เด็ก 10 ขวบ โกหกพ่อบอกโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงิน 65 ครั้ง สูญ 1.2 ล้านบาท ที่แท้เด็กแอบเอาไปเติมเกมออนไลน์ เปย์สตรีมเมอร์ในยูทูบ
จากกรณีที่ นายณรงค์ฤทธิ์ นักธุรกิจค้าปุ๋ยใน จ.นครศรีธรรมราช ได้ร้องเรียนกับสื่อว่า ลูกชายวัย 10 ขวบ ถูกแก๊งมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินผ่านระบบเกมออนไลน์ ซึ่งลูกได้ถ่ายภาพบัตรประชาชนของตนและให้ข้อมูลส่วนตัว ก่อนถูกหลอกให้โอนเงินต่อเนื่องถึง 65 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 7-25 กรกฎาคม 2565 รวมเป็นเงิน 1,206,000 บาท
วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ข่าวช่องวัน รายงานว่า พล.ต.ต. ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.5 เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้ทำการเชิญ นายณรงค์ฤทธิ์ และลูกชาย อายุ 10 ขวบ มาเพื่อสอบถามรายละเอียด และตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ก่อนเกิดเหตุนายณรงค์ฤทธิ์ ได้นำโทรศัพท์มือถือไปให้ลูกชายใช้เรียนออนไลน์ ซึ่งลูกได้นำโทรศัพท์เครื่องดังกล่าวไปใช้เล่นเกมออนไลน์ และซื้อไอเทมเกม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet)
จากการตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่า
การทำธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทำธุรกรรมโดยเจ้าของบัญชีเอง
ซึ่งลูกชายอาจเป็นผู้ดำเนินการเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และนายฤรงค์ฤทธิ์
ไม่ทราบถึงรายละเอียดขั้นตอนดังกล่าวแต่อย่างใด
โดยขั้นตอนจะต้องมีการยืนยันตัวตนโดยการถ่ายภาพใบหน้าของนายฤรงค์ฤทธิ์
เพื่อยืนยันข้อมูลในการสมัครเข้าใช้งาน
ซึ่งในการชำระค่าสินค้าเกี่ยวกับเกมออนไลน์ที่ตรวจพบ แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. เป็นการทำธุรกรรมทางด้านการเติมเงินเพื่อใช้ซื้อไอเทมเกม
2. เป็นการทำธุรกรรมทางด้านการสนับสนุนผู้ทำ Content ผ่านช่องทาง YouTube
การทำธุรกรรมแต่ละครั้งเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์ 2 เครื่อง จากการตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์มือถือเครื่องดังกล่าว พบว่ามีการใช้งานกับกระเป๋า E-wallet และแอปพลิเคชัน Mobile banking ซึ่งผูกบัญชีไว้ด้วยกัน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์ ได้ตรวจสอบและอธิบายให้ทราบในรายละเอียดที่เกิดขึ้นดังกล่าว นายฤรงค์ฤทธิ์ ก็ทราบและเข้าใจดีว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลูกไม่ได้ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงแต่อย่างใด แต่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน
วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ข่าวช่องวัน รายงานว่า พล.ต.ต. ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.5 เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้ทำการเชิญ นายณรงค์ฤทธิ์ และลูกชาย อายุ 10 ขวบ มาเพื่อสอบถามรายละเอียด และตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ก่อนเกิดเหตุนายณรงค์ฤทธิ์ ได้นำโทรศัพท์มือถือไปให้ลูกชายใช้เรียนออนไลน์ ซึ่งลูกได้นำโทรศัพท์เครื่องดังกล่าวไปใช้เล่นเกมออนไลน์ และซื้อไอเทมเกม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet)
1. เป็นการทำธุรกรรมทางด้านการเติมเงินเพื่อใช้ซื้อไอเทมเกม
2. เป็นการทำธุรกรรมทางด้านการสนับสนุนผู้ทำ Content ผ่านช่องทาง YouTube
การทำธุรกรรมแต่ละครั้งเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์ 2 เครื่อง จากการตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์มือถือเครื่องดังกล่าว พบว่ามีการใช้งานกับกระเป๋า E-wallet และแอปพลิเคชัน Mobile banking ซึ่งผูกบัญชีไว้ด้วยกัน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์ ได้ตรวจสอบและอธิบายให้ทราบในรายละเอียดที่เกิดขึ้นดังกล่าว นายฤรงค์ฤทธิ์ ก็ทราบและเข้าใจดีว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลูกไม่ได้ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงแต่อย่างใด แต่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน