x close

ฮือฮา นักโบราณคดีขุดพบแนวอิฐ เชื่อคือ "เวียงแก้ว" วังหลวงนครเชียงใหม่

กำแพงเวียงแก้ว

          นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ขุดพบแนวอิฐขนาดกว้างเฉลี่ย 1.8 เมตร คาดเป็นฐานรากกำแพงเวียงแก้ว วังหลวงนครเชียงใหม่

          วันที่ 16 มกราคม 2560 มีรายงานว่า นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ เปิดเผยความคืบหน้าผ่านเฟซบุ๊ก กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรณีการขุดแต่งทางโบราณคดีในพื้นที่เวียงแก้ว (ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิม) หลังมีการขุดพบแนวอิฐฐานรากกำแพงขนาดใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแนวฐานรากกำแพง ขนาดกว้างเฉลี่ย 1.8 เมตร วางตัวเป็นแนวยาวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีลักษณะทแยงมุมไปทางทิศเหนือเล็กน้อย เมื่อนำลักษณะการวางตัวของแนวอิฐที่พบมาวิเคราะห์ร่วมกับผลจากการศึกษาทางธรณีฟิสิกส์ และการซ้อนทับภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่โบราณเมืองเชียงใหม่ ฉบับปี พ.ศ. 2436 พบว่าแนวอิฐดังกล่าวมีลักษณะการวางตัวสอดคล้องกับแนวกำแพงเวียงแก้วส่วนทางด้านทิศใต้
กำแพงเวียงแก้ว

          โดย นักโบราณคดี เผยว่า แนวฐานรากกำแพงดังกล่าวอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของแนวกำแพงเวียงแก้ว แต่เป็นเพียงข้อมูลเชิงสันนิษฐาน ซึ่งการดำเนินการขุดแต่งครั้งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ และหากพบข้อมูลที่สามารถนำมาสนับสนุนหรือโต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ได้ก็จะรายงานเพิ่มเติมให้ทราบต่อไป

          ทั้งนี้ เวียงแก้ว เป็นเขตพระราชฐานของเวียงเชียงใหม่ ตั้งอยู่กลางเวียงค่อนไปทางเหนือของเวียงเชียงใหม่ สันนิษฐานว่า สร้างมาพร้อมกับการสร้างเวียงเชียงใหม่ของพญามังราย ซึ่งภายในเวียงแก้วเดิม มีกำแพงแบ่งอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนเหนือ ส่วนใต้ และส่วนตะวันออก ภายในเวียงแก้วแต่ละส่วนประกอบไปด้วยหมู่อาคารราชมณเฑียร

กำแพงเวียงแก้ว

กำแพงเวียงแก้ว

กำแพงเวียงแก้ว

กำแพงเวียงแก้ว

ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่, wikipedia

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ฮือฮา นักโบราณคดีขุดพบแนวอิฐ เชื่อคือ "เวียงแก้ว" วังหลวงนครเชียงใหม่ อัปเดตล่าสุด 16 มกราคม 2560 เวลา 11:34:00 31,267 อ่าน
TOP