น้ำท่วมอุบล น้ำท่วมภาคอีสาน น้ำท่วมร้อยเอ็ด น้ำท่วมกาฬสินธุ์





ข่าวน้ำท่วม
น้ำท่วม


สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 ต.ค.- 28 พ.ย.

สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 ต.ค.- 28 พ.ย.


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม



          สถานการณ์อุทกภัย 20 พ.ย.ศชอ.รายงานว่า น้ำที่ท่วมขังในลุ่มแม่น้ำมูลลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีน้ำขังสูงที่ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด และได้ไปเพิ่มปริมาณขึ้นที่ อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ส่วนปริมาณน้ำชีนั้น ได้สั่งเฝ้าระวังที่ อ.เมือง อ.มหาชนะชัย อ.ค้อวัง และอ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร แล้ว โดยคาดว่าน้ำจะอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 2 สัปดาห์ และขอให้เตรียมอพยพคน สัตว์เลี้ยง และขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง

น้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 ต.ค.- 24 พ.ย.


น้ำท่วมภาคอีสาน

สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 ต.ค.- 20 พ.ย.

 



สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 ต.ค.- 18 พ.ย.


ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 พ.ย.

          สถานการณ์อุทกภัยวันที่ 18 พฤศจิกายน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. รายงานพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ ขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 16 จังหวัด 94 อำเภอ 714 ตำบล 5,345 หมู่บ้าน 416,601 ครัวเรือน 1,390,129 คน โดยในจำนวนนี้ แยกเป็นพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉัยงเหนือ ภาคตะวันออก และ ภาคกลาง 12 จังหวัด 49 อำเภอ 390 ตำบล 2,545 หมู่บ้าน 206,405 ครัวเรือน 718,031 คน พื้นที่การเกษตร ที่คาดว่า จะเสียหาย 6,316,156 ไร่ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นนทบุรี และ จังหวัดปทุมธานี

          และในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด 45 อำเภอ 324 ตำบล 2,800 หมู่บ้าน 210,206 ครัวเรือน 672,098 คน ได้แก่ จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ พัทลุง

น้ำท่วมร้อยเอ็ด

          นายไชยธนา ธาระจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอีโก่ม ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า ระดับน้ำท่วมสูงขึ้นวันนี้ 40-50 เซนติเมตร และกำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ นักเรียนจำนวน 40 คน ชาย 14 คน นักเรียนหญิง 26 คน ครู 4 คน ต้องนำคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาช่วยเก็บสิ่งของยกขึ้นที่สูง หลังจากลำน้ำชีเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่ฝนไม่ตก

          สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ต้องย้ายนักเรียนไปทำการเรียนการสอนที่ศาลาวัดบ้านอีโก่ม พร้อมจะทำรายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ทราบ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว ส่วนนักเรียนชาย-หญิง ได้ออกวิ่งเล่นตามน้ำ และออกเก็บไส้เดือนไว้เป็นเหยื่อตกปลา เพราะพบไส้เดือนหนีน้ำท่วมจำนวนนับหมื่นตัว

          ขณะที่นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เดินทางออกหน่วยเคลื่อนที่ ไปที่บ้านท่าสะแบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่บริเวณริมฝั่งลำน้ำชี พบว่าระดับน้ำสูงขึ้นมากในวันนี้ โดยมีนายพิบูลย์ แพนพา นายอำเภอทุ่งเขาหลวง นำหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชน ให้การต้อนรับ และรายงานสถานการณ์น้ำท่วม ในเวลานี้ด้วย โดยน้ำเริ่มท่วมสูงขึ้นถนนสายบ้านมะบ้า บ้านนางาม อีกไม่เกิน 5 ซ.ม. ถนนถูกตัดขาด บ้านวังทอง ระดับน้ำปริ่ม ๆ ขอบถนน และไม่เกิน 5 ซ.ม. เช่นเดียวกัน น้ำไหลเข้าหมู่บ้าน ส่วนนาข้าวกว่า 15,000 ไร่ ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเก็บเกี่ยวไม่ทันชาวบ้านต้องลุยน้ำเกี่ยวข้าว ด้วยแรงงานคน ช่วงเช้าน้ำระดับเอว ตอนนี้ระดับถึงอก ท่ามกลางอากาศที่อากาศที่หนาวเย็นมาก

          นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ได้ให้กำลังใจประชาชน ด้วยการช่วยเหลือประชาชน ทั้งระยะน้ำท่วมหลังน้ำท่วมต้องรวดเร็ว วันนี้น้ำเพิ่งจะมาถึงอำเภอเชียงขวัญ กำลังเข้าสู่อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเสลภูมิ อย่างน้อย 7-9 วัน ขอให้ช่วยนาเร่งเก็บข้าวด่วนด้วย

น้ำท่วมสุราษฎร์ธานี

ข่าวน้ำท่วม

ข่าวน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 ต.ค.- 17 พ.ย.



ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 พ.ย.

          กรมทรัพยากรน้ำยันน้ำโขงแห้งเป็นปกติช่วงย่างเข้าสู่หน้าหนาว แต่จะตรวจสอบที่ต้นน้ำอีกครั้ง ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมร้อยเอ็ดยังหนัก น้ำชีเอ่อเข้าท่วม อ.เชียงขวัญแล้ว ด้าน สธ.เร่งช่วยเหลือรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย

          นายบุญจง จรัสดำรงนิตย์ ผอ.ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง ที่ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เริ่มแห้งขอดผิดปกติ ว่า ช่วง เวลานี้เป็นช่วงเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูแล้ง ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะลดปริมาณลง เป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งจากการวัดปริมาณน้ำ ในแม่น้ำโขงทุกสถานีของศูนย์ ก็พบว่าปริมาณน้ำลดลงทุกแห่ง แต่ก็ยังถือว่าเป็นเกณฑ์ปกติของฤดูกาลนี้ อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์จะมีการตรวจสอบกับประเทศต้นน้ำ ทั้งจีนและลาวว่าปริมาณน้ำที่ต้นน้ำเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อเตรียมการรับมือฤดูแล้ง ที่จะมาถึงจริง ๆ อีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

          ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ว่า ขณะนี้ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 18 จังหวัด อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด กลาง 6 จังหวัด และใต้ 5 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 33 จังหวัด สถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบ 449 แห่ง เป็นโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 4 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 33 แห่ง สถานีอนามัย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 393 แห่ง และเป็นหน่วยงานสังกัดกรมและสถาบันพระบรมราชชนก อีก 19 แห่ง มูลค่าความเสียหายเป็นเงิน 222 ล้านบาท ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไปโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ เช่น รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.หาดใหญ่ และ รพ.ชัยภูมิ เป็นต้น

          สำหรับการเจ็บป่วยของผู้ประสบภัย ได้ออกให้บริการผู้ป่วยแล้ว 587,000 ราย โรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ น้ำกัดเท้า ร้อยละ 50.37 ไข้หวัดและระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 14.51 ปวดเมื่อย ร้อยละ 10.55 โรคผิวหนัง ร้อยละ 9.15 และโรคเครียด ร้อยละ 7.67

          สำหรับผู้เสียชีวิต เฉพาะที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูลจากวอร์รูมน้ำท่วมกระทรวงฯ เสร็จสิ้นแล้วมีจำนวน 201 คน ได้สั่งการให้ส่งทีมสุขภาพจิต ทั้งจากส่วนกลางและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เข้าไปเยียวยาครอบครัวของผู้เสียชีวิตดังกล่าว นอกจากนั้น ยังได้ส่งหน่วยแพทย์ด้านสุขภาพจิต เข้าไปดูแลติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีความเครียดวิตกกังวลที่ต้องติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จากเดิมที่มี 446 ราย แล้ว 2-3 รอบ พบว่าผู้ที่มีความเครียดลดลงเหลือ 241 ราย

