แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล สุดอันตราย
แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง
แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลจะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน
ผู้ถูกกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว
แมงมุมแม่หม้ายดำ เทียบกันแล้วก็น่ากลัว พิษร้ายเหมือนกัน
แมงมุมแม่หม้ายดำ กัดแล้วปล่อยพิษออกมาทั้งหมด เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ ปล่อยพิษออกมาในระดับมิลลิกรัม คือ 1 ส่วนในพันส่วน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก มติชนออนไลน์
หลังจากนายประสิทธิ์ วงษ์พรม นักวิจัยจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องแมงมุมในประเทศไทย ออกมาเปิดเผยว่า พบแมงมุมพิษชนิดหนึ่งชื่อ "แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" (Brown widow spider) ซึ่งเดิมพบแต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยแล้ว พร้อมกับระบุว่า แมงมุมชนิดนี้ มีพิษรุนแรงทำลายระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน พิษร้ายแรงกว่าพิษของ "แมงมุมแม่หม้ายดำ" (Black widow spider) 2 เท่า และร้ายแรงกว่าพิษงูเห่า 3 เท่า งานนี้ทำเอาหลายคนตระหนกตกใจถึงพิษที่ร้ายแรง พร้อมๆ กับอยากว่า "แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" มีพิษร้ายแรงขนาดไหน มีอาการอย่างไร และมีวิธีป้องกันรักษาแบบไหน วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปค้นหาคำตอบกันค่ะ . . .
ลักษณะของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล
"แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" (Brown widow spider) ส่วนใหญ่มักพบบริเวณประเทศสหรัฐอเมริกา แถบฟลอริดา แถบฟลอริดา, เท็กซัส และบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร ขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านบนมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ มีจุดสีดำสลับขาวตรงท้องข้างละ 3 จุด รวมเป็น 6 จุด จะมีการแปรผันของสีค่อนข้างเยอะ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม วางไข่ครั้งละ 200-400 ฟอง
อาการหลังโดนพิษแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล
ตามปกติแมงมุมชนิดนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ไม่โจมตีหรือบุกกัดใครอย่างไม่มีเหตุผล จะหลบมากกว่าสู้ และจะกัดเมื่อถูกรุกรานที่อยู่เท่านั้น ซึ่งพิษของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลจะมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต คล้ายกับพิษจากงู โดยทำให้เม็ดเลือดแตก หรือเลือดไหลไม่หยุด แต่อาจจะแสดงอาการช้ากว่า ส่วนใหญ่ผู้ถูกกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว คนที่ถูกกัดมักไม่ทราบว่าแผลดังกล่าวเกิดจากอะไร
ยารักษาพิษแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล
ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีเซรุ่มหรือยาถอนพิษ ทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะรักษาแบบประคับประคองตามอาการ และรอให้พิษหมดไปเอง เช่น ให้สารทำให้เลือดแข็งตัว หรือหากมีเลือดออกมาก อาจต้องมีการให้เลือดหรือฟอกไต โดยต้องดูตามอาการที่เกิดขึ้น สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น ให้ขันชะเนาะบริเวณเหนือบาดแผลที่ได้รับพิษ เพื่อไม่ให้พิษไหลเข้าสู่กระแสโลหิตก่อนไปพบแพทย์
ข้อแตกต่างของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลกับแมงมุมชนิดอื่นๆ
สำหรับความแตกต่างระหว่างแมงมุมทั่วไปกับแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลนั้น นอกจากลักษณะลำตัวแล้ว ให้สังเกตลักษณะการทำรังหรือการชักใย แมงมุมทั่วไปจะชักใยค่อนข้างสวยงามเป็นระเบียบ และชักใยอยู่ที่สูง เช่น ตามขื่อ ตามคาน หรือหลังคาบ้าน แต่แม่หม้ายน้ำตาลจะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน การป้องกันทำได้ด้วยการรักษาความสะอาดบ้าน อย่าปล่อยให้รกรุงรังก็จะปลอดภัย
สาเหตุการแพร่ระบาดของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล
ส่วนสาเหตุการแพร่ระบาดเข้ามายังประเทศไทยนั้น คาดว่าจะเข้ามากับเรือสินค้าเป็นหลัก และมีรายงานด้วยว่ามีพ่อค้าบางคนนำมาขายให้คนที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลก โดยไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ที่มีพิษร้ายแรง และเชื่อว่าขณะนี้แมงมุมดังกล่าวได้ขยายพันธุ์กระจายไปยังชุมชนต่างๆ รอบๆ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และอ่าวไทยตอนบนแล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานว่า เจอแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลชุกชุมที่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า มีผู้เสียชีวิตจากการถูกแม่หม้ายน้ำตาลกัด แต่มีรายงานการถูกกัดแล้วจากหลายพื้นที่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก