x close

สุดฮือฮา พบหางไดโนเสาร์ ในก้อนอำพัน อายุมากกว่า 100 ล้านปี



หางไดโนเสาร์ทีเรกซ์

           นักวิทย์ฯ ตะลึง พบชิ้นส่วนหางไดโนเสาร์ ฝังตัวค่อนข้างสมบูรณ์ในก้อนอำพัน คาดอายุมากกว่า 100 ล้านปี 

           วันที่ 9 ธันวาคม 2559 เว็บไซต์มิเรอร์ เผยรายงานการค้นพบครั้งสำคัญและสุดน่าอัศจรรย์ เป็นชิ้นส่วนหางของไดโนเสาร์ ฝังตัวอยู่ในก้อนอำพัน ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีทั้งร่องรอยของเลือดเลือดและเส้นขนที่เป็นสีดั่งเดิมรวมอยู่ด้วย คาดอายุมากนับ 100 ล้านปี
           โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า เป็นของไดโนเสาร์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในสกุลไดโนสาร์ประเภทเทอโรพอด ที่มีไทแรนโนซอรัส เรกซ์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ทีเรกซ์ รวมอยู่ด้วย ซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปเอเชียเมื่อ 99 ล้านปีก่อน

หางไดโนเสาร์ทีเรกซ์

           สำหรับก้อนอำพันที่พบนั้น เกิดจากยางไม้ที่แข็งตัวจนกลายเป็นก้อน ถูกพบครั้งแรกที่ตลาดในเมืองมิตจีนา รัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา เมื่อปีที่แล้ว ก่อนจะถูกนำไปเสนอขายให้กับผู้ชอบสะสมเพชรพลอยหายาก ซึ่งแต่เดิมถูกเข้าใจว่าเป็นเพียงวัสดุจากพืชที่ผิดธรรมชาติ

           ทว่าหลังจาก การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรส์โดยนักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า เป็นชิ้นส่วนของหางไดโนเสาร์ โดยดร.ไรอัน แมคเคลเลอร์ นักบรรพชีวินวิทยา พิพิธภัณฑ์รอแยลซัสคัทเชวัน ประเทศแคนาดา เผยว่า แม้จะการตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างกระดูกแล้วมั่นใจว่าไม่ใช่นก

หางไดโนเสาร์ทีเรกซ์

           ขณะเดียวกัน ศาสตราจารย์ไมค์ เบนตัน จากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ มหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษ เผยว่า เป็นเรื่องที่น่าอัจรรย์มากที่ได้เห็นหางไดโนเสาร์ ไปติดกับยางไม้ในลักษณะเช่นนี้ ไม่เคยคาดคิดว่าไดโนเสาร์จะมีการสลัดขน เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน

ภาพจาก Royal Saskatchewan Museum, phys.org


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สุดฮือฮา พบหางไดโนเสาร์ ในก้อนอำพัน อายุมากกว่า 100 ล้านปี อัปเดตล่าสุด 9 ธันวาคม 2559 เวลา 19:18:44 36,786 อ่าน
TOP