ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ ป.ป.ช. เผยผลสอบคดีนาฬิกาหรู และคำชี้แจงของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ - ปัดตกคำอ้าง ป.ป.ช. เป็นองค์กรอิสระ ชี้ต้องแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส สร้างความศรัทธาในการทำงานขององค์กร
จากกรณีข่าวที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ครอบครองนาฬิกาหรูแต่กลับไม่มีอยู่ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ พล.อ. ประวิตร ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งต่อมาทาง ป.ป.ช. ออกหนังสือแจ้งว่า พล.อ. ประวิตร ไม่ต้องแสดงการยืมนาฬิกาดังกล่าวเป็นหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เพราะมิใช่เป็นการยืมใช้สอยได้เปล่า และมีการคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืม ซึ่งต่อมา นักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้เรียกร้องให้ ป.ป.ช. ตั้งคณะอนุกรรมการ สอบคดีนาฬิกาหรู ของ พล.อ. ประวิตร เพื่อรักษาศรัทธาประชาชน ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
อ่านข่าว:
- ประวิตร รอด.. ป.ป.ช. เคาะแล้ว นาฬิกายืมเพื่อน ไม่ต้องแสดงบัญชี ยืมแล้วก็คืน ไม่ผิด
- อุ๊ตะ.. โผล่นาฬิกาเรือนที่ 8 ของ บิ๊กป้อม ยี่ห้อ ปาเต๊ก ฟิลลิปป์ สนนราคาแค่ 3.1 ล้าน
- ร้อง ป.ป.ช. ตั้งอนุกรรมการสอบคดีนาฬิกาหรู บิ๊กป้อม จี้เร่งดำเนินคดีโดยเร็ว
ล่าสุดวันที่ 15 กันยายน 2564 เฟซบุ๊ก Whee Pongpiphat ของนักข่าวอิสระท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความระบุว่า ที่สำนักงานศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 2557/2562 คดีหมายเลขแดงที่ 1327/2564 ในคดีที่ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ยื่นฟ้อง ป.ป.ช. กรณีไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับคดีนาฬิกาหรูของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. ซึ่ง ป.ป.ช. มีมติไม่รับคดีนี้ไว้ไต่สวนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2561
โดยศาลปกครองกลาง ได้พิพากษาให้ ป.ป.ช. ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จำนวน 2 รายการที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ให้กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ประกอบด้วย
1. รายงานสรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งคณะทำงานรวบรวมเสนอต่อที่ประชุม ป.ป.ช. ในวันที่มีมติเกี่ยวกับคดีนี้ รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. คำชี้แจงของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ในคดีนี้ รวมทั้งหมด 4 ครั้ง
ทั้งนี้ ให้ปกปิดข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะของบุคคล และให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเผยใน 15 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
รายงานข่าวระบุเหตุผลที่ศาลปกครองกลางสั่งให้ ป.ป.ช. ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวว่า "การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ อันจะก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและศรัทธาในการปฏิบัติงานของ ป.ป.ช. อีกทั้งผู้ฟ้องคดีสมควรจะได้รับความคุ้มครองสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐจะต้องเปิดเผย ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 41 และ 59 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย ตามหลักการและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ และเพื่อให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ให้สิ้นสงสัย อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจ ที่ต้องเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลยพินิจ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อีกสิ่งที่น่าสนใจในคดีนี้ นอกจากผลของคำพิพากษาที่สั่งให้ ป.ป.ช. ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคดีนาฬิกาหรูของ พล.อ. ประวิตรข้างต้นแล้ว ยังมีข้อต่อสู้ทางกฎหมายจาก ป.ป.ช. ที่ศาลปกครองกลางปัดตก "คำอ้าง" ของ ป.ป.ช. ในหลาย ๆ กรณี
อาทิ ป.ป.ช. อ้างว่าตัวเองเป็น "องค์กรอิสระ" ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทำหน้าที่ควรถูกเก็บไว้เป็นความลับ และกฎหมาย ป.ป.ช. เองก็ออกมาใช้ในปี 2561 หลังจาก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ที่ออกมาใช้ในปี 2540 ซึ่งตามหลักหากมีบทบัญญัติกฎหมายขัดกัน จะต้องยึดตามกฎหมายที่ออกมาภายหลัง โดยศาลชี้ว่า กฎหมาย ป.ป.ช. โดยเฉพาะมาตรา 36 ไม่ใช่บทยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ แต่อย่างใด และ ป.ป.ช. เองก็เป็น "หน่วยงานของรัฐ" ตามนิยามของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ มาตรา 4 จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้
ศาลปกครองกลาง ยังยกกฎหมายหลายฉบับมายืนยัน "หน้าที่" ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของ ป.ป.ช. และ "สิทธิ" ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจาก ป.ป.ช. เช่น
1. รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560
- มาตรา 3 วรรคสอง (องค์กรอิสระต้องปฏิบัติตามกฎหมาย)
- มาตรา 41 (รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ)
- มาตรา 59 (รัฐมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ)
- มาตรา 215 (องค์กรอิสระต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติ)
2. กฎหมาย ป.ป.ช.
- มาตรา 36 (คดีที่ ป.ป.ช. มีมติแล้วให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้)
- มาตรา 180 (กำหนด "ข้อยกเว้น" โทษในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของ ป.ป.ช.)
3. พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ
มาตรา 15 ที่เขียนถึงการให้เจ้าหน้าที่มีดุลยพินิจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยจะต้องพิจารณาถึง 3 ปัจจัย คือ การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐ ประโยชน์ของสาธารณะ และประโยชน์ของเอกชน
ส่วนที่ ป.ป.ช. อ้างว่า ข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ ที่มีข้อหาเรื่องการไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน จะถูกนำไปใช้กับสำนวนคดีอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา เช่น ข้อหารับทรัพย์สินหรือประโยชน์เกิน 3,000 บาท และข้อหาร่ำรวยผิดปกติ ศาลปกครองกลางก็ปัดตกคำอ้างนี้เช่นกัน โดยระบุว่า "เป็นคนละกรณีกัน"
อย่างไรก็ตาม ทาง ป.ป.ช. ยังสามารถอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Whee Pongpiphat
ภาพจาก Krit PHROMSAKLA NA SAKOLNAKORN / AFP
จากกรณีข่าวที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ครอบครองนาฬิกาหรูแต่กลับไม่มีอยู่ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ พล.อ. ประวิตร ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งต่อมาทาง ป.ป.ช. ออกหนังสือแจ้งว่า พล.อ. ประวิตร ไม่ต้องแสดงการยืมนาฬิกาดังกล่าวเป็นหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เพราะมิใช่เป็นการยืมใช้สอยได้เปล่า และมีการคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืม ซึ่งต่อมา นักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้เรียกร้องให้ ป.ป.ช. ตั้งคณะอนุกรรมการ สอบคดีนาฬิกาหรู ของ พล.อ. ประวิตร เพื่อรักษาศรัทธาประชาชน ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
อ่านข่าว:
- ประวิตร รอด.. ป.ป.ช. เคาะแล้ว นาฬิกายืมเพื่อน ไม่ต้องแสดงบัญชี ยืมแล้วก็คืน ไม่ผิด
- อุ๊ตะ.. โผล่นาฬิกาเรือนที่ 8 ของ บิ๊กป้อม ยี่ห้อ ปาเต๊ก ฟิลลิปป์ สนนราคาแค่ 3.1 ล้าน
- ร้อง ป.ป.ช. ตั้งอนุกรรมการสอบคดีนาฬิกาหรู บิ๊กป้อม จี้เร่งดำเนินคดีโดยเร็ว
ล่าสุดวันที่ 15 กันยายน 2564 เฟซบุ๊ก Whee Pongpiphat ของนักข่าวอิสระท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความระบุว่า ที่สำนักงานศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 2557/2562 คดีหมายเลขแดงที่ 1327/2564 ในคดีที่ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ยื่นฟ้อง ป.ป.ช. กรณีไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับคดีนาฬิกาหรูของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. ซึ่ง ป.ป.ช. มีมติไม่รับคดีนี้ไว้ไต่สวนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2561
ศาลปกครองกลางสั่งให้ ป.ป.ช. เปิดเผยรายงานสรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริง - พยานหลักฐาน และคำชี้แจงของบิ๊กป้อม
โดยศาลปกครองกลาง ได้พิพากษาให้ ป.ป.ช. ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จำนวน 2 รายการที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ให้กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ประกอบด้วย
1. รายงานสรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งคณะทำงานรวบรวมเสนอต่อที่ประชุม ป.ป.ช. ในวันที่มีมติเกี่ยวกับคดีนี้ รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. คำชี้แจงของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ในคดีนี้ รวมทั้งหมด 4 ครั้ง
ทั้งนี้ ให้ปกปิดข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะของบุคคล และให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเผยใน 15 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ศาลปกครองกลาง การเปิดเผยข้อมูลนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสของ ป.ป.ช.
