เจอปลาพญานาคที่ทะเลอันดามัน ยาวหลายเมตร ร่างแบ่งเป็น 3 ท่อน ชาวเน็ตเชื่อ อาจเกิดแผ่นดินไหว สึนามิตามมา เพราะเป็นปลาน้ำลึกหนีน้ำ ด้าน ดร.ธรณ์ - อ.เจษฎ์ สยบข่าว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard
วันที่ 7 มกราคม 2567 เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard มีการโพสต์ภาพปลาตัวหนึ่งที่มีขนาดยาวหลายเมตร ลำตัวสั้นผอม ถ้าเพ่งดี ๆ จะเห็นได้ว่า ลำตัวขาดเป็น 3 ท่อน โดยปลาตัวนี้ติดเรือ ก.เทพเจริญพร 15 อ.ละงู จ.สตูล ขณะที่ไปจับเรือกลางทะเล
ด้านชาวเน็ตเห็นแล้วต่างแซวกันว่า นี่คือปลาพญานาค รีบมาสาธุไว ๆ บางคนก็บอกว่า เจอปลาแบบนี้เตรียมตัวรับมือภัยพิบัติได้เลย เพราะปกติมันอยู่น้ำลึก ถ้ามีอะไรผิดปกติใต้ผิวน้ำ ปลาพวกนี้จะหนีขึ้นมาบนน้ำก่อน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard
ต่อมา เจ้าของโพสต์ได้รับข้อมูล ปลาตัวนี้คือ ปลาออร์ฟิช แต่จะใช่แบบ 100% หรือไม่นั้น ต้องรอผลวิจัยอีกครั้ง และตอนนี้มีทีมงานวิจัยประมงมารับไปวิจัยแล้ว
ดร.ธรณ์ - อ.เจษฎ์ คาด ไม่ต้องกลัวแผ่นดินไหว แค่กระแสมวลน้ำเย็น
ขณะที่ เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ของนายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการเกี่ยวกับทะเล มีการโพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปลาตัวนี้คือปลาออร์ฟิช (Oarfish) เป็นปลาน้ำลึกพบได้ทั่วโลก ด้วยความที่อยู่ลึก คนจึงไม่คุ้นเคย รูปร่างก็ประหลาด บางคนเรียกปลาพญานาค เพราะเคยมีภาพทหารอุ้มปลา บอกว่าเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งความจริงของภาพนั้นคือ ชายฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่แม่น้ำโขงแต่อย่างใด
สำหรับปลาตัวนี้ ไม่ได้เป็นปลาที่หายาก สามารถเจอได้เรื่อย ๆ ที่ต่างประเทศ ส่วนที่ประเทศไทย มีจุดน่าสงสัยคือ จับได้ที่ไหน คาดว่า น่าจะบริเวณทะเลอันดามัน จุดนี้เป็นจุดที่มีน้ำลึก เป็นไปได้ว่ามีปลาออร์ฟิชอยู่ตรงนั้น อีกประเด็นหนึ่งคือ ช่วงนี้น้ำเย็นเข้าทะเลอันดามัน จะเกิดปรากฏการณ์ปลาแปลก ๆ เข้ามาตามมวลน้ำเย็นด้วย
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)
เท่าที่ทราบ จุดที่จับได้เป็นเขตน้ำไม่ลึกมาก อาจจะเป็นปลาวัยรุ่นที่ไหลมาตามมวลน้ำเย็น และเรือที่จับได้คือเรืออวนล้อม ก็หมายความว่า ปลาอาจจะใกล้ผิวน้ำจนไปติดเรือดังกล่าว
ทั้งนี้ เรื่องปลาแผ่นดินไหว ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นการว่ายข้ามฝั่งเข้ามา ไม่ใช่จับมา ตนมองว่าเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า และ จ.สตูล ยังเที่ยวได้
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)
เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็โพสต์ถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า ขอเน้นว่า ปลาตัวนี้ติดอวนล้อมปลากลางทะเลในฝั่งทะเลอันดามัน ไม่เกี่ยวอะไรกับแผ่นดินไหว สึนามิที่ญี่ปุ่น และการที่บอกว่า การเจอปลาออร์ฟิชแปลว่าจะเกิดแผ่นดินไหว ก็เป็นความเชื่อตาม ๆ กันมา คาดว่า การที่มันมาใกล้ฝั่งไทย เพราะน้ำทะเลมหาสมุทรอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำเกิดขึ้น ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรอินเดียตรงเขตศูนย์สูตร มีความเย็นผิดปกติ
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)
ปลากระดูกสันหลังยาวที่สุดในโลก
เฟซบุ๊ก วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ TSU รายงานว่า ปลาออร์ฟิช หรือเรียกกันภาษาบ้าน ๆ ว่า ปลาออร์หรือปลาริบบิ้น เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก ความยาวสูงสุดที่วัดได้คือ 9 เมตร หนัก 300 กิโลกรัม
นอกจากนี้ ปลาออร์ฟิช ถูกบันทึกสถิติโลกว่าเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังยาวที่สุดในโลก อาจยาวได้ถึง 11 เมตร หรือ 15 เมตร ลักษณะเด่นคือ มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้า ดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง หัวมีอวัยวะคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard
