เปิดขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร


ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

          เปิดขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร อย่างละเอียด ทั้งความหมาย และพิธีการต่าง ๆ

          วันที่ 27 ตุลาคม 2560 เป็นวันที่จะมีพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิเข้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
          การเก็บพระบรมอัฐิ

          เป็นพิธีที่กระทำขึ้นหลังจากการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้ว โดยประกอบพิธี ณ พระจติกาธาน เมื่อเสด็จขึ้นพระเมรุมาศเจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้า คลุมพระบรมราชสรีรางคารทรงสรงพระบรมอัฐิด้วยน้ำพระสคุนธ์ เจ้าพนักงานแจงพระบรมอัฐิ โดยเชิญพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคาร เรียงเป็นลำดับให้มีลักษณะเหมือนรูปคน หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก จากนั้นหันพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคารที่แจงไว้มาทางทิศตะวันออกเรียกว่าแปรพระบรมอัฐิ แล้วจึงถวายคลุมด้วยผ้า
 
          เช่นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคลุมด้วย ผ้า 3 ชั้น คือ แพรขาว ผ้าตาด และผ้ากรองทอง ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการทองน้อย ทรงกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิ แล้วเสด็จลงมาประทับพระที่นั่งทรงธรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าราชนิกุล ข้าราชการเดินสามหาบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นการทำสำรับภัตตาหารสามหาบ ตั้งถวายพระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการทองน้อย ทรงทอดผ้าไตร สมเด็จพระราชา คณะและพระราชาคณะสดับปกรณ์ ทรงโปรยเหรียญทอง เหรียญเงินพระราชทานเจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้าคลมุพระบรมอัฐิ ทรงเก็บพระบรมอัฐิลงสรงในขันทรงพระสุคนธ์

          การเก็บพระบรมอัฐิจะเลือกเก็บแต่ละส่วนของพระสรีระอย่างละเล็กน้อย พร้อมกันนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่ได้รับพระบรมราชานุญาตขึ้นรับพระราชทานพระบรมอัฐิไปสักการบูชา แล้วทรงประมวลพระบรมอัฐิบรรจุพระโกศ หลังจากนั้นเชิญ พระโกศพระบรมอัฐิ ไปยังพระที่นั่งทรงธรรม ทรงประกอบ พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย ส่วนพระบรมราชสรีรางคาร เชิญลงบรรจุในพระผอบโลหะปิดทองประดิษฐานบน พานทองสองชั้นคลุมผ้าตาดพักรอไว้บนพระเมรุมาศ สำหรับพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นั้นจะเชิญโดย พระที่นั่งราเชนทรยานไปประดิษฐานยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

          พระบรมราชสรีรางคาร

          คือเถ้าถ่านที่ปะปนกับพระบรมอัฐิชิ้นเล็กชิ้นน้อยของพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่เผาแล้ว ซึ่งอาจเรียกว่า พระสรีรางคารตามลำดับพระอิสริยยศของพระบรมวงศ์ และเรียกว่าอังคารสำหรับสามัญชน

          การบรรจุพระบรมราชสรีรางคารเป็นขั้นตอนสุดท้ายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชบุพการี และสมเด็จพระบรมราชินี เกิดขึ้นครั้งแรกในคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียมการลอยพระบรมราชสรีรางคาร และโปรดให้เชิญพระบรมราชสรีรางคารมาประดิษฐาน ณ รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราช ภายในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จึงกลายเป็นธรรมเนียมในการเชิญพระบรมราชสรีรางคารพระสรีรางคาร ไปประดิษฐานในสุสานหลวงหรือสถานที่อันควรแทน

          โดยเจ้าพนักงานจะเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากสถานที่ที่พักไว้แล้ว ตั้งขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปยังสถานที่บรรจุอันเหมาะสม พระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นั้นจะเชิญไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ออกแบบผอบอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารองค์ใหม่  เพื่อใช้ทรงพระบรมราชสรีรางคารไปประดิษฐานในพระถ้ำศิลาที่ฐานชุกชีพระประธานพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิต มหาสีมาราม และที่ฐานองค์พระพุทธชินสีห์ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยได้ศึกษารูปแบบจากผอบองค์เดิมที่มีอยู่แล้ว และนำมาประยุกต์ออกแบบใหม่ให้มีรูปทรงและลวดลายชั้นเชิง ต่าง ๆ งดงามสมพระเกียรติยิ่งขึ้น


          ผอบองค์นี้แบ่งส่วนประกอบเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นฐาน ส่วนตัวผอบ และส่วนที่เป็นฝา ซึ่งส่วนฐานจะมีชั้นหน้ากระดานบัวคว่ำรองรับชั้นลูกแก้ว มีลวดและท้องไม้สลับคั่นระหว่างชั้นลูกแก้ว โดยลวดลายลูกแก้วหรือชั้นเกี้ยวตามโบราณราชประเพณีจะใช้ออกแบบเครื่องสูงสำหรับพระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในลวดลายประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ ตัวผอบเป็นทรงดอกบัวบานมีลักษณะทรงกลม ลักษณะพิเศษของผอบองค์ใหม่มีกลีบบัวขนาดเล็กรองรับสลับกันไป

          ส่วนกลีบบัวของผอบมีจะขนาดเล็กกว่าองค์ เดิมและมีเส้นเดินรอบกลีบด้านในกลีบเพื่อให้เกิดน้ำหนักและมิติของงานสลักดุน ตรงกลางกลีบบัวจะทำเป็นสันขึ้นมา เมื่อเวลาแสงตกกระทบจะทำให้เกิดแสงเงาที่สวยงาม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ส่วนฝาเป็นลักษณะยอดทรงมัณฑ์ มีชั้นหน้ากระดานถัดขึ้นไป ถัดขึ้นมาใช้เป็น ชั้นบัวคว่ำ 3 ชั้น ลักษณะบัวคว่ำชั้นแรกจะมีขนาดใหญ่ ชั้นถัดไปจะลดหลั่นไปตามสัดส่วนและรูปทรง โดยจะมีการสลักดุนเหมือนกับกลีบบัวที่ตัวผอบเพื่อให้เกิดมิติของแสงเงาเพื่อให้เกิดความสวยงาม ถัดจากชั้นกลีบบัวจะเป็นปลียอด และชั้นบนสุดจะเป็นลูกแก้ว หรือเม็ดน้ำค้าง โดยมีรูปแบบทรงกลมและส่วนปลายจะเรียวแหลมเล็กน้อยลักษณะเป็นดอกบัวตูม

          การจัดสร้างผอบเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ได้ใช้วัสดุโลหะเนื้อเงินมาทำการขึ้นรูปเทคนิควิธีการเกี่ยวกับการจัดสร้างพระโกศทองคำ เป็นวิธีการแบบช่างโบราณโดยการกลึงหุ่นแบ่งเป็นส่วนฐาน ส่วนตัวผอบ และส่วนฝาผอบ หลังจากกลึงเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำมาถอดพิมพ์ด้วยยางซิลิโคน เมื่อได้พิมพ์ยางซิลิโคนแล้ว จะนำเรซิ่นมาเทในพิมพ์ยางซิลิโคน เมื่อเสร็จจากขั้นตอนนี้ก็จะได้หุ่นเพื่อการเคาะขึ้นรูป โดยนำโลหะเงินมาหลอมรีด ให้เป็นรูปทรงส่วนฐานตัวผอบและฝา จากนั้นช่างจะนำมาสลักดุนตามแบบและลวดลายที่ออกแบบไว้จนสำเร็จออกมา แล้วจึงนำแต่ละส่วนประกอบเข้าด้วยกันจนสำเร็จเป็นผอบเชิญพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร

ขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดขั้นตอน พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร อัปเดตล่าสุด 27 ตุลาคม 2560 เวลา 14:44:29 11,847 อ่าน
TOP