เพิ่งรู้ ประตูท่าแพที่เห็นในปัจจุบัน เพิ่งสร้างมาแค่ 38 ปี ผลงานท่านผู้ว่าฯ หลังจากมีคนเอารูปประตูท่าแพเดิมมาให้ดู พร้อมชี้พิกัดประตูท่าแพดั้งเดิมของแท้ อยู่ตรงไหน
วันที่ 28 มกราคม 2567 เฟซบุ๊ก นางงามนะคะ ได้เผยภาพการก่อสร้างประตูท่าแพเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2529 โดยมีป้ายระบุว่า "ที่ทำการก่อสร้างประตูและกำแพงเมือง" และเป็นรูปวาดประตูท่าแพที่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาถ่ายรูป ใช้งบประมาณ 2,000,000 บาท
ในขณะที่รูปด้านล่าง เป็นรูปประตูท่าแพในปัจจุบัน ปี 2567 ซึ่งด้านหลังเป็นตึกเก่าขนาดไม่เกิน 8 ชั้น ที่คาดว่ามาเป็นโรงแรมในปัจจุบัน จึงยืนยันแน่นอนว่าตรงนี้คือประตูท่าแพที่เพิ่งสร้างเมื่อ 38 ปีก่อน
ในขณะที่รูปด้านล่าง เป็นรูปประตูท่าแพในปัจจุบัน ปี 2567 ซึ่งด้านหลังเป็นตึกเก่าขนาดไม่เกิน 8 ชั้น ที่คาดว่ามาเป็นโรงแรมในปัจจุบัน จึงยืนยันแน่นอนว่าตรงนี้คือประตูท่าแพที่เพิ่งสร้างเมื่อ 38 ปีก่อน
ในขณะที่เฟซบุ๊ก เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น ได้ยืนยันแน่นอนว่า ภาพประตูท่าแพในปัจจุบัน
เกิดจากการสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2529 ด้วยงบประมาณ 2,000,000 บาท
โดยเป็นการยกเลิกสี่แยกไฟแดงเก่า ทุบกำแพงจำลองเก่า
สร้างประตูขึ้นมาใหม่ตามแบบภาพถ่ายโบราณเมื่อหลายปีก่อน
เปิดที่มาการสร้างประตูท่าแพ และสาเหตุที่ต้องทุบกำแพงเมืองโบราณทิ้ง เอาอิฐออกขาย
ทั้งนี้ ประตูท่าแพที่เห็นนั้น เป็นการจำลองกำแพงเมืองเดิมที่มี 2 ชั้น โดยอ้างอิงจากรูปถ่ายเดิมที่ถ่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1910) และหากจะดูจากแผนที่นครเชียงใหม่เก่า สมัยพระเข้าอิทวิชยานนท์ พ.ศ. 2436 ที่วาดโดยกรมแผนที่ จะเห็นว่าประตูท่าแพมี 2 ชั้น และตรงประตูเข้าเมืองก็ไม่ได้ตรงกับกำแพงเมืองเหมือนกับประตูท่าแพในปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้ เมืองเชียงใหม่โบราณจะมีกำแพงเมืองก่ออิฐ ป้อม ประตูเมืองชั้นใน 5 ประตู โดยประมาณปี พ.ศ. 2460 เมื่อความศิวิไลซ์ได้แผ่ขยาย บ้านเมืองเติบโต และมีรถยนต์เข้ามา กำแพงเมืองจึงถูกกระทรวงธรรมการสมัยนั้นรื้อถอนและประมูลขายอิฐออกไป เพื่อขยายถนนให้กว้างให้รถยนต์วิ่งได้สะดวก เหลือแค่แจ่ง 4 แจ่งและประตูเมือง
ในปี พ.ศ. 2490 เทศบาลเมืองเชียงใหม่ได้มีการสร้างประตูเมืองใหม่ ให้มีความสวยงามมากขึ้น จนกลายเป็นประตูเมือง 4 ประตูเช่นทุกวันนี้ ยกเว้นประตูท่าแพ
ในปี พ.ศ. 2527-2526 นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่ ได้สร้างประตูท่าแพและช่วงท่าแพขึ้นมาใหม่ ด้วยความที่นายชัยยาเป็นสถาปนิกที่เคยเป็น ผอ.สำนักการผังเมือง ทุก ๆ ปีท่านจะทอดผ้าป่าเพื่อบูรณะวัดในเชียงใหม่ โดยไม่ใช้งบประมาณราชการใด ๆ จนกระทั่งมีคนมอบภาพเก่าของประตูท่าแพให้ท่าน ท่านจึงคิดสร้างประตูท่าแพใหม่ให้ถูกต้องตามแบบโบราณ ท่านมอบหมายให้กรมศิลปากรถอดแบบและออกแบบ และมีการก่อสร้างประตูท่าแพในปี พ.ศ. 2528 โดยขออนุญาตจากกรมศิลปากรเพราะตรงนั้นเป็นที่ดินในเขตโบราณสถาน และระดมเงินจากประชาชนและเอกชนเชียงใหม่ มาสร้างประตูท่าแพ ซึ่งรูปแบบประตูท่าแพในปัจจุบันนั้น ได้มีการลดขนาดและความสูงลงมา ต่างจากประตูท่าแพโบราณ
ดั้งเดิมนั้น ประตูท่าแพมี 2 ชั้น คือ ประตูท่าแพชั้นนอกและประตูท่าแพชั้นใน และหากเอาภาพถ่ายในอดีตของปี พ.ศ. 2463 มาซ้อนทับกับภาพแผนที่ในปัจจุบัน จะพบพิกัดที่ประตูท่าแพดั้งเดิมตั้งอยู่ กล่าวคือ ประตูท่าแพเดิมอยู่แถว วัดแสนฝาง และปัจจุบันวัดแสนฝางนั้นอยู่ที่เดิม ส่วนที่เป็นถนนในอดีตนั้น ปัจจุบันคือถนนกำแพงดิน ประตูท่าแพชั้นในน่าจะอยู่บริเวณบริษัทเจริญศิลป์ จำกัด และบริเวณประตูท่าแพชั้นนอก ต้นแบบของประตูท่าแพในปัจจุบัน น่าจะอยู่บริเวณโรงแรมท่าแพอินน์ และวิมลท่าแพ ถัดจากสะพานแม่ข่า เล็กน้อย
ดั้งเดิมนั้น ประตูท่าแพมี 2 ชั้น คือ ประตูท่าแพชั้นนอกและประตูท่าแพชั้นใน และหากเอาภาพถ่ายในอดีตของปี พ.ศ. 2463 มาซ้อนทับกับภาพแผนที่ในปัจจุบัน จะพบพิกัดที่ประตูท่าแพดั้งเดิมตั้งอยู่ กล่าวคือ ประตูท่าแพเดิมอยู่แถว วัดแสนฝาง และปัจจุบันวัดแสนฝางนั้นอยู่ที่เดิม ส่วนที่เป็นถนนในอดีตนั้น ปัจจุบันคือถนนกำแพงดิน ประตูท่าแพชั้นในน่าจะอยู่บริเวณบริษัทเจริญศิลป์ จำกัด และบริเวณประตูท่าแพชั้นนอก ต้นแบบของประตูท่าแพในปัจจุบัน น่าจะอยู่บริเวณโรงแรมท่าแพอินน์ และวิมลท่าแพ ถัดจากสะพานแม่ข่า เล็กน้อย