น้ำท่วมร้อยเอ็ด

          สถานการณ์น้ำในแม่น้ำชี ที่เอ่อล้นฝั่งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร ได้ขยายพื้นที่ท่วมต่อในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่ออำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย แล้ว ล่าสุด วันนี้ (17 พ.ย.2553) พื้นที่ 6 ตำบล 66 หมู่บ้าน ในอำเภอเชียงขวัญ ถูกน้ำท่วมแล้ว 2 ตำบล 20 หมู่บ้าน, ตำบลพระธาตุ และตำบลพลับพลา หลายหมู่บ้านในบ้านวังยาว บ้านหนองแก่น ถูกน้ำท่วมจนถนนสัญจรไปมาไม่ได้ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ และปัญหาที่ส่งผลกระทบก็คือ นาข้าวหลายพันไร่ที่ถูกน้ำท่วมสูง ประมาณ 1.50 เมตร เสียหายแล้วประมาณ 10,000 ไร่ และส่วนที่เหลือกำลังประสบปัญหาเกี่ยวข้าวไม่ทัน เพราะน้ำท่วมจนเครื่องยนต์ที่เกี่ยวข้าวไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้

น้ำท่วมอุบลราชธานี

          สถานการณ์น้ำท่วมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ขณะนี้ น้ำในแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ได้ไหลมาบรรจบกันแล้ว ที่ อ.วารินชำราบ แต่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี ได้เตรียมพร้อม และนำเครื่องสูบน้ำกว่า 80 เครื่อง ไปสูบน้ำที่แก่งตะนะ และสูบน้ำชี กว่า 20 เครื่อง เก็บไว้ที่แก้มลิง เพื่อสำรองไว้ในฤดูแล้งต่อไป

          ทั้ง นี้ นายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จากการขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจสภาพน้ำในแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล คาดว่าอีกไม่นานระดับน้ำจะกลับสู่เข้าสภาวะปกติ และขอเตือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ระวังโรคมากับน้ำ เช่น โรคฉี่หนู โรคตาแดง เป็นต้น

         

ข่าวน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 ต.ค.- 15 พ.ย.

ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 พ.ย.

บุรีรัมย์น้ำลดต่อเนื่อง 13 ร.ร.เปิดแล้ว

          น้ำท่วม จ.บุรีรัมย์ ลดลงต่อเนื่อง 13 โรงเรียน เปิดแล้ว ผอ.สพป. เขต 4 เผย อุปกรณ์การเรียน เสียหายนับ 10 ล้านบาท เตรียมของบซ่อมแซม

          สถานการณ์น้ำท่วม พื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด โรงเรียน 14 แห่ง ที่ได้รับผลกระทบจากลำน้ำมูลเอ่อท่วม ทยอยเปิดทำการเรียนการสอนแล้ว 13 แห่ง ส่วน โรงเรียนบ้านบุ่งเบา อำเภอพุทไธสง ล่าสุด ระดับน้ำยังท่วมขังอยู่ประมาณ 30 ซ.ม. ซึ่งขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการหารือของคณะผู้บริหาร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน เนื่องจาก ได้มีการเลื่อนเปิดภาคเรียนมาแล้ว ถึง 2 สัปดาห์ ด้าน นายธีรวุฒิ พุทธการี ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ระบุว่า ขณะนี้ จากการสำรวจมูลค่าความเสียหายของอาคารเรียนและวัสดุอุปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ ของโรงเรียน ทั้ง 14 แห่ง ที่ถูกน้ำท่วม คาดว่า เสียหายไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งได้รายงานความเสียหาย ไปยัง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณมาดำเนินการซ่อมแซมวัสดุคุรุภัณฑ์ ที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้การได้ตามปกติต่อไป

