พระเกี้ยวบนรถกอล์ฟ ดราม่าไม่จบ แม้งานบอลจะจบแล้ว ล่าสุดหมอทหารประกาศรับไม่ได้ ไม่ให้นิสิตจุฬาฯ มาฝึกงานด้วย จนคนวิจารณ์สนั่น ด้าน อ.เข็มทอง แนะทางออกเด็ด แก้ปัญหาไม่มีคนแบกเสลี่ยงอัญเชิญพระเกี้ยว
ภาพจาก สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
แม้ว่างานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ 2567 หรือ CU-TU Unity Football Match 2024 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2567 จะจบลงไปแล้วด้วยสกอร์ 0-0 แต่ควันหลงยังมีมาไม่ขาด โดยเฉพาะในปีนี้ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบงานบอลแบบใหม่ ที่ไม่มีการเกณฑ์คนมาขึ้นสแตนด์เชียร์ แต่ใช้จอ LED แปรอักษร พร้อมกับขบวนพาเกรด Unity to sustainability
อย่างไรก็ตาม ได้เกิดดราม่าตามมาอย่างหนักหน่วง กับการอัญเชิญพระเกี้ยว สัญลักษณ์ของจุฬาฯ ที่ทุกปีจะมีนิสิตที่ได้รับการคัดเลือก ขึ้นเสลี่ยงเพื่ออัญเชิญพระเกี้ยว ซึ่งในปีนี้กลับเป็นการเอาพระเกี้ยวขึ้นรถกอล์ฟ ตกแต่งพอประมาณ และแห่ไปรอบสนาม สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้ศิษย์เก่าบางส่วน โดยเฉพาะ ม.จ.จุลเจิม ที่ออกมาฉะเรื่องนี้อย่างถึงพริกถึงขิง
อ่านเพิ่มเติม ม.จ.จุลเจิม โพสต์สวดนิสิตจุฬาฯ เอาพระเกี้ยววางบนหลังคารถกอล์ฟ รับตรง ๆ เ-อก
ล่าสุด 2 เมษายน 2567 พ.อ. รศ. นพ.วิภู กำเหนิดดี หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู วิทยาลัย แพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ได้โพสต์ภาพพระเกี้ยวบนรถกอล์ฟ และข้อความว่า "สวัสดีครับ น้อง ๆ แพทย์ใช้ทุนที่จบจากที่นี่ ผมเตือนด้วยความหวังดีว่า อย่ามาสมัครเรียนกับผมนะครับ ไม่ชอบ โชคดีครับ" จนทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ตามมา ทั้งเรื่องของการวางพระเกี้ยวบนหลังคารถกอลืฟอย่างไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และพุ่งเป้าไปวิจารณ์หมอวิภูที่แยกไม่ออกระหว่างเรื่องหน้าที่ในความเป็นหมอ และเรื่องการอัญเชิญพระเกี้ยว ทั้งที่การเป็นหมอนั้น ต้องห้ามเลือกปฏิบัติต่อเพศ ศาสนา สีผิว ชนชาติ หรือแนวคิดทางการเมือง
ในขณะเดียวกัน ผศ. ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาเสนอวิธีการที่ได้ผล และจบปัญหาเกณฑ์นิสิตมาตากแดดเพื่อแบกพระเกี้ยวว่า "ถ้าเราแบกพระเกี้ยว ก็ต้องเกณฑ์แรงงานกันทุกปี แต่ถ้าเราเอาศิษย์เก่าและผู้หลักผู้ใหญ่ที่รับไม่ได้เรื่องแบกพระเกี้ยว เราจะมีแรงงานพอ แบกจากเบตงไปแม่สอด กลับมาสัก 5 รอบก็คงจะได้
"แต่ก็อยากจะฝากไว้ ว่าจริง ๆ แล้วพระเกี้ยวที่อยู่บนรถกอล์ฟนั่น นิสิตจัดงานเขาไม่ได้เอามาวางสั่ว ๆ แบบที่หลายคนจินตนาการไป เพราะเขามีการออกแบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ จริงจัง ในงานเขาก็มีบรรยายไว้ สัญลักษณ์ของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ล้อมพระเกี้ยวไว้ตรงกลาง หมายถึงอะไร ๆ ล้วนแต่มีความหมายสร้างสรรค์ ซึ่งทั้งหมดนี้หายไปเนื่องจาก IO จิตอาสาและมืออาชีพ จำเป็นต้องใส่ร้ายป้ายสีเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อรักษาอำนาจนำตัวเองให้นานที่สุด จนต้องทำการน่าบัดสีอุบาทว์เช่นนี้ ก็อยากให้ลองอ่านดูรายละเอียดงานด้วย
สุดท้ายแล้ว เมื่อวานอากาศใน กทม. สูงเกิน 40 องศา อย่างไรก็ไม่เหมาะกับงานหนักกลางแจ้ง ถ้ายังยืนยันจะให้จัดแบบเดิม ไปฝึกทหารใหม่ ยังจะปลอดภัยกว่าใช้ชีวิตในเงื้อมมือศิษย์เก่าจุฬาฯ ทั้งแท้และเทียม"
ภาพจาก สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
ภาพจาก สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
อย่างไรก็ตาม ได้เกิดดราม่าตามมาอย่างหนักหน่วง กับการอัญเชิญพระเกี้ยว สัญลักษณ์ของจุฬาฯ ที่ทุกปีจะมีนิสิตที่ได้รับการคัดเลือก ขึ้นเสลี่ยงเพื่ออัญเชิญพระเกี้ยว ซึ่งในปีนี้กลับเป็นการเอาพระเกี้ยวขึ้นรถกอล์ฟ ตกแต่งพอประมาณ และแห่ไปรอบสนาม สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้ศิษย์เก่าบางส่วน โดยเฉพาะ ม.จ.จุลเจิม ที่ออกมาฉะเรื่องนี้อย่างถึงพริกถึงขิง
อ่านเพิ่มเติม ม.จ.จุลเจิม โพสต์สวดนิสิตจุฬาฯ เอาพระเกี้ยววางบนหลังคารถกอล์ฟ รับตรง ๆ เ-อก
ล่าสุด 2 เมษายน 2567 พ.อ. รศ. นพ.วิภู กำเหนิดดี หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู วิทยาลัย แพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ได้โพสต์ภาพพระเกี้ยวบนรถกอล์ฟ และข้อความว่า "สวัสดีครับ น้อง ๆ แพทย์ใช้ทุนที่จบจากที่นี่ ผมเตือนด้วยความหวังดีว่า อย่ามาสมัครเรียนกับผมนะครับ ไม่ชอบ โชคดีครับ" จนทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ตามมา ทั้งเรื่องของการวางพระเกี้ยวบนหลังคารถกอลืฟอย่างไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และพุ่งเป้าไปวิจารณ์หมอวิภูที่แยกไม่ออกระหว่างเรื่องหน้าที่ในความเป็นหมอ และเรื่องการอัญเชิญพระเกี้ยว ทั้งที่การเป็นหมอนั้น ต้องห้ามเลือกปฏิบัติต่อเพศ ศาสนา สีผิว ชนชาติ หรือแนวคิดทางการเมือง
ในขณะเดียวกัน ผศ. ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาเสนอวิธีการที่ได้ผล และจบปัญหาเกณฑ์นิสิตมาตากแดดเพื่อแบกพระเกี้ยวว่า "ถ้าเราแบกพระเกี้ยว ก็ต้องเกณฑ์แรงงานกันทุกปี แต่ถ้าเราเอาศิษย์เก่าและผู้หลักผู้ใหญ่ที่รับไม่ได้เรื่องแบกพระเกี้ยว เราจะมีแรงงานพอ แบกจากเบตงไปแม่สอด กลับมาสัก 5 รอบก็คงจะได้
"แต่ก็อยากจะฝากไว้ ว่าจริง ๆ แล้วพระเกี้ยวที่อยู่บนรถกอล์ฟนั่น นิสิตจัดงานเขาไม่ได้เอามาวางสั่ว ๆ แบบที่หลายคนจินตนาการไป เพราะเขามีการออกแบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ จริงจัง ในงานเขาก็มีบรรยายไว้ สัญลักษณ์ของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ล้อมพระเกี้ยวไว้ตรงกลาง หมายถึงอะไร ๆ ล้วนแต่มีความหมายสร้างสรรค์ ซึ่งทั้งหมดนี้หายไปเนื่องจาก IO จิตอาสาและมืออาชีพ จำเป็นต้องใส่ร้ายป้ายสีเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อรักษาอำนาจนำตัวเองให้นานที่สุด จนต้องทำการน่าบัดสีอุบาทว์เช่นนี้ ก็อยากให้ลองอ่านดูรายละเอียดงานด้วย
สุดท้ายแล้ว เมื่อวานอากาศใน กทม. สูงเกิน 40 องศา อย่างไรก็ไม่เหมาะกับงานหนักกลางแจ้ง ถ้ายังยืนยันจะให้จัดแบบเดิม ไปฝึกทหารใหม่ ยังจะปลอดภัยกว่าใช้ชีวิตในเงื้อมมือศิษย์เก่าจุฬาฯ ทั้งแท้และเทียม"
ภาพจาก สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News