วันเกิด เซอร์ ไอแซก นิวตัน โลโก้กูเกิ้ลวันนี้


birthday of sir Isaac Newton
birthday of sir Isaac Newton

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย 

          เห็นภาพแอปเปิ้ลตกลงมาจากต้น เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ google วันนี้แล้วก็ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะวันนี้ 4 มกราคม เมื่อ 367 ปีที่แล้ว เป็นวันเกิดของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน หรืออย่างที่ google เขียนว่า  birthday of sir Isaac Newton นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังที่เชื่อว่า หากเอ่ยชื่อแล้วเด็ก ๆ ประถมทุกคนต้องรู้จัก แต่ถ้าใครจำไม่ได้ว่า เซอร์ ไอแซก นิวตัน เป็นใคร มีผลงานอะไรเด่น ๆ วันนี้กระปุกมีเรื่องราว birthday of sir Isaac Newton มาฝากกันด้วยล่ะค่ะ

          เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) หรือ ไอแซค นิวตัน นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1643 หรือ พ.ศ.2186 หรือเมื่อ 367 ปีที่แล้ว (ตามปฏิทินเกรกอเรียน ขณะที่ในปฏิทินจูเลียน จะระบุว่า เซอร์ ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1642) โดย ไอแซค นิวตัน เกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งหากเทียบกับประเทศไทยแล้ว ตรงกับช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

          เมื่อ เซอร์ ไอแซค นิวตัน เกิดนั้น ไม่มีคาดว่า เซอร์ ไอแซค นิวตัน จะรอดชีวิต เพราะคลอดก่อนกำหนด แต่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ก็รอดชีวิตได้ และอาศัยอยู่กับยาย ส่วนพ่อของ เขาเสียชีวิตก่อนที่เขาจะเกิด ขณะที่แม่ได้แต่งงานใหม่ ตอน เซอร์ ไอแซค นิวตัน อายุได้ 3 ขวบ แต่เมื่อสามีคนที่ 2 เสียชีวิต เซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้ย้ายมาอยู่กับแม่อีกครั้ง เมื่ออายุ 11 ขวบ


เซอร์ ไอแซค นิวตัน

          เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้ศึกษาที่โรงเรียนหลวงแกรนแธม และได้เรียนต่อที่ทรินิตีคอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในฐานะนิสิตยากจนที่ต้องทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิชาการ เพื่อหาเงินมาเป็นค่าเล่าเรียน ก่อนที่เขาจะเรียนจบปริญญาตรีได้ ซึ่งในช่วงนั้น เซอร์ ไอแซค นิวตัน  ก็ยังไม่ได้แสดงความโดดเด่นทางด้านวิชาการออกมา จากนั้น เซอร์ ไอแซค นิวตัน คิดจะเรียนต่อปริญญาโท แต่ตรงกับช่วงกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน ทำให้มหาวิทยาลัยปิด และไม่มีการเรียนการสอน

          ระหว่างที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน รอการศึกษาปริญญาโทนั้น เขาได้อยู่บ้านและศึกษาเรื่องธรรมชาติของแสงสว่าง จนได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้น รวมทั้งทดลองและค้นพบว่าแสงเป็นคลื่น สามารถหักเหได้ โดยมีคลื่นความถี่ต่างกัน มีสีแตกต่างกัน เมื่อผ่านปริซึมสามารถแยกสีออกจากกันได้ ซึ่งการค้นพบของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ครั้งนี้ กลายมาเป็นพื้นฐานของการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้องแสงที่สมบูรณ์ ในอนาคตของวิลเลียม เฮอร์เชล และ เอิร์ลแห่งโรส ในเวลาต่อมา

          เซอร์ ไอแซค นิวตัน กลับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2210 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ในทรินิตีคอลลเลจ ก่อนจบปริญญาโทในปี พ.ศ. 2211 จากนั้น เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้เข้ารับตำแหน่ง "เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน" แทน ไอแซก บาร์โรว์ ผู้เป็นอาจารย์ และการปาฐกถาของเขา ทำให้เกิดตำรา "ทัศนศาสตร์" เล่ม 1

          เซอร์ ไอแซค นิวตัน ทำงานในฐานะนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งนักดาราศาสตร์ ด้วย โดย เซอร์ ไอแซค นิวตัน มีผลงานมากมายที่ทุกคนรู้จัก เช่น กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน , แคลคูลัส , ทฤษฎีไบโนเมียล ซึ่งผลงานทั้งหลายเหล่านี้ทำให้ เซอร์ ไอแซค นิวตัน เป็นศาสตราจารย์ด้วยวัยเพียง 27 ปี


เซอร์ ไอแซค นิวตัน


          แต่การค้นพบที่ทำให้ เซอร์ ไอแซค นิวตัน โด่งดังและได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ การค้นพบ แรงโน้มถ่วง หรือ ความโน้มถ่วงสากล ที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้เห็นการหล่นของผลแอปเปิ้ล ขณะนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ทำให้สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมวัตถุทั้งหลายจึงตกลงสู่เบื้องล่าง และแรงที่กระทำระหว่างวัตถุกับโลกขึ้นกับอะไรบ้าง  รวมทั้งทำไมดวงจันทร์จึงโคจรรอบโลกโดยไม่หลุดลอยออกไป ซึ่งผลงานวิจัยเหล่านี้ของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน  ถือเป็นผลงานระดับสุดยอด จน เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้รับการยกย่องให้เป็นนักวิจัยชั้นนำ

          ต่อมา เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์ เนื่องจากมีความซื่อสัตย์ และเฉลียวฉลาด จึงเป็นที่ไว้วางใจของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ที่มอบหมายให้ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ต่อสู้กับการปลอมแปลงเหรียญกษาปณ์ในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2242 นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการ และถัดมาอีก 2 ปี ก็ได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย

          และด้วยความที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน เป็นคนถ่อมตัว ไม่อวดอ้างสิ่งที่ค้นพบให้โลกรู้ ทำให้  เอดิมันด์ ฮัลเลย์ นักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในการค้นพบดาวหางฮัลเลย์ รู้สึกเสียดายผลงานของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้ขอร้องให้ เซอร์ ไอแซค นิวตัน รวบรวมผลงานที่ค้นคว้าและเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยฮัลเลย์เป็นผู้ช่วยสนับสนุนในการจัดพิมพ์หนังสือที่มีชื่อว่า PRINCIPIA ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็ได้กลายเป็นสมบัติล้ำค่าของมนุษยชาติ ที่รวบรวมการค้นพบต่าง ๆ ของนิวตัน การค้นพบหลาย ๆ อย่างมีรากฐานมาจากกฎการเคลื่อนที่ และกฎแห่งแรงโน้มถ่วง ซึ่งฮัลเลย์ก็ได้ใช้กฎเกณฑ์เหล่านี้ จนทำให้ค้นพบดาวหาง และสามารถคำนวณวงโคจรของดาวหาง และพยากรณ์การกลับมาของดาวหางได้ถูกต้อง

          ชีวิตของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน อยู่กับความขัดแย้งกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นคู่ปรับ ทั้งโรเบิร์ต ฮุก ,ไลบ์นิซ และแฟลมสตีด ซึ่งมีการถกเถียง วิจารณ์งานตอบโต้กันเสมอมา จากนั้น นิวตัน ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับ เซอร์ เมื่ออายุ 60 ปี และใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่กับหลานสาวที่คอยดูแล โดย เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้คอยอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ มาโดยตลอด ก่อนที่ในปี พ.ศ.2246 เซอร์ ไอแซค นิวตัน จะได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภาราชบัณฑิตของอังกฤษที่ได้รับสมญาว่า "นายกสภาผู้กดขี่"

          เซอร์ ไอแซค นิวตัน เสียชีวิตในวันที่ 31 มีนาคม ปี ค.ศ. 1727 หรือ พ.ศ.2270 (ตามปฏิทินเกรกอเรียน ขณะที่ในปฏิทินจูเลียน ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1727) โดยศพของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ถูกฝังไว้ที่สุสานวิหารเวสมินเตอร์ และได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ไว้ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อให้สมเกียรติของนักวิทยาศาสตร์บุคคลสำคัญของโลกอย่างยิ่ง ที่ทิ้งผลงานมากมายในคนรุ่นหลังจดจำ อีกทั้งผลงานของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ยังเป็นพื้นฐานในนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ ต่อยอดศึกษา จนค้นพบทฤษฎี และงานวิจัยต่าง ๆ อีกด้วย

          และนี่ก็คือ เรื่องราวของ  เซอร์ ไอแซค นิวตัน จากโลโก้ google birthday of sir Isaac Newton บุคคลซึ่งเคยพูดไว้ว่า "ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์" นั่นเอง


 คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
- rmutphysics.com
- school.net.th




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วันเกิด เซอร์ ไอแซก นิวตัน โลโก้กูเกิ้ลวันนี้ อัปเดตล่าสุด 4 มกราคม 2553 เวลา 13:32:18 12,706 อ่าน
TOP
x close