กทม. เตรียมรับฝน สัญญาณเปลี่ยนแปลงฤดูกาล กรมอุตุฯ เตือนหลายภาคเจอฝน 17 - 23 กุมภาพันธ์
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกมาเปิดเผย กรณีที่หลายคนสงสัยว่าทำไมเช้านี้ ที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ถึงมีฝนหรือฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยสาเหตุเนื่องจากวันนี้เช้าตรู่มีลมฝ่ายใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ (ลมที่พัดมาจากอ่าวไทย) ซึ่งนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับลมระดับบน มีกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ ลมเริ่มเปลี่ยนทิศทาง จากเดิมที่เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล
ซึ่งปกติ กลางเดือนกุมภาพันธ์ จะเริ่มปรากฎชัดขึ้น ส่วนจะเข้าสู่ฤดูร้อนตามเงื่อนไขช่วงใด ต้องติดตามประกาศอย่างเป็นทางการจากกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้ง คาดว่าจะประมาณปลายเดือนนี้
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยภาคเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก
คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
วันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงทำให้มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง
สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 17 - 19 กุมภาพันธ์ ทำให้ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ข้อควรระวัง : ในช่วงวันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกมาเปิดเผย กรณีที่หลายคนสงสัยว่าทำไมเช้านี้ ที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ถึงมีฝนหรือฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยสาเหตุเนื่องจากวันนี้เช้าตรู่มีลมฝ่ายใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ (ลมที่พัดมาจากอ่าวไทย) ซึ่งนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับลมระดับบน มีกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ ลมเริ่มเปลี่ยนทิศทาง จากเดิมที่เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล
ซึ่งปกติ กลางเดือนกุมภาพันธ์ จะเริ่มปรากฎชัดขึ้น ส่วนจะเข้าสู่ฤดูร้อนตามเงื่อนไขช่วงใด ต้องติดตามประกาศอย่างเป็นทางการจากกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้ง คาดว่าจะประมาณปลายเดือนนี้
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยภาคเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก
คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
วันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงทำให้มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง
สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 17 - 19 กุมภาพันธ์ ทำให้ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ข้อควรระวัง : ในช่วงวันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมอุตุนิยมวิทยา