ห้องปฏิบัติการวิจัยกัญชา มก. ร่วมกับเอกชน ถอดสูตรกลิ่นเลียนแบบกัญชา
สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย ใช้สารสกัดจากพืชผักและผลไม้อื่น ๆ
ร่วมกันกว่า 77 ชนิด นำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร
ภาพจาก สปริงนิวส์
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 สปริงนิวส์ รายงานว่า
ห้องปฏิบัติการวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ
บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF
ร่วมกันคิดสูตรกลิ่นกัญชาเทียม
เพื่อใช้องค์ประกอบสารธรรมชาติที่มีในพืชผักผลไม้อื่น ๆ มาเข้าสูตรผสม
จนได้กลิ่นเลียนแบบกัญชาสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย
รศ. ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เผยว่า ห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่างกัญชาจริงมาจาก ป.ป.ส. ตามใบอนุญาตดำเนินโครงการวิจัยจาก องค์การอาหารและยา (อย.) และได้ดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เป็นหลัก โดยสารสกัดกัญชาที่ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
รศ. ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เผยว่า ห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่างกัญชาจริงมาจาก ป.ป.ส. ตามใบอนุญาตดำเนินโครงการวิจัยจาก องค์การอาหารและยา (อย.) และได้ดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เป็นหลัก โดยสารสกัดกัญชาที่ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
2. กลุ่มสารอื่นที่พบได้ในพืชอื่น ๆ อีก 430 สาร
3. กลุ่มเทอร์ปีน ซึ่งเป็นสารให้กลิ่น อีก 77 สาร
ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการได้ทำการสกัดเทอร์ปีน โดยเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำ และได้รับความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ด้านกลิ่นของบริษัท RBF ซึ่งเป็นภาคเอกชนรายเดียว ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่นที่ดีที่สุดในประเทศไทย ได้ทำการถอดสูตรสารสำคัญในกลิ่นกัญชาแต่ละตัว รวมทั้งสิ้น 77 ตัว พบว่า เป็นสารธรรมชาติที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติด และสามารถพบสารเหล่านี้ได้ในพืชกลุ่มอื่น ๆ เช่น
- สารไพน์นีน พบได้ทั่วไปในต้นสน, ผักชีฝรั่ง, สะระแหน่,
- สารลิโมนีน ให้กลิ่นเปรี้ยวหอม พบได้ในเปลือกส้มเขียวหวาน หรือมะนาว
โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้ทดลองนำสารสกัดจากพืชผักและผลไม้อื่น ๆ รวมกันกว่า 77 ชนิด มาผสมตามสูตรที่วิเคราะห์ได้จากเครื่อง GC-MS พบว่า สามารถทำกลิ่นเลียนแบบกัญชาได้สำเร็จ ซึ่งกลิ่นกัญชาเลียนแบบนี้ สามารถนำไปผสมในเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์อาหาร หรือเครื่องสำอางได้
สำหรับกลุ่มเทอร์ปีนเลียนแบบดังกล่าว ทางห้องปฏิบัติการได้ขออนุญาตเพื่อนำเข้าจดทะเบียน อย. ตามลำดับ และมั่นใจว่า กลิ่นเลียนแบบกัญชานี้ จะสามารถช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางในประเทศได้อย่างดี เนื่องจากขณะนี้ทราบว่า ในต่างประเทศเริ่มมีการใช้กลิ่นกัญชาในหลายอุตสาหกรรม ทำให้โครงการวิจัยนี้ จะสามารถเพิ่มอำนาจการแข่งขัน ด้านกลิ่นธรรมชาติจากสมุนไพรไทยในตลาดโลกได้
ภาพจาก สปริงนิวส์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก