x close

รพ. ดัง แจง ค่ารักษาก้างติดคอแพง เป็นเคสยาก ติดในหลอดอาหาร

รพ.ดัง แจง ค่ารักษาก้างติดคอแพง เป็นเคสยาก ติดในหลอดอาหาร
รพ.ดัง แจง ค่ารักษาก้างติดคอแพง เป็นเคสยาก ติดในหลอดอาหาร

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ยูไลค์

              รพ. ดัง ชี้แจงเหตุเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล รักษาก้างปลาติดคอร่วมหมื่น ชี้ ก้างปลาติดในหลอดอาหาร แถมผู้ป่วยมีโรคประจำตัว การรักษามีความซับซ้อน

              หลังจากที่เกิดเหตุสาวคนหนึ่ง โพสต์ภาพบิลค่ารักษาพยาบาลอาการก้างปลาติดคอของ่โรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง เรียกเก็บเงินกว่า 60,000 บาท จนสร้างความไม่พอใจ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง ล่าสุด (9 มกราคม 2558) ทางโรงพยาบาลดังกล่าว ก็ได้ออกมาชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว


              ทั้งนี้ ในจดหมายชี้แจงลงวันที่ 5 มกราคม 2558 ระบุว่า หลังจากที่เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการรักษาอาการก้างปลาติดคอ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2558 - 5 มกราคม 2558 เรื่องนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ด้านจรรยาบรรณการรักษาของสถานพยาบาล ซึ่งทางโรงพยาบาลและแพทย์เจ้าของไข้ พร้อมที่จะให้คำชี้แจงในกระบวนการ และดำเนินการส่งหนังสือชี้แจงการรักษาแก่คนไข้ ไปยังสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


              ทั้งนี้ นางง้อ แซ่ตั้ง อายุ 69 ปี มีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยรับประทานยาสลายลิ่มเลือดหรือต้านเกร็ดเลือด ซึ่งอาจจะทำให้เลือดออกง่ายหากต้องทำหัตถการ ผู้ป่วยรับประทานปลาช่อนตัวใหญ่ และมีอาการเจ็บคอ กลืนติด เมื่อพบแพทย์ที่คลินิก แพทย์ก็ตรวจคอแต่มองไม่เห็นก้างปลา จึงแนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาล เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ก็พบแพทย์เฉพาะทางที่ออกมาตรวจเป็นพาร์ทไทม์ แพทย์จึงทำการตรวจและคาดว่า ก้างปลาไม่ได้ติดที่คอ แต่ติดที่หลอดอาหาร จึงมีการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางฟูลไทม์เพื่อช่วยกันรักษา

              หลังจากการตรวจประเมิน ก็ไม่พบก้างปลาติดคอ จึงใช้เครื่องมือพิเศษส่องดู และพบว่า ก้างปลาอยู่ลึกเกินไปกว่าที่ศักยภาพของเครื่องมือที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกจะเอาออกได้ จึงมีการอธิบายกับผู้ป่วยและญาติว่า ควรทำการส่องกล้องในห้องผ่าตัด เพราะก้างปลามีขนาดใหญ่และแหลมคม ติดอยู่ลึกที่หลอดอาหาร และจากการตรวจ Chest film พบว่า ก้างปลาอยู่ระดับ C6 ไม่สามารถคีบก้างปลาออกมาได้ด้วยวิธีปกติ ซึ่งหากไม่นำสิ่งแปลกปลอมออกมา ก้างปลาอาจทะลุหลอดอาหาร ทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น หลอดอาหารทะลุ ติดเชื้อในทรวงอก


              และเนื่องจากผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงที่คุมไม่ดี และกินยาต้านเกร็ดเลือด ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อการทำหัตถการที่อาจทำให้เลือดออกมากได้ จึงปรึกษาอายุรแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด  (Pre med-CBC, Electrolyte, Creatinine, EGFR, Glucose) อายุรแพทย์เห็นสมควรจึงปรึกษาอายุรแพทย์หัวใจ ให้ทำการตรวจอย่างละเอียด ผล EKG , Echo พบว่า คนไข้มีความเสี่ยงแต่ยังสามารถทำหัตถการได้

              ภายในห้องผ่าตัด คนไข้ได้ดมยาสลบและส่องกล้องเข้าไปที่หลอดอาหาร พบก้างปลาขนาดใหญ่และคมมากภายในหลอดอาหาร และหลอดอาหารเริ่มบวมและมีเลือดซึมรอบ ๆ และเนื่องจากผู้ป่วยรับประทานยาสลายลิ่มเลือด การนำสิ่งแปลกปลอมออกอย่างปลอดภัยจึงเป็นเรื่องยาก จึงมีการปรึกษาทีมแพทย์และนำสิ่งแปลกปลอมออกได้สำเร็จ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง แต่เนื่องจากหลอดอาหารบวมและมีจุดเลือดออกแล้ว ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องงดอาหารและสังเกตอย่างใกล้ชิด พร้อมให้ยาปฏิชีวนะ (Augmentin) ยาลดบวม (Serratiopeptidase) และยาห้ามเลือดทางหลอดเลือด (Transamin) แก่ผู้ป่วย โดยได้แจ้งผู้ป่วยและภรรยาทราบแล้ว

              ทั้งนี้ ค่าแพทย์ทำหัตถการ ราคา 7,000 บาท (ICD9 439-11-00) 90 percentile เท่ากับ 8,000 บาท ค่าศัลยแพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด คิด 3,000 บาท

              วันต่อมาเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น ไม่มีภาวะแทรกซ่อน จึงให้ผู้ป่วยทานอาหารเหลวใสในตอนเช้า และอาหารอ่อนในตอนเที่ยง พบว่าผู้ป่วยสามารถกินได้ดี แพทย์จึงอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปรักษาตัวที่บ้าน

              ในเรื่องการประเมินค่ารักษานั้น เป็นไปตามที่แพทยสภากำหนด เนื่องจากความซับซ้อนของโรค ทำให้ค่าใช้จ่ายต่างจากการประเมินในครั้งแรก



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก















เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รพ. ดัง แจง ค่ารักษาก้างติดคอแพง เป็นเคสยาก ติดในหลอดอาหาร อัปเดตล่าสุด 19 กันยายน 2560 เวลา 10:41:55 54,918 อ่าน
TOP