นักเขียนชื่อดัง เผยทานข้าว ไม่มีอยู่จริง มีแต่ กินข้าว หรือ รับประทานอาหาร ที่ผ่านมาใช้ผิดกันทั้งประเทศ ผิดมโหฬาร พร้อมยกตัวอย่างให้เข้าใจกันชัด ๆ อ่านแล้วถึงบางอ้อ
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนชื่อดังเจ้าของรางวัลซีไรต์ ได้มีการโพสต์เกี่ยวกับประโยค ทานข้าว VS กินข้าว โดยระบุว่า นานปีมาแล้ว นักเขียนใหญ่ รงค์ วงษ์สวรรค์ ปรมาจารย์แห่งการใช้ภาษา เคยบอกผมว่ารู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งที่ได้ยินคนเอ่ยว่า "ทานข้าว" เรามักพูดกันว่า "ทานข้าวด้วยกันไหม ?", "วันนี้อยากทานอะไรจ๊ะ ?"
พญาอินทรีแห่งป่าอักษรบอกว่า นี่เป็นการใช้คำผิดอย่างมาก เป็นคำที่ใช้ผิดกันทั้งประเทศ ! ผิดกันอย่างมโหฬาร เพราะทานไม่เคยแปลว่ากิน ถ้าไม่เชื่อก็เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหรือฉบับมติชน : ทาน = การให้ (เช่น ธรรมทาน), การยันไว้ (เช่น ต้านทาน), การสอบให้ตรงกับต้นฉบับ ไม่มีทานที่แปลว่ากิน
ดังนั้นประโยค "ทานข้าวแล้วยัง ?"
จึงแปลว่าให้ข้าวเป็นทานต่อคนอื่นแล้วยัง / ตรวจสอบข้าวแล้วยัง
"วันนี้ทานอะไรมาจ๊ะ ?" = วันนี้ทำทานอะไรให้คนอื่นหรือ /
วันนี้ตรวจสอบต้นฉบับเรื่องอะไรมา
ทานในความหมาย 'กิน' กร่อนมาจากคำ 'รับประทาน' และด้วยเหตุผลบางประการ สังคมสั่งสมค่านิยมจนให้ความรู้สึกว่า 'ทาน' สุภาพกว่า 'กิน' ในที่สุดเราก็ใช้คำว่า 'ทาน' ในความหมาย 'กิน' จนกลายเป็นคำที่ถูกต้องไปแล้ว สังคมไทยทุกหนแห่งใช้คำว่า 'ทาน' และหากเราถามใครสักคนว่า "กินข้าวไหม ?" อาจถูกมองค้อนว่าพูดจาไม่สุภาพ หรือไม่ให้เกียรติอีกฝ่าย !
ย่อมมีคนถามว่า แล้วพอจะผ่อนปรนให้ใช้ ทาน ในความหมาย กินได้ไหม ในเมื่อใช้กันจนชินแล้ว โดยปกติก็ย่อมได้ หากคำกร่อนไม่มีความหมายเฉพาะของมันเอง ตัวอย่างมีมากมาย และเราก็ปฏิบัติตามหลักนี้มายาวนาน เราจึงไม่เคยเห็นใครใช้คำว่า 'ยุ' แทน วิทยุ, 'เท้า' แทน รองเท้า, 'กา' แทน นาฬิกา ฯลฯ ทั้งนี้เพราะ ยุ เท้า กา มีความหมายเอกเทศในตัวมันเอง ทาน ก็เช่นกัน
รับและประทานเป็นคำกริยาทั้งคู่ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราลองหาตัวอย่างอื่นในลักษณะกริยา+กริยาเหมือนกันมาเปรียบเทียบ จะพบว่ามีคำมากมายที่เมื่อแยกคำ จะกลายเป็นคนละความหมายกัน ยกตัวอย่างเช่น คำว่า 'ปั้น' เป็นคนละความหมายกับ 'กำปั้น'
'เคี่ยว' เป็นคนละความหมายกับ 'ขับเคี่ยว'
'ก่าย' เป็นคนละความหมายกับ 'ก้าวก่าย'
'ดัน' เป็นคนละความหมายกับ 'แดกดัน'
'ต้อน' เป็นคนละความหมายกับ 'ต้อนรับ' ฯลฯ
เพราะคำต้นกับคำท้ายมีความหมายเอกเทศทั้งคู่ ตัวอย่างที่ยกมาทั้งหลายนี้ชี้ชัดโดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้นว่า 'ทาน' เป็นคนละคำคนละความหมายกับ 'รับประทาน' ในเมื่อแต่ละคำมีความหมายเฉพาะของมันเอง เราก็น่าที่จะเคารพกติกาแห่งพจนานุกรม ใช้ให้ถูกต้อง ทุกครั้งที่พูดเรื่องนี้ ก็มีคนแย้งว่าคิดมากไปทำไม มันเป็นแค่วิวัฒนาการของภาษา ภาษาย่อมดิ้นได้ เห็นด้วย ! ถูกต้อง ! ภาษาย่อมมีวิวัฒนาการ แต่วิวัฒนาการเป็นการปรับเปลี่ยนไปตามความจำเป็น ไม่ใช่เพราะการฝ่ากฎหรือความละเลย
