สรยุทธ วิเคราะห์ฉากทัศน์ หลังศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ แก้ไขมาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จากนี้ก้าวไกลอาจจะเจออะไรต่อบ้าง แบ่งออกเป็น 2 ทาง หากมีคนไปร้อง
จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า การแก้ไขมาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จึงมีคำสั่งให้พรรคก้าวไกลยุติการกระทำ
ล่าสุด วันที่ 31 มกราคม 2567 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา วิเคราะห์ประเด็นนี้ผ่านรายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกี่ยวกับแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากคำตัดสินของศาล แบ่งเป็น 2 รูปแบบคำตัดสิน ได้แก่
ภาพจาก รายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ
ผลคือ พรรคก้าวไกลและพรรคอื่น ๆ สามารถเสนอแก้มาตรา 112 ต่อได้ และพรรคการเมืองใช้เป็นนโยบายหาเสียงได้ อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ทำให้แนวโน้มนี้ไม่มีทางเกิดขึ้น
ผลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ถ้าหากมีคนนำเรื่องไปร้องเรียนต่อ ดังนี้
- กกต. พิจารณา พ.ร.ป. พรรคการเมือง มาตรา 92 และอาจมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ "วินิจฉัยยุบพรรค" ซึ่งถ้ายุบพรรค กรรมการบริหารพรรคจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี ส่วนสมาชิกที่เหลืออยู่ของพรรค ต้องไปหาพรรคใหม่ และจะมีงูเห่าเกิดขึ้นไหม รวมถึงพรรคที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ก็ต้องมีกรรมการบริหารพรรครุ่นต่อไป
- ป.ป.ช. พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 219 วรรคสอง และมาตรา 235 ประกอบมาตรฐานจริยธรรมศาลรัฐธรรมนูญ และอาจมีการส่งศาลฎีกาวินิจฉัย โทษสูงสุดคือ "ตัดสิทธิการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งต้องมาดูกันอีกทีว่าใครจะเข้าข่ายบ้าง
อาจจะเป็นการยกชื่อ สส. สมัยที่แล้วที่ไปลงชื่อแก้ไขมาตรา 112 ในสภาชุดที่แล้ว หรือการหาเสียงการเลือกตั้งช่วงที่ผ่านมามีใครบ้าง ต้องตีความกันอีก
ขอบคุณข้อมูลจาก รายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ
จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า การแก้ไขมาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จึงมีคำสั่งให้พรรคก้าวไกลยุติการกระทำ
ล่าสุด วันที่ 31 มกราคม 2567 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา วิเคราะห์ประเด็นนี้ผ่านรายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกี่ยวกับแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากคำตัดสินของศาล แบ่งเป็น 2 รูปแบบคำตัดสิน ได้แก่
ภาพจาก รายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ
1. ไม่ปฏิปักษ์ต่อการปกครอง ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง
ผลคือ พรรคก้าวไกลและพรรคอื่น ๆ สามารถเสนอแก้มาตรา 112 ต่อได้ และพรรคการเมืองใช้เป็นนโยบายหาเสียงได้ อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ทำให้แนวโน้มนี้ไม่มีทางเกิดขึ้น
2. เป็นปฏิปักษ์ ล้มล้างการปกครอง และสั่งให้ยุติการกระทำ
ผลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ถ้าหากมีคนนำเรื่องไปร้องเรียนต่อ ดังนี้
- กกต. พิจารณา พ.ร.ป. พรรคการเมือง มาตรา 92 และอาจมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ "วินิจฉัยยุบพรรค" ซึ่งถ้ายุบพรรค กรรมการบริหารพรรคจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี ส่วนสมาชิกที่เหลืออยู่ของพรรค ต้องไปหาพรรคใหม่ และจะมีงูเห่าเกิดขึ้นไหม รวมถึงพรรคที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ก็ต้องมีกรรมการบริหารพรรครุ่นต่อไป
- ป.ป.ช. พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 219 วรรคสอง และมาตรา 235 ประกอบมาตรฐานจริยธรรมศาลรัฐธรรมนูญ และอาจมีการส่งศาลฎีกาวินิจฉัย โทษสูงสุดคือ "ตัดสิทธิการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งต้องมาดูกันอีกทีว่าใครจะเข้าข่ายบ้าง
อาจจะเป็นการยกชื่อ สส. สมัยที่แล้วที่ไปลงชื่อแก้ไขมาตรา 112 ในสภาชุดที่แล้ว หรือการหาเสียงการเลือกตั้งช่วงที่ผ่านมามีใครบ้าง ต้องตีความกันอีก
ขอบคุณข้อมูลจาก รายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