น้ำท่วมร้อยเอ็ด 15-17 พ.ย. น้ำชีจะยังสูงขึ้น

          นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เปิดเผยว่า สำหรับสาเหตุความเสียหาย พื้นที่ที่น้ำท่วมในเขตพื้นที่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด สรุปล่าสุด จากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีความเสียหายในพื้นที่ 6 อำเภอ คืออำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเชียงขวัญ จากลำน้ำชี ที่อำเภอสุวรรณภูมิ โพนทราย อำ เภอหนองฮี อันเกิดจากลำน้ำมูล แยกเป็นความเสียหาย จากน้ำท่วมที่พักอาศัย 3 อำเภอ 7 ตำบล 25 หมู่บ้าน 677 ครัวเรือน เป็นพื้นที่การเกษตร 6 อำเภอ 17 ตำบล 118 หมู่บ้าน 30,857 ไร่ บ่อปลาเสียหาย 44 บ่อ ถนนถูกน้ำท่วมจำนวน 98 สาย

          ในขณะนี้ โครงการชลประทานร้อยเอ็ด สรุปแนวโน้มความเสียหายจากวันนี้ ถึงวันที่ 17 ลำน้ำชี จะยังสูงขึ้น ท่วมพื้นที่ริมฝังลำน้ำชี นอกพื้นที่ ทำพนังกั้นน้ำในเขตพื้นที่ตำบลผักแว่น ตำบลม่วงลาด ตำบลแสนชาติ ตำบลดงสิงห์ และ ตำบลดินดำ อำเภอจังหาร โดยระดับลำน้ำชีที่อำเภอจังหาร เป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์ และระดับน้ำท่วมสูง 1.26 เมตร มีแนวโน้มจะท่วมสูงขึ้นอีก 10-15 ซ.ม. โดยเป็นระยะ 5-7 วันข้างหน้า จะส่งระดับลำน้ำชี ในเขตพื้นที่อำเภอโพธิ์ชัย สู่ขวัญ จะมีระดับน้ำสูงขึ้นตามลำดับไปด้วย ส่วนการวัดระดับน้ำ ที่บ้านท่าตะบอง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีแนวโน้มจะสูงขึ้นวันละ 8-15 ซ.ม. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

          ด้านชาวบ้าน อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ยังต้องเผชิญความลำบากกับปริมาณน้ำชีที่เพิ่มสูงเรื่อย ๆ โดยชาวบ้านทั้ง 8 ตำบลยังต้องเสริมคันพนังกั้นนำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมนาข้าวเสียหาย และชาวบ้านบางส่วนได้อพยพมาอาศัยบนคันพนังกั้นน้ำแทน

          ขณะที่น้ำชียังได้เอ่อเข้าท่วมต.พระธาตุ และ ต.พลับพลา อ.เชียงขวัญ ด้วย โดยชาวบ้านต้องรีบช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าว พร้อมกับกินข้าวไปกลางนา เพราะเกรงว่าน้ำจะท่วมเสียหาย



น้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 ต.ค.-13 พ.ย.



ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 พ.ย.

          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. รายงานผลสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 13 พฤศจิกายน ว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบปัญหาอยู่ทั้งสิ้น 13 จังหวัด 57 อำเภอ 418 ตำบล 2,852 หมู่บ้าน 240,370 ครัวเรือน 827,599 คน

          พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 6,316,156 ไร่ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นนทบุรี และปทุมธานี และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 152 ราย


น้ำท่วมกาฬสินธุ์

          นายถาวร กุลโชติ ปลัดจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่อาสารักษาดินแดน กว่า 50 นาย และชาวบ้านช่วยกันเกี่ยวข้าวในนาที่ออกร่วง เพื่อลดความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ทั้งนี้ กำลังเจ้าหน้าที่ อส. ได้ช่วยชาวบ้านทำการเกี่ยวข้าว และขนสัมภาระหนีน้ำที่กำลังหนุนสูง เนื่องจากระดับน้ำแม่น้ำชี ที่หนุนยาวนานกว่า 3 สัปดาห์ ทำให้เกิดรอยรั่วบนพนังหลายแห่ง

          โดยปลัดจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ ขณะนี้ ทำได้เพียงการชะลอน้ำชีที่ไหลทะลักจากจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดขอนแก่น ซึ่งระดับน้ำเพิ่มขึ้นทุกวัน เฉลี่ยวันละ 50 ซ.ม. ความหนาแน่นของน้ำทำให้น้ำไหลเข้าซึม เพราะระดับน้ำที่หนุน ทำให้ดินที่อยู่ใต้พนังเริ่มสไลด์ตัว จึงต้องการให้ชาวบ้าน ได้เฝ้าติดตามระดับความสูงของน้ำ

          ด้าน พ.ท.ณัฐถาภูมิ นิกร ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 14 ค่ายเปรมติณสูลานนท์ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ยังได้นำกำลังทหาร เข้าทำการค้นหาผู้ประสบภัย ตามหมู่บ้านและทำการอุดรอยรั่วตามพนังกั้นน้ำ ทำให้ประชาชนที่ประสบภัยมีกำลังใจ พร้อมกับจัดเวรยามเฝ้าพนังกั้นน้ำตลอด 24 ช.ม.

          ด้าน นายธนาวุฒิ ทองทวี นายอำเภอฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ชาวบ้านที่นี่รู้สึกโล่งใจ หลังระดับน้ำเริ่มทรงตัว ล่าสุดน้ำขึ้นเพียง 2 ซม. คาดว่า 3 - 4 วัน สถานการณ์จะกลับสู่ปกติ อย่างไรก็ตามภายหลังจากวิกฤตผ่านพ้นไป ชาวนาบางส่วนได้นำเครื่องสูบน้ำ มาสูบน้ำออกจากนาข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขังนาข้าวนานเกินไป จนต้นข้าวที่อยู่ในช่วงจะเก็บเกี่ยวเน่าตาย สำหรับความเสียหายที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเบื้องต้นประมาณ 109 ล้านบาท บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วม 174 หลังคาเรือน นาข้าวเสียหายทั้งจังหวัดจำนวน 51,000 ไร่

น้ำท่วมอยุธยา

          สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยทั่วไปลดระดับลงอย่างต่อเนื่องวันละ 4-5 ซ.ม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำทะเลหนุนในแต่ละวัน ในส่วนของ อ.บางบาล อ.เสนา อ.ผักไห่ อ.บางไทร และ อ.บางปะอิน

          ทั้งนี้ระดับน้ำยังสูง ถนนบ้านเรือนประชาชนยังจมน้ำ โดยเฉพาะทุ่งอำเภอบางบาล รวม 4 ตำบล ได้แก่ ต.วัดตะกู ต.สะพานไทย ต.ทางช้าง และ ต.น้ำเต้า ซึ่งอยู่ในโครงการแก้มลิง รับน้ำไม่ให้ท่วม กทม.ระดับน้ำยังไม่ลง ประชาชนยังคงได้รับความเดือดร้อน ต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะสัญจรติดต่อกับโลกภายนอกเพียงอย่างเดียว หลังถูกน้ำท่วมนานกว่า 2 เดือน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เริ่มอยู่ในอาการเครียดที่ต้องนั่งจับเจ่า ภายในบ้านที่เจิ่งนองไปด้วยน้ำ

 

น้ำท่วม

น้ำท่วม


น้ำท่วม

น้ำท่วม


น้ำท่วม

น้ำท่วม


น้ำท่วม
น้ำท่วม










อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
         และ รายการเรื่องเด่นเย็นนี้               


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
น้ำท่วมอุบล น้ำท่วมภาคอีสาน น้ำท่วมร้อยเอ็ด น้ำท่วมกาฬสินธุ์ อัปเดตล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2553 เวลา 13:35:13 41,151 อ่าน
TOP
x close