ปิยบุตร แสงกนกกุล ยันภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ย้ำเป็นสถาบันที่สำคัญกับระบอบประชาธิปไตย ส่วนสัมพันธ์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รู้จักกันในฐานะอาจารย์-ลูกศิษย์ ก่อนอีกฝ่ายจะลี้ภัย
กำลังเป็นชื่อที่ถูกพูดถึงในแวดวงการเมืองสำหรับนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ที่บางส่วนได้ขุดอดีตสมัยที่เป็นนักวิชาการ และเคยพูดเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมาย ม.112 ซึ่งเป็นข้อที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ จนทำให้เกิดขบวนการต่อต้านนายปิยบุตรเป็นการใหญ่ ซ้ำยังบอกว่า ความคิดของนายปิยบุตร มีความเป็นปฏิปักษ์สูง และอุ๊ หฤทัย ได้ออกมาต่อว่านายปิยบุตร ในเรื่องนี้อย่างเผ็ดร้อน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ รายการต่างคนต่างคิด ได้สัมภาษณ์ นายปิยบุตร ถึงหลายประเด็นที่สังคมบางส่วนคาใจ ว่า นายปิยบุตรคิดว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ ยังมีความจำเป็นหรือไม่ ซึ่ง นายปิยบุตร ยืนยันว่า สถาบันพระมหากษัตริย์มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตนสนับสนุนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ปัญหาคือ ที่ผ่านมามีการยึดอำนาจบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นข้อแตกต่างกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ที่จะออกกฎหมายใด ๆ ต้องทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ แต่กับคณะรัฐประหารนั้น สามารถประกาศใช้ ม.44 ได้ทันที
นายปิยบุตร กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการนำเสนอให้แก้ไข ม.112 ตนทำในสมัยเป็นนักวิชาการ บริบทตอนนั้นคือปี 2554-2555 มีการใช้กฎหมายนี้กลั่นแกล้งทางการเมืองจำนวนมาก ซึ่งการใช้ข้อกฎหมายเล่นงานผู้เห็นต่างเช่นนี้ เป็นการกระทบต่อพระเกียรติยศต่อพระมหากษัตริย์ จึงมองว่าจำเป็นต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับสากล แต่ในปัจจุบันการใช้กฎหมาย ม.112 ในสมัยของรัชกาลที่ 10 มีจำนวนลดลงอย่างมาก และไม่สามารถมีการฟ้องร้องกันมั่ว ๆ ได้เหมือนเมื่อก่อน เนื่องจากต้องมีอัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา ทำให้อัตราคดีลดลง บวกกับเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทำให้เมื่อเข้ามาเป็นนักการเมือง พรรคประกาศยืนยันแล้วว่า พรรคอนาคตใหม่จะไม่เอาประเด็นนี้มาพิจารณา
ส่วนมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายนี้ นายปิยบุตร ระบุว่า
ต้องมองว่าตัวบทของกฎหมายมาตรานี้ตัวโทษสูง
และจะเป็นการเปิดช่องให้มีการนำมาใช้กลั่นแกล้งกันได้หรือไม่
ซึ่งทั้งประเทศ ก็ไม่ใช่มีแค่ตนคนเดียวที่เห็นด้วย แต่ทั้งนายคณิต ณ นคร
อดีตอัยการสูงสุด หรือนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี
รวมทั้งชนชั้นนำฝั่งอนุรักษนิยมก็เห็นด้วยกับปัญหาในเรื่องนี้
ภาพจาก รายการต่างคนต่างคิด
ขณะที่บางส่วนตั้งคำถามถึงภาพที่ นายปิยบุตร ไปโผล่อยู่กับนักวิชาการที่หนีคดี ม.112 เช่น นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และท่านอื่น ๆ นายปิยบุตร แจงว่า หลาย ๆ ท่านนั้นตนรู้จักมาก่อน ทั้งเป็นอาจารย์ เป็นเพื่อน แต่หลังรัฐประหาร 2557 หลายคนต้องลี้ภัยออกไป ตนมองว่า กลุ่มคนเหล่านี้ถูกบังคับให้ออกนอกประเทศ และอาจจะไม่ได้กลับมาตายที่ไทยด้วยซ้ำ เมื่อตนมีโอกาสไปฝรั่งเศสแล้ว ถ้าตนรังเกียจ ไม่ยอมไปเจอเพราะกลัวจะเดือดร้อน แบบนี้ตนจะเป็นเพื่อนหรือเป็นมนุษย์ที่ดีได้อย่างไร มันคือหลักมนุษยธรรมปกติ ซึ่งการไปเจอไม่จำเป็นว่าต้องมีแนวคิดเดียวกันเสมอไป
นอกจากนี้ นายปิยบุตร
ยืนยันว่า ตนมีความจงรักภักดีกับพระมหากษัตริย์
เนื่องจากประเทศไทยเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมายาวนาน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2475
ซึ่งวิธีที่จะธำรงระบอบนี้ไว้ให้นานที่สุดคือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
และอย่านำสถาบันพระมหากษัตริย์มากลั่นแกล้งและใส่ร้ายป้ายสีกัน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ รายการต่างคนต่างคิด ได้สัมภาษณ์ นายปิยบุตร ถึงหลายประเด็นที่สังคมบางส่วนคาใจ ว่า นายปิยบุตรคิดว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ ยังมีความจำเป็นหรือไม่ ซึ่ง นายปิยบุตร ยืนยันว่า สถาบันพระมหากษัตริย์มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตนสนับสนุนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ปัญหาคือ ที่ผ่านมามีการยึดอำนาจบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นข้อแตกต่างกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ที่จะออกกฎหมายใด ๆ ต้องทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ แต่กับคณะรัฐประหารนั้น สามารถประกาศใช้ ม.44 ได้ทันที
ภาพจาก รายการต่างคนต่างคิด
ภาพจาก รายการต่างคนต่างคิด
ขณะที่บางส่วนตั้งคำถามถึงภาพที่ นายปิยบุตร ไปโผล่อยู่กับนักวิชาการที่หนีคดี ม.112 เช่น นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และท่านอื่น ๆ นายปิยบุตร แจงว่า หลาย ๆ ท่านนั้นตนรู้จักมาก่อน ทั้งเป็นอาจารย์ เป็นเพื่อน แต่หลังรัฐประหาร 2557 หลายคนต้องลี้ภัยออกไป ตนมองว่า กลุ่มคนเหล่านี้ถูกบังคับให้ออกนอกประเทศ และอาจจะไม่ได้กลับมาตายที่ไทยด้วยซ้ำ เมื่อตนมีโอกาสไปฝรั่งเศสแล้ว ถ้าตนรังเกียจ ไม่ยอมไปเจอเพราะกลัวจะเดือดร้อน แบบนี้ตนจะเป็นเพื่อนหรือเป็นมนุษย์ที่ดีได้อย่างไร มันคือหลักมนุษยธรรมปกติ ซึ่งการไปเจอไม่จำเป็นว่าต้องมีแนวคิดเดียวกันเสมอไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก