ตะลึง พบซากช้างดึกดำบรรพ์ ยุคไทรแอสซิก อายุ 200 ล้านปี ครั้งแรกในโคราช


        ชาวบ้านตะลึง พบซากกระดูกงาช้างดึกดำบรรพ์ ยุคไทรแอสซิก อายุกว่า 200 ล้านปี ครั้งแรกในพื้นที่ ต.หลุมข้าว อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่เร่งกั้นพื้นที่เพื่อขุดเพิ่มเติม และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้

ซากช้างดึกดำบรรพ์
ภาพจาก สำนักข่าว INN

       วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 สำนักข่าว INN รายงานว่า ชาวบ้านพบซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ บริเวณคลองน้ำบ้านขาคีม หมู่ 2 ต.หลุมข้าว อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ทางด้าน ผศ. ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลิมพระเกียรติ์ และ ดร.จรูญ ด้วงกระยอม ผู้เชี่ยวชาญซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ จึงลงพื้นที่ตรวจสอบซากฟอสซิล จำนวน 5 ชิ้น

       โดย ดร.จรูญ ระบุว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น มีทั้งสัตว์ที่มีอายุใกล้เคียงกับยุคปัจจุบัน และยุคดึกดำบรรพ์ที่กลายเป็นฟอสซิลแล้ว โดยเฉพาะฟอสซิลที่พบจำนวน 5 ชิ้น เชื่อว่าเป็นกระดูกงาช้าง ในยุคไทรแอสซิก มีอายุประมาณ 200 ล้านปี

ซากช้างดึกดำบรรพ์
ภาพจาก สำนักข่าว INN

       บริเวณที่พบสันนิษฐานเหตุการณ์ได้ว่า มีสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ในช่วงเวลานั้น เนื่องจากที่ผ่านมา มีการพบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ยุคไทรแอสซิก อายุประมาณ 200 ล้านปี เช่น ฟอสซิลหอยกาบคู่น้ำจืด จำนวนมาก ซึ่งได้เก็บไว้ภายในสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ จ.นครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2535

        ส่วนการค้นพบฟอสซิลงาช้างครั้งนี้ นับเป็นการค้นพบครั้งแรกในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่เตรียมกั้นบริเวณที่พบฟอสซิลช้างทั้งหมด เพื่อขุดค้นหาชิ้นส่วนช้าง และสัตว์ดึกดำบรรพ์เพิ่มอีก รวมทั้งใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาแห่งแรกของ จ.นครราชสีมา อีกด้วย

ซากช้างดึกดำบรรพ์
ภาพจาก สำนักข่าว INN

ซากช้างดึกดำบรรพ์
ภาพจาก สำนักข่าว INN

ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ตะลึง พบซากช้างดึกดำบรรพ์ ยุคไทรแอสซิก อายุ 200 ล้านปี ครั้งแรกในโคราช อัปเดตล่าสุด 1 พฤศจิกายน 2562 เวลา 18:00:26 6,718 อ่าน
TOP
x close