รมว.ยุติธรรม หนุนประหาร สมคิด พุ่มพวง แต่ต้องดูกฎหมายอีกครั้ง-ชงติดกำไล EM หลังพ้นโทษ ด้านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ หารือกลั่นกรองเข้มเกี่ยวกับการพิจารณาการปล่อยตัวนักโทษ
จากกรณี นายสมคิด พุ่มพวง หรือคิด เดอะริปเปอร์ นักโทษคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง ได้รับอภัยโทษ พ้นโทษออกมาก่อเหตุฆาตกรรมซ้ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งไล่ล่าจนกระทั่งสามารถจับกุมได้ในที่สุดนั้น ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นนี้ สังคมได้ตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรม และกระบวนการพิจารณาลดโทษว่าหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการอย่างไร รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับนักโทษไม่ปกติ มีลักษณะเป็นฆาตกรต่อเนื่อง-มีภาวะทางจิตนั้น จะทำอย่างไรต่อไป
อ่านข่าว : ด่วน จับได้แล้ว สมคิด พุ่มพวง สิ้นลายขณะขึ้นรถไฟจากปากช่อง หวังหนีเข้ากรุงเทพฯ
ภาพจาก สปริงนิวส์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 18 ธันวาคม 2562 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า กระทรวงยุติธรรม ได้ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหานักโทษที่มีความไม่ปกติ มีสภาวะทางจิต หรือมีพฤติกรรมทางเพศรวมถึงการเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก และกำลังเป็นกระแสข่าวในขณะนี้ โดยได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งได้สั่งการให้ดูแนวทางของการแก้ปัญหาในระยะสั้น และระยะยาวคือการออกกฎหมาย
เบื้องต้นทราบว่าในบัญชีของกรมราชทัณฑ์ มีผู้ต้องขังประเภทนี้จำนวนไม่มาก ซึ่งทำให้มีการปล่อยปละละเลย ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการแก้ปัญหาในระยะสั้นจะมีมาตรการป้องกันเพื่อความปลอดภัยในสังคม โดยผู้ต้องขังคนใดที่จะพ้นโทษและมีพฤติกรรมทางจิต โดยได้ประเมินจากทางการแพทย์ก็จะเสนอให้อัยการส่งเรื่องขอให้ศาลควบคุมตัวไว้ก่อน
ภาพจาก สปริงนิวส์
ส่วนมาตรการระยะยาวนั้น ได้ศึกษาแนวทางจากกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา จากกรณีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งวัย 7 ขวบ ถูกกระทำชำเราทางเพศจนเหตุเสียชีวิต ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกกฎหมายให้กำหนดโทษ ฆาตกรประเภทนี้ไว้หนัก เมื่อมีการพ้นโทษก็จะต้องติดเครื่อง EM ตลอด เพื่อให้มีการแจ้งเตือนกับสังคม ในบริเวณที่นักโทษผู้นั้นเข้าไปอยู่แม้ว่าจะมีการพ้นโทษแล้วก็ตามก็จะต้องมีการควบคุมตัวตลอดชีวิต โดยกระทรวงยุติธรรมจะนำเสนอ ร่างเป็นกฎหมายต่อไป
สำหรับกระแสสังคมที่ต้องการให้ประหารชีวิตนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เท่าที่ประเมินดูมีนักโทษลักษณะนี้ ไม่ถึงร้อยคนในกรมราชทัณฑ์ ทั้งฆาตกรต่อเนื่องและอาการโรคจิต ถ้าหากสามารถทำการประหารชีวิตได้ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ขอบข่ายของกฎหมายก็ไม่ทราบว่าจะดำเนินไปจุดนั้นได้อย่างไร
ขณะที่ ข่าวช่องวัน ระบุว่า พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันท์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ บอกว่า ขณะนี้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาพักการลงโทษ เน้นการหารือการกำหนดมาตรการคุมเข้มมากกว่าเดิม โดยจะกลั่นกรองก่อนปล่อยตัวว่าเคยก่อเหตุคดีร้ายแรงอะไรมาบ้าง เข้าข่ายจะได้รับการลดโทษ หรือลดวันต้องโทษหรือไม่ หรือรายใดบ้างที่ควรปล่อย หรือไม่ปล่อยตัว
โดยจะนำพฤติการณ์ในคดีมาประกอบการพิจารณา เช่น คดีอุกฉกรรจ์ร้ายแรงต้องโทษตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไปไม่เข้าเกณฑ์ลดโทษ หรือลดในสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งต่อไปต้องมีการออกแบบกฎกติกาการปล่อยตัวผู้ต้องขังในแต่ละครั้งให้ชัดเจน
ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
จากกรณี นายสมคิด พุ่มพวง หรือคิด เดอะริปเปอร์ นักโทษคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง ได้รับอภัยโทษ พ้นโทษออกมาก่อเหตุฆาตกรรมซ้ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งไล่ล่าจนกระทั่งสามารถจับกุมได้ในที่สุดนั้น ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นนี้ สังคมได้ตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรม และกระบวนการพิจารณาลดโทษว่าหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการอย่างไร รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับนักโทษไม่ปกติ มีลักษณะเป็นฆาตกรต่อเนื่อง-มีภาวะทางจิตนั้น จะทำอย่างไรต่อไป
อ่านข่าว : ด่วน จับได้แล้ว สมคิด พุ่มพวง สิ้นลายขณะขึ้นรถไฟจากปากช่อง หวังหนีเข้ากรุงเทพฯ
ภาพจาก สปริงนิวส์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 18 ธันวาคม 2562 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า กระทรวงยุติธรรม ได้ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหานักโทษที่มีความไม่ปกติ มีสภาวะทางจิต หรือมีพฤติกรรมทางเพศรวมถึงการเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก และกำลังเป็นกระแสข่าวในขณะนี้ โดยได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งได้สั่งการให้ดูแนวทางของการแก้ปัญหาในระยะสั้น และระยะยาวคือการออกกฎหมาย
เบื้องต้นทราบว่าในบัญชีของกรมราชทัณฑ์ มีผู้ต้องขังประเภทนี้จำนวนไม่มาก ซึ่งทำให้มีการปล่อยปละละเลย ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการแก้ปัญหาในระยะสั้นจะมีมาตรการป้องกันเพื่อความปลอดภัยในสังคม โดยผู้ต้องขังคนใดที่จะพ้นโทษและมีพฤติกรรมทางจิต โดยได้ประเมินจากทางการแพทย์ก็จะเสนอให้อัยการส่งเรื่องขอให้ศาลควบคุมตัวไว้ก่อน
ภาพจาก สปริงนิวส์
ส่วนมาตรการระยะยาวนั้น ได้ศึกษาแนวทางจากกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา จากกรณีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งวัย 7 ขวบ ถูกกระทำชำเราทางเพศจนเหตุเสียชีวิต ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกกฎหมายให้กำหนดโทษ ฆาตกรประเภทนี้ไว้หนัก เมื่อมีการพ้นโทษก็จะต้องติดเครื่อง EM ตลอด เพื่อให้มีการแจ้งเตือนกับสังคม ในบริเวณที่นักโทษผู้นั้นเข้าไปอยู่แม้ว่าจะมีการพ้นโทษแล้วก็ตามก็จะต้องมีการควบคุมตัวตลอดชีวิต โดยกระทรวงยุติธรรมจะนำเสนอ ร่างเป็นกฎหมายต่อไป
สำหรับกระแสสังคมที่ต้องการให้ประหารชีวิตนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เท่าที่ประเมินดูมีนักโทษลักษณะนี้ ไม่ถึงร้อยคนในกรมราชทัณฑ์ ทั้งฆาตกรต่อเนื่องและอาการโรคจิต ถ้าหากสามารถทำการประหารชีวิตได้ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ขอบข่ายของกฎหมายก็ไม่ทราบว่าจะดำเนินไปจุดนั้นได้อย่างไร
ขณะที่ ข่าวช่องวัน ระบุว่า พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันท์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ บอกว่า ขณะนี้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาพักการลงโทษ เน้นการหารือการกำหนดมาตรการคุมเข้มมากกว่าเดิม โดยจะกลั่นกรองก่อนปล่อยตัวว่าเคยก่อเหตุคดีร้ายแรงอะไรมาบ้าง เข้าข่ายจะได้รับการลดโทษ หรือลดวันต้องโทษหรือไม่ หรือรายใดบ้างที่ควรปล่อย หรือไม่ปล่อยตัว
โดยจะนำพฤติการณ์ในคดีมาประกอบการพิจารณา เช่น คดีอุกฉกรรจ์ร้ายแรงต้องโทษตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไปไม่เข้าเกณฑ์ลดโทษ หรือลดในสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งต่อไปต้องมีการออกแบบกฎกติกาการปล่อยตัวผู้ต้องขังในแต่ละครั้งให้ชัดเจน
ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก