หนุ่มเผย เงินเดือนเพิ่มขึ้น จาก 60,000 เป็น 80,000 บาท แต่กลับรู้สึกทุกข์แสนสาหัส เพราะการคำนวณชีวิตผิดพลาด แบบนี้ต้องทำไง ชาวเน็ตชี้ทางสว่าง แก้ได้ก่อนจะสายเกินไป
คนทำงานก็ล้วนแล้วแต่ใฝ่ฝันอยากก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และได้รับเงินเดือนสูง ๆ เพราะเงินที่มากขึ้น ก็ช่วยยกระดับชีวิตให้ดีขึ้นได้ แต่อีกมุมหนึ่งก็ไม่มีใครรู้ว่า การได้เงินเดือนสูง ๆ ก็ทำให้มีความทุกข์ได้เช่นกัน
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 คุณ สมาชิกหมายเลข 5094026 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีการเล่าเรื่องราวการได้รับการขึ้นเงินเดือนไปอยู่ในระดับ 80,000 บาทเป็นครั้งแรก หลังจากที่เขาย้ายไปทำงานที่บริษัทใหม่ แต่กลับได้รับความเจ็บปวดเข้ามาแทน เรื่องนี้หลายคนคงสงสัย เงินเดือนเยอะขึ้นแล้วมันเจ็บปวดได้ยังไง ซึ่งเจ้าของกระทู้ก็มีเหตุผลของตัวเองอยู่
เดิมนั้นเงินเดือนของเขาอยู่ที่ 60,000 บาท พอขึ้นเงินเดือนไปอยู่ในระดับ 80,0000 บาท กลับถูกหักภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้ต่อเดือนเหลือใช้จริง ๆ ราว 70,000 บาทเท่านั้น โดนหักภาษีประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ถ้าหากคิดเป็นรายปีก็ 120,000 แสนบาทต่อปี
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 คุณ สมาชิกหมายเลข 5094026 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีการเล่าเรื่องราวการได้รับการขึ้นเงินเดือนไปอยู่ในระดับ 80,000 บาทเป็นครั้งแรก หลังจากที่เขาย้ายไปทำงานที่บริษัทใหม่ แต่กลับได้รับความเจ็บปวดเข้ามาแทน เรื่องนี้หลายคนคงสงสัย เงินเดือนเยอะขึ้นแล้วมันเจ็บปวดได้ยังไง ซึ่งเจ้าของกระทู้ก็มีเหตุผลของตัวเองอยู่
เดิมนั้นเงินเดือนของเขาอยู่ที่ 60,000 บาท พอขึ้นเงินเดือนไปอยู่ในระดับ 80,0000 บาท กลับถูกหักภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้ต่อเดือนเหลือใช้จริง ๆ ราว 70,000 บาทเท่านั้น โดนหักภาษีประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ถ้าหากคิดเป็นรายปีก็ 120,000 แสนบาทต่อปี
สำหรับสาเหตุสำคัญที่โดนหักเพิ่มแบบก้าวกระโดด สามารถอธิบายได้ดังนี้
- เดิมนั้นเจ้าของกระทู้มีรายได้ประมาณ 60,000 บาทต่อเดือน หรือต่อปีราว 720,000 บาท อยู่ในระดับอัตราภาษี 15% (รายได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาทต่อปี)
- เมื่อเงินเดือนขึ้นเป็น 80,000 บาท คิดเป็นรายปีคือ 9.6 แสนบาท ก็ขยับไปอยู่ระดับอัตราภาษี 20% (รายได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาทต่อปี)
ปัจจุบันเขามีส่วนที่ลดหย่อนภาษีคือ หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท, หักลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท และดอกเบี้ยบ้าน 80,000 บาท
ชาวเน็ตแนะ ซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อน อีกส่วนเบรก อย่าซื้อมากเกิน
ทั้งนี้ เจ้าของกระทู้ค่อนข้างกลุ้มใจ เพราะการขึ้นเงินเดือนดูเหมือนจะเยอะ แต่เหลือเงินใช้จริงน้อยกว่าที่คิดเอาไว้ เนื่องมาจากเขาลืมคิดส่วนต่างภาษีที่กระโดดขึ้นมา แถมการที่ย้ายงานก็มีความรับผิดชอบมากขึ้นพอสมควร ค่าใช้จ่ายในการทำงานก็เพิ่มด้วย ตอนนี้มีเพียงดอกเบี้ยบ้านที่พอมาลดหย่อนได้เท่านั้นราว 80,000 บาท
ด้านชาวเน็ตที่มีประสบการณ์เงินเดือนระดับนี้ ต่างเข้ามาให้คำแนะนำว่า ให้เขาคำนวณเรื่องการลดหย่อนภาษีให้ดี บางคนที่เงินเดือนระดับนี้ ได้ซื้อทั้งประกันแบบบำนาญ RMF SSF TSEG โดยแต่ละอย่างคือซื้อเต็มอัตรายกเว้น TSEG แต่ยังลดหย่อนจนเหลือภาษีปีละ 2.9 แสนบาทเท่านั้น
ในขณะที่บางคนได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนอย่างเต็มที่ เช่นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหัก 15% ของเงินเดือน, ประกันชีวิตทำเต็มโควตา 100,000 บาทต่อปี, ซื้อประกันสุขภาพ จนกระทั่งตอนนี้จ่ายภาษีแค่เดือนละ 3,000 บาท หากได้โบนัสอาจจะจ่ายภาษีที่ 20,000 บาท
อย่างไรก็ตาม บางคนก็เตือนเรื่องการลงทุนเยอะ ๆ ว่า อย่าคิดลดหย่อนเยอะ ระวังติดกับดักกองทุน เพราะการลงกองทุนหลายตัวแล้วเกิดผิดพลาด หุ้นไทยหยุดนิ่งมากว่า 10 ปี และต้องเสียค่าจัดการกองทุนบางครั้งมีโอกาสขาดทุนมากกว่าภาษีที่เสียไปให้รัฐ
คาด เจ้าของกระทู้คำนวณผิดหรือเปล่า เงินเดือนเพิ่มก็จริง ไม่ได้เสียภาษีต่างจากฐานเดิม
อย่างไรก็ตาม ได้มีคนมาบอกว่า เจ้าของกระทู้อาจจะคำนวณภาษีผิด แม้เงินเดือนจะเพิ่มมาถึง 20,000 บาท แต่เมื่อคำนวณจริง ๆ อาจจะไม่ถึงขั้นภาษี 20% อย่างที่คิด โดยหากเอาเงินเดือนเดิม 60,000 บาท คำนวณและหักลดหย่อนทุกอย่างแล้ว รายรับจริงหลังหักภาษีจะอยู่ที่ 57,950 บาท ในขณะที่เงินเดือนใหม่ 80,000 บาท รายรับจริงหลังหักภาษีจะอยู่ที่ 75,070.84 บาท ส่วนต่างภาษีที่ต้องจ่ายจริงคือประมาณเดือนละ 3,000 จากเงินเดือนเดิม
การที่เจ้าของกระทู้รู้สึกว่าโดนหักเยอะ อาจจะเป็นเพราะบริษัทหักภาษีโดยคำนวณจากยอดเงินเดือนเต็ม โดนไม่หักลดหย่อนให้ก่อน จากนั้นสิ้นปีค่อยให้เจ้าของกระทู้ไปขอเงินคืนเอง หากเป็นแบบนี้จะรู้สึกว่าหักเยอะ อาจจะต้องไปลองคุยกับบริษัทดูว่า ให้เขาคำนวณภาษีโดยคิดค่าลดหย่อนไปเลยตั้งแต่แรกอาจจะดีกว่า