ครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ส่งยานลงจอดบนดาวหางสำเร็จแล้ว


ดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko
ภาพถ่ายจากยานไฟลี ดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko

ภาพจำลองยานลงจอดบนดาวหาง
ภาพจำลองยานลงจอดบนดาวหาง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก European Space Agency, google, ทวิตเตอร์ @TNAMCOT

            องค์การอวกาศยุโรป ส่งยานไฟลีลงจอดบนดาวหาง 67P ได้สำเร็จแล้ว เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ Google เปลี่ยนดูเดิลร่วมฉลอง

            เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ส่งยานสำรวจลงจอดบนดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ ท่ามกลางความยินดีและฮือฮาของคนทั่วโลก

            รายงานระบุว่า หลังจากที่ยานอวกาศโรเซตตา (Rosetta) ขององค์การแห่งอวกาศยุโรป (ESA) ได้ปฏิบัติภารกิจสุดหิน คือการปล่อยยานลูกสำรวจ "ไฟลี" ลงจอดบนดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ที่เคลื่อนที่เร็วกว่ากระสุน 40 เท่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในที่สุด นับเป็นข่าวดีของมวลมนุษยชาติที่ยานไฟลีสามารถลงจอดบนดาวหางได้สำเร็จ หลังถูกปล่อยจากยานโรเซตตา 7 ชั่วโมง และยืนยันการลงจอดเมื่อช่วงเกือบเที่ยงคืนของวันที่ 12 พฤศจิกายนตามเวลาประเทศไทย

            นายแอนเดรีย แอคโคมัสโซ ผู้อำนวยการปฏิบัติการยานโรเซตตา ได้เปิดเผยว่า "ไม่มีอะไรที่จะสุขไปกว่าตอนนี้แล้ว" เช่นเดียวกับทางผู้อำนวยการองค์การอวกาศยุโรปที่กล่าวว่า "นี่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของอารยธรรมมนุษย์"

            อย่างไรก็ดี แม้จะสามารถปล่อยยานไฟลีลงจอดได้สำเร็จ แต่ต่อมากลับมีการพบว่า ระบบฉมวกยึดเกาะดาวหางของยานไฟลีไม่ยอมทำงาน ซึ่งนั่นทำให้บรรดาหัวหน้าทีมปฏิบัติการต้องพิจารณาหาวิธีเพื่อทำให้แน่ใจว่า ยานไฟลีจะไม่ถูกเหวี่ยงกลับออกไปในห้วงอวกาศ อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ว่ายานไฟลีจะไม่ได้ลงจอดเพียงครั้งเดียว แต่ต้องลงจอดถึง 2 ครั้ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากองค์การแห่งอวกาศยุโรปหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภารกิจนี้จะดำเนินต่อไปได้ และยานไฟลีจะสามารถนำตัวอย่างฝุ่นและก๊าซบนดาวหางกลับมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่าง เพื่อไขปริศนาการกำเนิดขึ้นของโลกและกำเนิดระบบสุริยะเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน รวมถึงการศึกษาว่าดาวหางได้นำพาน้ำมายังโลกหรือไม่

            ทั้งนี้สำหรับยานไฟลีนั้น มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม เดินทางไปพร้อมกับยานโรเซตตาที่ถูกปล่อยออกจากโลกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และติดตามดาวหางดวงนี้มาโดยตลอด ขณะนี้โคจรอยู่ห่างจากโลกราว 480 ล้านกิโลเมตร

            ส่วนดาวหาง 67P นั้น เป็นดาวหางที่มีรูปร่างคล้ายกับตุ๊กตาเป็ดน้อย มีอายุมากกว่า 4 พันล้านปี โคจรอยู่ในห้วงอวกาศด้วยความเร็วประมาณ 18 กิโลเมตรต่อวินาที (64,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

            อนึ่ง ข่าวการปล่อยยานอวกาศลงจอดบนดาวหางได้สำเร็จเป็นครั้งแรกนี้ ได้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก และมีการพูดถึงประเด็นนี้กันอย่างมากในหน้าสื่อต่างประเทศตอนนี้ รวมถึง Google เว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจินยอดนิยมของโลกเอง ก็ไม่พลาด เปลี่ยนดูเดิลของเว็บไซต์ให้เป็นภาพยานไฟลี เพื่อร่วมฉลองก้าวสำคัญของมวลมนุษยชาตินี้ด้วย

google ยานไฟลี

ภาพถ่ายจากยานไฟลีหลังถูกปล่อยจากยานโรเซตตา
ภาพถ่ายจากยานไฟลีหลังถูกปล่อยจากยานโรเซตตา

สภาพพื้นผิวของดาวหาง
สภาพพื้นผิวของดาวหาง

ภาพจำลองยานลงจอดบนดาวหาง

ภาพจำลองยานลงจอดบนดาวหาง

ภาพจำลองยานลงจอดบนดาวหาง

ภาพจำลองยานลงจอดบนดาวหาง


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ส่งยานลงจอดบนดาวหางสำเร็จแล้ว อัปเดตล่าสุด 13 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:47:42 79,575 อ่าน
TOP
x close