รายงานข่าวระบุเหตุผลที่ศาลปกครองกลางสั่งให้ ป.ป.ช. ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวว่า "การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ อันจะก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและศรัทธาในการปฏิบัติงานของ ป.ป.ช. อีกทั้งผู้ฟ้องคดีสมควรจะได้รับความคุ้มครองสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐจะต้องเปิดเผย ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 41 และ 59 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย ตามหลักการและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ และเพื่อให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ให้สิ้นสงสัย อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจ ที่ต้องเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลยพินิจ"
ศาลปกครองกลางปัดตก "คำอ้าง" ของ ป.ป.ช. หลายกรณี เช่น อ้างว่าเป็นองค์กรอิสระ ชี้ตามกฎหมาย ป.ป.ช. คือหน่วยงานรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อีกสิ่งที่น่าสนใจในคดีนี้ นอกจากผลของคำพิพากษาที่สั่งให้ ป.ป.ช. ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคดีนาฬิกาหรูของ พล.อ. ประวิตรข้างต้นแล้ว ยังมีข้อต่อสู้ทางกฎหมายจาก ป.ป.ช. ที่ศาลปกครองกลางปัดตก "คำอ้าง" ของ ป.ป.ช. ในหลาย ๆ กรณี
อาทิ ป.ป.ช. อ้างว่าตัวเองเป็น "องค์กรอิสระ" ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทำหน้าที่ควรถูกเก็บไว้เป็นความลับ และกฎหมาย ป.ป.ช. เองก็ออกมาใช้ในปี 2561 หลังจาก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ที่ออกมาใช้ในปี 2540 ซึ่งตามหลักหากมีบทบัญญัติกฎหมายขัดกัน จะต้องยึดตามกฎหมายที่ออกมาภายหลัง โดยศาลชี้ว่า กฎหมาย ป.ป.ช. โดยเฉพาะมาตรา 36 ไม่ใช่บทยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ แต่อย่างใด และ ป.ป.ช. เองก็เป็น "หน่วยงานของรัฐ" ตามนิยามของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ มาตรา 4 จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้
ยืนยันหน้าที่ของ ป.ป.ช. ตามกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและทำด้วยความสุจริต
ศาลปกครองกลาง ยังยกกฎหมายหลายฉบับมายืนยัน "หน้าที่" ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของ ป.ป.ช. และ "สิทธิ" ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจาก ป.ป.ช. เช่น
1. รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560
- มาตรา 3 วรรคสอง (องค์กรอิสระต้องปฏิบัติตามกฎหมาย)
- มาตรา 41 (รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ)
- มาตรา 59 (รัฐมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ)
- มาตรา 215 (องค์กรอิสระต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติ)
2. กฎหมาย ป.ป.ช.
- มาตรา 36 (คดีที่ ป.ป.ช. มีมติแล้วให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้)
- มาตรา 180 (กำหนด "ข้อยกเว้น" โทษในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของ ป.ป.ช.)
3. พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ
มาตรา 15 ที่เขียนถึงการให้เจ้าหน้าที่มีดุลยพินิจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยจะต้องพิจารณาถึง 3 ปัจจัย คือ การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐ ประโยชน์ของสาธารณะ และประโยชน์ของเอกชน
ส่วนที่ ป.ป.ช. อ้างว่า ข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ ที่มีข้อหาเรื่องการไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน จะถูกนำไปใช้กับสำนวนคดีอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา เช่น ข้อหารับทรัพย์สินหรือประโยชน์เกิน 3,000 บาท และข้อหาร่ำรวยผิดปกติ ศาลปกครองกลางก็ปัดตกคำอ้างนี้เช่นกัน โดยระบุว่า "เป็นคนละกรณีกัน"
อย่างไรก็ตาม ทาง ป.ป.ช. ยังสามารถอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา