กกท. ชี้แจงปมเบิกงบ 570 ล้าน แต่ซ่อมสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ไม่ทันแข่งฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย ยัน ยังสามารถใช้แข่งในรายการอื่นได้
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 เฟซบุ๊ก กองประชาสัมพันธ์ กกท. ได้โพสต์ชี้แจงกรณีการเบิกงบ 570 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงสนามกีฬา แต่อาจเสร็จไม่ทันการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ดังนี้
ดร.ก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. ชี้แจงถึงกรณีที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ไม่สามารถปรับปรุงซ่อมแซมสนามแข่งขันได้ทันตามกำหนดก่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี รอบสุดท้าย
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี หรือ ฟุตบอล U-23 ชิงแชมป์เอเชีย ที่เตรียมจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-26 มกราคม 2563 ใน 4 สนาม ได้แก่ ราชมังคลากีฬาสถาน, สนามสมโภช 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่, สนามติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา และสนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต โดย 2 สนามแรกเป็นสนามที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กกท. ที่ผ่านมา กกท. ได้หารือเรื่องดังกล่าวกับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มาโดยตลอด ในประเด็นของการปรับปรุงซ่อมแซมสนามกีฬาทั้ง 2 สนามนั้น กกท. มีแผนที่จะทำการซ่อมแซมสนามอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นราชมังคลากีฬาสถาน ที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติมาโดยตลอด ทำให้การซ่อมแซมมีรายละเอียดไม่มาก ตรงกับมาตรฐานที่สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ต้องการ ในส่วนของสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในปี 2538 ครั้งที่ 18 ผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว ยังไม่เคยมีการปรับปรุงซ่อมแซมสนามแต่อย่างใด ซึ่งหากจะมีการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานตามที่เอเอฟซีกำหนด ต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการมากกว่าสนามกีฬาอื่น ๆ
สำหรับเรื่องงบประมาณ จำนวน 570 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมสนามนั้น เป็นงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติเพื่อปรับปรุง 3 สนามกีฬา ภายใต้การกำกับดูแลของ กกท. โดย กกท. ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนเมษายน 2562 แต่เนื่องจากการซ่อมแซมสนามที่เชียงใหม่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และต้องดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ซึ่งค่อนข้างใช้ระยะเวลาตามขั้นตอนของการ e-bidding ทำให้การดำเนินงานล่าช้า ส่วนสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่จังหวัดนครราชสีมา นั้น ก่อสร้างเพื่อใช้จัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในปี 2550 และยังจะใช้สำหรับจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการทางการเคลื่อนไหวชิงแชมป์โลก ไอวาส เวิลด์ เกมส์ 2020 ระหว่างวันที่ 20-28 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งสนามแห่งนี้ก็ยังไม่เคยปรับปรุงซ่อมแซมเช่นกัน
ดังนั้น ในส่วนของราชมังคลากีฬาสถาน และสนามเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่นครราชสีมา คาดว่าจะเสร็จทันการแข่งขันอย่างแน่นอน ส่วนสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ที่แล้วเสร็จไม่ทันตามกำหนดส่งมอบสนามให้เอเอฟซี ภายในวันที่ 24 ธันวาคม นั้น กกท. ได้ประสานกับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ตั้งแต่แรกที่ทราบว่าจะปรับปรุงสนามไม่ทันตามกำหนด ซึ่งทราบว่าสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีแผนสำรองดังกล่าวไว้แล้ว
กกท. ขอเรียนว่าการปรับปรุงสนามทั้ง 3 แห่งในครั้งนี้ ไม่ได้จะทำการปรับปรุงเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอล U-23 ชิงแชมป์เอเชีย หรือการแข่งขันไอวาส เวิลด์ เกมส์ 2020 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้ทำการปรับปรุงทั้ง 3 สนามซึ่งยังไม่เคยมีการปรับปรุงซ่อมแซมมาก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้สนามกีฬาภายใต้การกำกับดูแลของ กกท. ได้มาตรฐานสากลของการแข่งขัน และรองรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ พร้อมทั้งบริการทุกสมาคมกีฬาได้อย่างเต็มรูปแบบและให้บริการกับประชาชนทุกคน เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าในการใช้บริการสนามกีฬาให้มากที่สุด และจะดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
ทั้งนี้ ผู้ว่าการ กกท. ได้กล่าวในตอนท้ายว่า เมื่อสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จ จะได้หารือกับนายกสนาคมฟุตบอลฯ ในเบื้องต้น แม้ว่าจะดำเนินการซ่อมแซมไม่ทันการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี แต่จะมีการนำการแข่งขันระดับนานาชาติมาแข่งที่สนามดังกล่าวแน่นอน
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 เฟซบุ๊ก กองประชาสัมพันธ์ กกท. ได้โพสต์ชี้แจงกรณีการเบิกงบ 570 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงสนามกีฬา แต่อาจเสร็จไม่ทันการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ดังนี้
ดร.ก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. ชี้แจงถึงกรณีที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ไม่สามารถปรับปรุงซ่อมแซมสนามแข่งขันได้ทันตามกำหนดก่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี รอบสุดท้าย
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี หรือ ฟุตบอล U-23 ชิงแชมป์เอเชีย ที่เตรียมจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-26 มกราคม 2563 ใน 4 สนาม ได้แก่ ราชมังคลากีฬาสถาน, สนามสมโภช 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่, สนามติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา และสนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต โดย 2 สนามแรกเป็นสนามที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กกท. ที่ผ่านมา กกท. ได้หารือเรื่องดังกล่าวกับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มาโดยตลอด ในประเด็นของการปรับปรุงซ่อมแซมสนามกีฬาทั้ง 2 สนามนั้น กกท. มีแผนที่จะทำการซ่อมแซมสนามอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นราชมังคลากีฬาสถาน ที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติมาโดยตลอด ทำให้การซ่อมแซมมีรายละเอียดไม่มาก ตรงกับมาตรฐานที่สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ต้องการ ในส่วนของสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในปี 2538 ครั้งที่ 18 ผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว ยังไม่เคยมีการปรับปรุงซ่อมแซมสนามแต่อย่างใด ซึ่งหากจะมีการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานตามที่เอเอฟซีกำหนด ต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการมากกว่าสนามกีฬาอื่น ๆ
สำหรับเรื่องงบประมาณ จำนวน 570 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมสนามนั้น เป็นงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติเพื่อปรับปรุง 3 สนามกีฬา ภายใต้การกำกับดูแลของ กกท. โดย กกท. ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนเมษายน 2562 แต่เนื่องจากการซ่อมแซมสนามที่เชียงใหม่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และต้องดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ซึ่งค่อนข้างใช้ระยะเวลาตามขั้นตอนของการ e-bidding ทำให้การดำเนินงานล่าช้า ส่วนสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่จังหวัดนครราชสีมา นั้น ก่อสร้างเพื่อใช้จัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในปี 2550 และยังจะใช้สำหรับจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการทางการเคลื่อนไหวชิงแชมป์โลก ไอวาส เวิลด์ เกมส์ 2020 ระหว่างวันที่ 20-28 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งสนามแห่งนี้ก็ยังไม่เคยปรับปรุงซ่อมแซมเช่นกัน
ดังนั้น ในส่วนของราชมังคลากีฬาสถาน และสนามเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่นครราชสีมา คาดว่าจะเสร็จทันการแข่งขันอย่างแน่นอน ส่วนสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ที่แล้วเสร็จไม่ทันตามกำหนดส่งมอบสนามให้เอเอฟซี ภายในวันที่ 24 ธันวาคม นั้น กกท. ได้ประสานกับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ตั้งแต่แรกที่ทราบว่าจะปรับปรุงสนามไม่ทันตามกำหนด ซึ่งทราบว่าสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีแผนสำรองดังกล่าวไว้แล้ว
กกท. ขอเรียนว่าการปรับปรุงสนามทั้ง 3 แห่งในครั้งนี้ ไม่ได้จะทำการปรับปรุงเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอล U-23 ชิงแชมป์เอเชีย หรือการแข่งขันไอวาส เวิลด์ เกมส์ 2020 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้ทำการปรับปรุงทั้ง 3 สนามซึ่งยังไม่เคยมีการปรับปรุงซ่อมแซมมาก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้สนามกีฬาภายใต้การกำกับดูแลของ กกท. ได้มาตรฐานสากลของการแข่งขัน และรองรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ พร้อมทั้งบริการทุกสมาคมกีฬาได้อย่างเต็มรูปแบบและให้บริการกับประชาชนทุกคน เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าในการใช้บริการสนามกีฬาให้มากที่สุด และจะดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
ทั้งนี้ ผู้ว่าการ กกท. ได้กล่าวในตอนท้ายว่า เมื่อสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จ จะได้หารือกับนายกสนาคมฟุตบอลฯ ในเบื้องต้น แม้ว่าจะดำเนินการซ่อมแซมไม่ทันการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี แต่จะมีการนำการแข่งขันระดับนานาชาติมาแข่งที่สนามดังกล่าวแน่นอน