพุ่งแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวเน็ตหลายคนก็จริงจังเรื่องเสียงดังจากงานบวช เสียงดังจากเด็กแว้น แต่หลายคนก็เข้ามาเสพความบันเทิงเนื่องจากพบศัพท์แปลกใหม่ที่ได้จากคอมเมนต์ของกลุ่มเด็กแว้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก Nantachai Yuennan, ทวิตเตอร์ #SaveChiangrak