รู้จัก ทางลักผ่าน ที่มาโศกนาฏกรรมรถไฟชนบัสสายบุญ สังเวย 20 ศพ ชี้ เป็นทางที่ชาวบ้านหรือองค์กรส่วนท้องถิ่นสร้างเองเพื่อข้ามรถไฟ โดยไม่ได้รับอนุญาต มีสถานะผิดกฎหมาย และมีสถิติเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
จากกรณีอุบัติเหตุสะเทือนขวัญ รถไฟขนส่งสินค้าชนกับรถบัสคณะกฐิน บริเวณทางข้ามสถานีรถไฟคลองแขวงกลั่น ต.บางเตย อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา มีผู้เสียชีวิตราว 20 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก เบื้องต้นพบว่าจุดที่เกิดอุบัติเหตุนั้นไม่มีเครื่องกั้น เนื่องจากสถานีนี้ไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นจุดตัดที่ต้องมีไม้กั้นนั้น
อ่านข่าว : รถไฟชนรถบัส ทำบุญกฐิน สังเวยชีพไม่ต่ำกว่า 20 ราย พบรถไฟเปิดหวูดเตือนแล้ว
อ่านข่าว : เปิดวงจรปิด รถไฟชนรถบัสกฐิน ไม่ยอมให้รถไฟไปก่อน ชนจนหมุนควง สังเวยชีวิตหมู่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (11 ตุลาคม 2563) การรถไฟแห่งประเทศไทย เคยเผยข้อมูลเกี่ยวกับจุดตัดทางรถไฟที่เรียกว่า ทางลักผ่าน ซึ่งเป็นจุดตัดทางรถไฟที่มีสถิติเกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์มากที่สุด
สำหรับทางลักผ่าน (Illegal Crossing) คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่เป็นทางเข้า-ออกประจำของเอกชนหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น ๆ ผู้ทำทางตัดผ่านอาจจะเป็นประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล แต่ไม่ได้มีการขออนุญาตจากการรถไฟฯ หรือไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ จึงเป็นทางตัดผ่านที่ไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย ซึ่งปัจุบันมีจำนวนมากและยากต่อการควบคุม
ขณะที่ทวิตเตอร์นักข่าว @joydaynapas รายงานเพิ่มเติมว่า กระทรวงคมนาคมเคยสรุปจุดที่เกิดอุบัติเหตุบนทางตัดผ่านรถไฟ-รถยนต์ พบอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ "ทางลักผ่าน" มากที่สุด ตั้งแต่ปี 2558-2562 เกิดอุบัติเหตุรวมถึง 143 ครั้ง
นอกจากนี้ยังเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดของกระทรวงคมนาคม ในการสร้างไม้กั้นทางรถไฟ ไม่ใช่ว่าทางตัดรถไฟทุกที่จะต้องมีไม้กั้น ซึ่งต้องดูตามข้อกำหนด ดังนี้
1. ถ้าค่าคูณควบจราจร (จำนวนเที่ยวรถไฟ : จำนวนรถที่ผ่านใน 24 ชั่วโมง) ต่ำกว่า 10,000 ขบวน/วัน ต้องติดป้ายจราจรตามมาตรฐาน รฟท.
2. ถ้าค่าคูณจราจรมากกว่า 10,000 ขบวน ต้องติดตั้งไม้กั้นถนน, ป้ายจราจร
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย, ทวิตเตอร์ @joydaynapas
จากกรณีอุบัติเหตุสะเทือนขวัญ รถไฟขนส่งสินค้าชนกับรถบัสคณะกฐิน บริเวณทางข้ามสถานีรถไฟคลองแขวงกลั่น ต.บางเตย อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา มีผู้เสียชีวิตราว 20 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก เบื้องต้นพบว่าจุดที่เกิดอุบัติเหตุนั้นไม่มีเครื่องกั้น เนื่องจากสถานีนี้ไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นจุดตัดที่ต้องมีไม้กั้นนั้น
อ่านข่าว : รถไฟชนรถบัส ทำบุญกฐิน สังเวยชีพไม่ต่ำกว่า 20 ราย พบรถไฟเปิดหวูดเตือนแล้ว
อ่านข่าว : เปิดวงจรปิด รถไฟชนรถบัสกฐิน ไม่ยอมให้รถไฟไปก่อน ชนจนหมุนควง สังเวยชีวิตหมู่
สำหรับทางลักผ่าน (Illegal Crossing) คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่เป็นทางเข้า-ออกประจำของเอกชนหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น ๆ ผู้ทำทางตัดผ่านอาจจะเป็นประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล แต่ไม่ได้มีการขออนุญาตจากการรถไฟฯ หรือไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ จึงเป็นทางตัดผ่านที่ไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย ซึ่งปัจุบันมีจำนวนมากและยากต่อการควบคุม
ขณะที่ทวิตเตอร์นักข่าว @joydaynapas รายงานเพิ่มเติมว่า กระทรวงคมนาคมเคยสรุปจุดที่เกิดอุบัติเหตุบนทางตัดผ่านรถไฟ-รถยนต์ พบอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ "ทางลักผ่าน" มากที่สุด ตั้งแต่ปี 2558-2562 เกิดอุบัติเหตุรวมถึง 143 ครั้ง
นอกจากนี้ยังเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดของกระทรวงคมนาคม ในการสร้างไม้กั้นทางรถไฟ ไม่ใช่ว่าทางตัดรถไฟทุกที่จะต้องมีไม้กั้น ซึ่งต้องดูตามข้อกำหนด ดังนี้
1. ถ้าค่าคูณควบจราจร (จำนวนเที่ยวรถไฟ : จำนวนรถที่ผ่านใน 24 ชั่วโมง) ต่ำกว่า 10,000 ขบวน/วัน ต้องติดป้ายจราจรตามมาตรฐาน รฟท.
2. ถ้าค่าคูณจราจรมากกว่า 10,000 ขบวน ต้องติดตั้งไม้กั้นถนน, ป้ายจราจร
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย, ทวิตเตอร์ @joydaynapas