วันที่ 7 มกราคม 2567 เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard มีการโพสต์ภาพปลาตัวหนึ่งที่มีขนาดยาวหลายเมตร ลำตัวสั้นผอม ถ้าเพ่งดี ๆ จะเห็นได้ว่า ลำตัวขาดเป็น 3 ท่อน โดยปลาตัวนี้ติดเรือ ก.เทพเจริญพร 15 อ.ละงู จ.สตูล ขณะที่ไปจับเรือกลางทะเล
ด้านชาวเน็ตเห็นแล้วต่างแซวกันว่า นี่คือปลาพญานาค รีบมาสาธุไว ๆ บางคนก็บอกว่า เจอปลาแบบนี้เตรียมตัวรับมือภัยพิบัติได้เลย เพราะปกติมันอยู่น้ำลึก ถ้ามีอะไรผิดปกติใต้ผิวน้ำ ปลาพวกนี้จะหนีขึ้นมาบนน้ำก่อน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard
ต่อมา เจ้าของโพสต์ได้รับข้อมูล ปลาตัวนี้คือ ปลาออร์ฟิช แต่จะใช่แบบ 100% หรือไม่นั้น ต้องรอผลวิจัยอีกครั้ง และตอนนี้มีทีมงานวิจัยประมงมารับไปวิจัยแล้ว
ดร.ธรณ์ - อ.เจษฎ์ คาด ไม่ต้องกลัวแผ่นดินไหว แค่กระแสมวลน้ำเย็น
ขณะที่ เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ของนายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการเกี่ยวกับทะเล มีการโพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปลาตัวนี้คือปลาออร์ฟิช (Oarfish) เป็นปลาน้ำลึกพบได้ทั่วโลก ด้วยความที่อยู่ลึก คนจึงไม่คุ้นเคย รูปร่างก็ประหลาด บางคนเรียกปลาพญานาค เพราะเคยมีภาพทหารอุ้มปลา บอกว่าเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งความจริงของภาพนั้นคือ ชายฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่แม่น้ำโขงแต่อย่างใด
สำหรับปลาตัวนี้ ไม่ได้เป็นปลาที่หายาก สามารถเจอได้เรื่อย ๆ ที่ต่างประเทศ ส่วนที่ประเทศไทย มีจุดน่าสงสัยคือ จับได้ที่ไหน คาดว่า น่าจะบริเวณทะเลอันดามัน จุดนี้เป็นจุดที่มีน้ำลึก เป็นไปได้ว่ามีปลาออร์ฟิชอยู่ตรงนั้น อีกประเด็นหนึ่งคือ ช่วงนี้น้ำเย็นเข้าทะเลอันดามัน จะเกิดปรากฏการณ์ปลาแปลก ๆ เข้ามาตามมวลน้ำเย็นด้วย
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)
เท่าที่ทราบ จุดที่จับได้เป็นเขตน้ำไม่ลึกมาก อาจจะเป็นปลาวัยรุ่นที่ไหลมาตามมวลน้ำเย็น และเรือที่จับได้คือเรืออวนล้อม ก็หมายความว่า ปลาอาจจะใกล้ผิวน้ำจนไปติดเรือดังกล่าว
ทั้งนี้ เรื่องปลาแผ่นดินไหว ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นการว่ายข้ามฝั่งเข้ามา ไม่ใช่จับมา ตนมองว่าเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า และ จ.สตูล ยังเที่ยวได้
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)
เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็โพสต์ถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า ขอเน้นว่า ปลาตัวนี้ติดอวนล้อมปลากลางทะเลในฝั่งทะเลอันดามัน ไม่เกี่ยวอะไรกับแผ่นดินไหว สึนามิที่ญี่ปุ่น และการที่บอกว่า การเจอปลาออร์ฟิชแปลว่าจะเกิดแผ่นดินไหว ก็เป็นความเชื่อตาม ๆ กันมา คาดว่า การที่มันมาใกล้ฝั่งไทย เพราะน้ำทะเลมหาสมุทรอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำเกิดขึ้น ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรอินเดียตรงเขตศูนย์สูตร มีความเย็นผิดปกติ
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)
ปลากระดูกสันหลังยาวที่สุดในโลก
เฟซบุ๊ก วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ TSU รายงานว่า ปลาออร์ฟิช หรือเรียกกันภาษาบ้าน ๆ ว่า ปลาออร์หรือปลาริบบิ้น เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก ความยาวสูงสุดที่วัดได้คือ 9 เมตร หนัก 300 กิโลกรัม
นอกจากนี้ ปลาออร์ฟิช ถูกบันทึกสถิติโลกว่าเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังยาวที่สุดในโลก อาจยาวได้ถึง 11 เมตร หรือ 15 เมตร ลักษณะเด่นคือ มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้า ดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง หัวมีอวัยวะคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น
ภาพจาก Kamonwan Kinlong นักวิชาการประมง จ.สตูล (ศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ รุ่นที่ 7)