x close

ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน


ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน

           ชมภาพน่าทึ่ง เอกซเรย์ให้เห็นชัด ๆ กระบวนการย่อยอาหารที่เกิดขึ้นในท้องงูหลามหลังเขมือบจระเข้ไปทั้งตัว จากป่องเต็มท้อง ๆ ค่อย ๆ ยุบหายสลายหมดในเวลาเพียง 7 วันเท่านั้น

           วันที่ 28 เมษายน 2558 เว็บไซต์เดลี่เมล เผยภาพน่าทึ่งที่น้อยคนนักจะมีโอกาสได้เห็น กับกระบวนการย่อยอาหารที่เกิดขึ้นภายในตัวงูหลามพม่าตัวหนึ่ง หลังได้เขมือบจระเข้ที่ขึ้นชื่อว่าหนังเหนียวเข้าไปทั้งตัว โดยภาพดังกล่าวได้จากการติดตามศึกษาของนักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยอลาบามา สหรัฐฯ ลองมาชมกันว่าแต่ละขั้นตอนเกิดอะไรขึ้นบ้าง

           วันที่ 1 จระเข้ทั้งตัวหายไปนอนในท้องงูหลาม หลังกินเสร็จใหม่ ๆ ยังคงมองเห็นองค์ประกอบชัดเจน

ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน

           วันที่ 2 ท้องเริ่มยุบลงเล็กน้อย ร่างของเหยื่อดูอ่อนนุ่มลงจากวันแรก
ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน

           วันที่ 3 ส่วนเนื้อเยื่ออ่อนเริ่มสลายออกไปเกือบหมด โครงแข็ง ๆ ยุบตัวลงอย่างเห็นได้ชัดภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน


           วันที่ 4 เนื้อเยื่ออ่อนถูกย่อยไปเกือบหมดแล้ว ร่างกายส่วนแข็ง ๆ อย่างโครงกระดูกและผิวหนัง เตรียมเข้าสู่กระบวนการย่อยขั้นต่อไป

ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน

           วันที่ 5 ชิ้นส่วนย่อยยากยุบหายลงไปจากเดิมอีก

ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน

           วันที่ 6 แทบไม่ปรากฏชิ้นส่วนใด ๆ จากเหยื่อให้เห็นแล้ว

ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน

           วันที่ 7 กระเพาะอาหารกลับคืนสู่สภาพปกติ

ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน

           หลังเขมือบเหยื่อเข้าไป ภายในร่างกายงูหลามเกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างอย่างรวดเร็ว เพื่อปรับร่างกายให้เข้าสู่สภาพเหมาะสมกับการย่อยสลายเหยื่อ น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพิ่มระดับความเป็นกรด จากค่า pH 7 เหลือ pH 2 ภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมมีการขับเอนไซม์ช่วยย่อยออกมา, ตับอ่อนเพิ่มขนาดขึ้น 94%, ตับขยายใหญ่กว่าเดิมเกินเท่าตัว, ไตเพิ่มขนาดขึ้นถึง 72% ในขณะที่การเต้นของหัวใจและกระบวนการเมทาบอลิซึ่ม เพิ่มขึ้นจากเดิม 40%

           ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็จะคืนสู่ภาวะปกติเมื่อกระบวนการย่อยเหยื่อเสร็จสมบูรณ์ โดยระหว่างกระบวนการย่อยอาหารนั้น งูหลามจะนอนนิ่งแทบไม่ขยับตัวไปไหน และหลังอาหารหนึ่งมื้อ พวกมันสามารถใช้ชีวิตต่อไปอีกร่วมสัปดาห์หรือเป็นเดือน กว่าจะล่าเหยื่อใหม่อีกครั้ง

           สำหรับงูหลามชนิดนี้ เป็นงูหลามพม่า (Burmese python) สามารถเติบโตได้สูงสุดลำตัวยาวกว่า 7 เมตร ในขณะที่เหยื่อคือจระเข้อเมริกันที่ขนาดโตเต็มวัยยาวได้ถึง 4 เมตร แต่เหยื่อตัวนี้ยังเป็นจระเข้เด็ก งูหลามจึงสามารถเขมือบเข้าไปได้หมดทั้งตัวอย่างที่เห็น

world_id:554068b038217a6a2c000000


ภาพจาก pbs.org







เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ภาพน่าทึ่ง ติดตามการย่อยของงูหลามหลังเขมือบจระเข้ หายวาบใน 7 วัน อัปเดตล่าสุด 29 เมษายน 2558 เวลา 17:20:45 349,218 อ่าน
TOP