เปิดหลักเกณฑ์ 30 บาท รักษาได้ทุกที่ เผยใช้ได้กับโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ ไม่เกี่ยวกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และครอบคลุมแค่ใน กทม.-ปริมณฑล
วันที่ 29 ตุลาคม 2563 เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict เปิดเผยเงื่อนไขสำคัญ 6 ข้อ เกี่ยวกับนโยบาย บัตรทอง หลังกระทรวงสาธารณสุขมีมติยกระดับให้บัตรทอง 30 บาท รักษาได้ทุกที่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 โดยทางเพจได้มีการสรุปเงื่อนไขสำคัญ 6 เรื่อง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของประชาชน มีรายละเอียดดังนี้...
1. นโยบาย 30 บาท รักษาได้ทุกที่ จะเริ่มใช้ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ก่อน ในส่วนของต่างจังหวัดยังใช้ไม่ได้
2. นโยบาย 30 บาท รักษาได้ทุกที่ ใช้ได้เฉพาะกับสถานบริการระดับปฐมภูมิ อาทิ หน่วยบริการชุมชนอบอุ่น คลินิกชุมชนอบอุ่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- ไม่สามารถใช้กับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ เช่น โรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์ อย่างโรงพยาบาลรามาฯ โรงพยาบาลศิริราช หรือโรงพยาบาลราชวิถี
3. เตือนผู้รับบริการตามนโยบาย 30 บาท รักษาได้ทุกที่ อย่าย้ายสถานรักษาบ่อย โดยเฉพาะคนเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด เพราะต้องใช้เวลาในการปรับยา ปรับไลฟ์สไตล์ ปรับการคุมอาหาร ออกกำลังกาย เนื่องจากเมื่อเปลี่ยนสถานบริการที่ใหม่ก็ต้องเริ่มกันใหม่ เสียเวลาโดยใช่เหตุ
4. เรื่องใบส่งตัว
- กรณีไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เปลี่ยนเป็นออนไลน์แล้ว ตัวอย่างเช่น นายเอ ไม่สบายแล้วอยู่ในเมืองพอดี เลยต้องแอดมิตด่วนที่โรงพยาบาลจังหวัด เมื่อจะใช้สิทธิ 30 บาท ไม่ต้องไปขอใบส่งตัวจากโรงพยาบาลในอำเภอที่ตัวเองอยู่แล้ว
5. กรณียังต้องใช้ใบส่งตัว เช่น นายเอไม่สบาย พอไปโรงพยาบาลแล้วหมอคิดว่าต้องส่งตัวไปเจอหมอเฉพาะทาง หรือต้องส่งตัวไปโรงพยาบาลที่มีความพร้อมกว่า ยังต้องใช้ใบส่งตัวอยู่
6. จากข้อ 5. ที่ยังต้องใช้ใบส่งตัวอยู่ มีข้อยกเว้น คือ กรณีป่วยเป็นโรคมะเร็ง ถูกปรับระบบใบส่งตัวเป็นออนไลน์แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 29 ตุลาคม 2563 เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict เปิดเผยเงื่อนไขสำคัญ 6 ข้อ เกี่ยวกับนโยบาย บัตรทอง หลังกระทรวงสาธารณสุขมีมติยกระดับให้บัตรทอง 30 บาท รักษาได้ทุกที่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 โดยทางเพจได้มีการสรุปเงื่อนไขสำคัญ 6 เรื่อง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของประชาชน มีรายละเอียดดังนี้...
1. นโยบาย 30 บาท รักษาได้ทุกที่ จะเริ่มใช้ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ก่อน ในส่วนของต่างจังหวัดยังใช้ไม่ได้
2. นโยบาย 30 บาท รักษาได้ทุกที่ ใช้ได้เฉพาะกับสถานบริการระดับปฐมภูมิ อาทิ หน่วยบริการชุมชนอบอุ่น คลินิกชุมชนอบอุ่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- ไม่สามารถใช้กับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ เช่น โรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์ อย่างโรงพยาบาลรามาฯ โรงพยาบาลศิริราช หรือโรงพยาบาลราชวิถี
3. เตือนผู้รับบริการตามนโยบาย 30 บาท รักษาได้ทุกที่ อย่าย้ายสถานรักษาบ่อย โดยเฉพาะคนเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด เพราะต้องใช้เวลาในการปรับยา ปรับไลฟ์สไตล์ ปรับการคุมอาหาร ออกกำลังกาย เนื่องจากเมื่อเปลี่ยนสถานบริการที่ใหม่ก็ต้องเริ่มกันใหม่ เสียเวลาโดยใช่เหตุ
4. เรื่องใบส่งตัว
- กรณีไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เปลี่ยนเป็นออนไลน์แล้ว ตัวอย่างเช่น นายเอ ไม่สบายแล้วอยู่ในเมืองพอดี เลยต้องแอดมิตด่วนที่โรงพยาบาลจังหวัด เมื่อจะใช้สิทธิ 30 บาท ไม่ต้องไปขอใบส่งตัวจากโรงพยาบาลในอำเภอที่ตัวเองอยู่แล้ว
ภาพจาก Seika Chujo / Shutterstock.com
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
5. กรณียังต้องใช้ใบส่งตัว เช่น นายเอไม่สบาย พอไปโรงพยาบาลแล้วหมอคิดว่าต้องส่งตัวไปเจอหมอเฉพาะทาง หรือต้องส่งตัวไปโรงพยาบาลที่มีความพร้อมกว่า ยังต้องใช้ใบส่งตัวอยู่
6. จากข้อ 5. ที่ยังต้องใช้ใบส่งตัวอยู่ มีข้อยกเว้น คือ กรณีป่วยเป็นโรคมะเร็ง ถูกปรับระบบใบส่งตัวเป็นออนไลน์แล้ว