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ 'ทาน = กิน' นี้ไม่เข้าข่ายวิวัฒนาการแต่อย่างใด มันเป็นแค่การใช้คำผิดจนชิน ประเด็นจึงอยู่ที่เราจะยอมรับการใช้คำผิดเป็นเรื่องถูกต้องไหม สมมุติว่าคนไทย 95 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเขียน 'นะค่ะ' จนชิน เราจะยอมรับวิธีเขียนผิดเช่นนี้หรือ ? คำว่า ทาน (กิน) ในที่นี้เกิดขึ้นเพราะความเคยชินและค่านิยมว่ามันเป็นคำสุภาพ เหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่ใช้ 'กิน' ก็เพราะไม่รู้ และชินปากคำว่า 'ทาน' ไปแล้ว ไม่ใช่เพราะตั้งใจใช้ผิด ๆ
ทว่าในเมื่อตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันไม่ใช่การใช้คำที่ถูกหลัก คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะช่วยกันปรับแก้การใช้คำนี้ให้ถูกต้อง นี่ไม่ใช่เรื่องการไม่ยอมรับวิวัฒนาการของภาษา เป็นแค่การใช้คำผิด ไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยเหตุผลนี้ จึงขอรณรงค์ใช้คำว่า 'กิน' ง่าย ๆ เถอะ กินเป็นคำไทย สุภาพดีอยู่แล้ว การใช้ภาษาอยู่ที่เจตนา ไม่ต้องประดิดประดอยจนเกินงาม
การใช้คำที่ถูกหลักภาษาของตนก็คือการแสดงความสุภาพในตัวมันเองอยู่แล้ว อีกประการ ความสุภาพยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำเสียง สีหน้าผู้พูด เป็นต้น แต่หากว่าวันใดอยากสุภาพเป็นพิเศษ ก็ใช้ให้ถูกให้ควรว่า 'รับประทาน' ขยับลิ้นเพิ่มอีกสองพยางค์คงไม่ทำให้เหนื่อยขึ้นกระมัง
แต่หากคิดว่ายังไง ๆ ชาตินี้ก็จะไม่ยอมเปลี่ยนการพูดจากทานเป็นกิน ก็คงไม่ว่าอะไรหากวันหนึ่งไปเยี่ยมเพื่อนสาว แล้วเธอบอกว่า "ขอต้อนสู่บ้านดิฉันนะค่ะ เดี๋ยวจะทำข้าวหมกไก่ให้ทานดีไหมค่ะ อ้อ ! อย่าลืมถอดเท้าวางบนชั้นก่อนนะค่ะ ชั้นวางเท้าที่อยู่ข้าง ๆ กาน่ะคะ ระหว่างรอดิฉันจะเปิดยุให้ฟังนะค่ะ"
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก วินทร์ เลียววาริณ
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนชื่อดังเจ้าของรางวัลซีไรต์ ได้มีการโพสต์เกี่ยวกับประโยค ทานข้าว VS กินข้าว โดยระบุว่า นานปีมาแล้ว นักเขียนใหญ่ รงค์ วงษ์สวรรค์ ปรมาจารย์แห่งการใช้ภาษา เคยบอกผมว่ารู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งที่ได้ยินคนเอ่ยว่า "ทานข้าว" เรามักพูดกันว่า "ทานข้าวด้วยกันไหม ?", "วันนี้อยากทานอะไรจ๊ะ ?"
พญาอินทรีแห่งป่าอักษรบอกว่า นี่เป็นการใช้คำผิดอย่างมาก เป็นคำที่ใช้ผิดกันทั้งประเทศ ! ผิดกันอย่างมโหฬาร เพราะทานไม่เคยแปลว่ากิน ถ้าไม่เชื่อก็เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหรือฉบับมติชน : ทาน = การให้ (เช่น ธรรมทาน), การยันไว้ (เช่น ต้านทาน), การสอบให้ตรงกับต้นฉบับ ไม่มีทานที่แปลว่ากิน
ทานในความหมาย 'กิน' กร่อนมาจากคำ 'รับประทาน' และด้วยเหตุผลบางประการ สังคมสั่งสมค่านิยมจนให้ความรู้สึกว่า 'ทาน' สุภาพกว่า 'กิน' ในที่สุดเราก็ใช้คำว่า 'ทาน' ในความหมาย 'กิน' จนกลายเป็นคำที่ถูกต้องไปแล้ว สังคมไทยทุกหนแห่งใช้คำว่า 'ทาน' และหากเราถามใครสักคนว่า "กินข้าวไหม ?" อาจถูกมองค้อนว่าพูดจาไม่สุภาพ หรือไม่ให้เกียรติอีกฝ่าย !
ย่อมมีคนถามว่า แล้วพอจะผ่อนปรนให้ใช้ ทาน ในความหมาย กินได้ไหม ในเมื่อใช้กันจนชินแล้ว โดยปกติก็ย่อมได้ หากคำกร่อนไม่มีความหมายเฉพาะของมันเอง ตัวอย่างมีมากมาย และเราก็ปฏิบัติตามหลักนี้มายาวนาน เราจึงไม่เคยเห็นใครใช้คำว่า 'ยุ' แทน วิทยุ, 'เท้า' แทน รองเท้า, 'กา' แทน นาฬิกา ฯลฯ ทั้งนี้เพราะ ยุ เท้า กา มีความหมายเอกเทศในตัวมันเอง ทาน ก็เช่นกัน
รับและประทานเป็นคำกริยาทั้งคู่ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราลองหาตัวอย่างอื่นในลักษณะกริยา+กริยาเหมือนกันมาเปรียบเทียบ จะพบว่ามีคำมากมายที่เมื่อแยกคำ จะกลายเป็นคนละความหมายกัน ยกตัวอย่างเช่น คำว่า 'ปั้น' เป็นคนละความหมายกับ 'กำปั้น'
'เคี่ยว' เป็นคนละความหมายกับ 'ขับเคี่ยว'
'ก่าย' เป็นคนละความหมายกับ 'ก้าวก่าย'
'ดัน' เป็นคนละความหมายกับ 'แดกดัน'
'ต้อน' เป็นคนละความหมายกับ 'ต้อนรับ' ฯลฯ
เพราะคำต้นกับคำท้ายมีความหมายเอกเทศทั้งคู่ ตัวอย่างที่ยกมาทั้งหลายนี้ชี้ชัดโดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้นว่า 'ทาน' เป็นคนละคำคนละความหมายกับ 'รับประทาน' ในเมื่อแต่ละคำมีความหมายเฉพาะของมันเอง เราก็น่าที่จะเคารพกติกาแห่งพจนานุกรม ใช้ให้ถูกต้อง ทุกครั้งที่พูดเรื่องนี้ ก็มีคนแย้งว่าคิดมากไปทำไม มันเป็นแค่วิวัฒนาการของภาษา ภาษาย่อมดิ้นได้ เห็นด้วย ! ถูกต้อง ! ภาษาย่อมมีวิวัฒนาการ แต่วิวัฒนาการเป็นการปรับเปลี่ยนไปตามความจำเป็น ไม่ใช่เพราะการฝ่ากฎหรือความละเลย
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ 'ทาน = กิน' นี้ไม่เข้าข่ายวิวัฒนาการแต่อย่างใด มันเป็นแค่การใช้คำผิดจนชิน ประเด็นจึงอยู่ที่เราจะยอมรับการใช้คำผิดเป็นเรื่องถูกต้องไหม สมมุติว่าคนไทย 95 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเขียน 'นะค่ะ' จนชิน เราจะยอมรับวิธีเขียนผิดเช่นนี้หรือ ? คำว่า ทาน (กิน) ในที่นี้เกิดขึ้นเพราะความเคยชินและค่านิยมว่ามันเป็นคำสุภาพ เหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่ใช้ 'กิน' ก็เพราะไม่รู้ และชินปากคำว่า 'ทาน' ไปแล้ว ไม่ใช่เพราะตั้งใจใช้ผิด ๆ
ทว่าในเมื่อตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันไม่ใช่การใช้คำที่ถูกหลัก คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะช่วยกันปรับแก้การใช้คำนี้ให้ถูกต้อง นี่ไม่ใช่เรื่องการไม่ยอมรับวิวัฒนาการของภาษา เป็นแค่การใช้คำผิด ไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยเหตุผลนี้ จึงขอรณรงค์ใช้คำว่า 'กิน' ง่าย ๆ เถอะ กินเป็นคำไทย สุภาพดีอยู่แล้ว การใช้ภาษาอยู่ที่เจตนา ไม่ต้องประดิดประดอยจนเกินงาม
การใช้คำที่ถูกหลักภาษาของตนก็คือการแสดงความสุภาพในตัวมันเองอยู่แล้ว อีกประการ ความสุภาพยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำเสียง สีหน้าผู้พูด เป็นต้น แต่หากว่าวันใดอยากสุภาพเป็นพิเศษ ก็ใช้ให้ถูกให้ควรว่า 'รับประทาน' ขยับลิ้นเพิ่มอีกสองพยางค์คงไม่ทำให้เหนื่อยขึ้นกระมัง
แต่หากคิดว่ายังไง ๆ ชาตินี้ก็จะไม่ยอมเปลี่ยนการพูดจากทานเป็นกิน ก็คงไม่ว่าอะไรหากวันหนึ่งไปเยี่ยมเพื่อนสาว แล้วเธอบอกว่า "ขอต้อนสู่บ้านดิฉันนะค่ะ เดี๋ยวจะทำข้าวหมกไก่ให้ทานดีไหมค่ะ อ้อ ! อย่าลืมถอดเท้าวางบนชั้นก่อนนะค่ะ ชั้นวางเท้าที่อยู่ข้าง ๆ กาน่ะคะ ระหว่างรอดิฉันจะเปิดยุให้ฟังนะค่ะ"